5 ม.ค. 2021 เวลา 16:11 • ธุรกิจ
ธุรกิจที่ขาดเงินทุน ก็เหมือนกับร่างการที่ขาดเลือด การที่ธุรกิจจะดำเนินต่อไปได้จำเป็นจะต้องมีเงินทุนสำหรับเอามาเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆทั้งเงินเดือน ,ค่าเช่า office ,ค่าเครื่องมือและอุปกรณ์ทำงานซึ่งทั้งหมดต้องใช้เงินทุนทั้งสิ้น การทำธุรกิจ Statup เองก็ไม่แตกต่างจากธุรกิจอื่นๆ ที่เริ่มต้นจะใช้เงินทุนจาก “เจ้าของ” ซึ่งถ้าธุรกิจเริ่มเติบ
โตได้ดีมีลูกค้า สินค้าขายได้ ก็จะทำให้เจ้าของมีรายได้เข้ามาเพื่อจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆส่วนที่เหลือก็จะเป็นกำไรของธุรกิจ แต่ ธุรกิจ Startup มักจะไม่เป็นเช่นนั้น
1
นักลงทุน Funding ใน STARTUP เพื่อให้ธุรกิจโตขึ้น
อย่างที่ผมเคยได้อธิบายไปในตอนแรกว่าธุรกิจที่ Startup มักเป็นการทำสิ่งใหม่ที่
เปลี่ยนแปลงสิ่งเดิมๆเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคให้เข้ามาทดลองใช้
บริการ ก่อนที่จะทำกำไรในภายหลัง เราลองมาดูตัวอย่างกันซักหน่อย
ธุรกิจเรียกรถ Taxi เปลี่ยนพฤติกรรมให้เรียก Taxi ผ่าน App แทนการไปโบกรถ ในช่วงแรกๆซัก 2 ปีที่แล้วจะเป็นการแข่งกันระหว่าง Grab,Uber,Line ถ้าสังเกตุดูจะเห็นว่ามีการแข่งโปรโมชั่นแย่งทั้งผู้ใช้งานและคนขับให้เข้ามาอยู่ใน Platform กันอย่างดุเดือด เรียกได้ว่าต่อครั้งที่มีการเรียกรถ ถ้ามีการใช้โปรโมชั่นร่วมด้วย Platform จะขาดทุนทุกครั้งที่มีการเรียกรถทีเดียว เพราะยอมจ่ายค่าโดยสารให้ลูกค้าบางส่วน แต่การที่ยอมขาดทุนเพื่อดึงฐานลูกค้าให้เข้ามาใช้งาน Platform ตัวเองให้ได้มากที่สุดและให้คู่แข่งยอมแพ้ออกจากตลาดไป( Winner Take all) ลองคิดดูครับว่าถ้า Taxi ไปรับงานส่วนใหญ่ใน Grab ถ้าเราเรียกรถ Taxi จาก App อื่นแล้วรอตั้งนานไม่มีรถมารับสุดท้ายเราก็กลับไปเรียกรถใน App ที่มีจำนวนรถเยอะๆย่อมสบายกว่า ในสงครามเรียกรถ Taxi ถ้าในประเทศไทยผมคิดว่า Grab เป็นผู้ชนะเนื่องจาก
Uber ได้ถอนตัวออกจากตลาดไป และ Line Taxi เองก็มีจำนวนรถที่รับน้อยกว่า
Grab มากๆ
ธุรกิจ Food Delivery เปลี่ยนพฤติกรรมให้ผู้บริโภคสั่งอาหารมาทานที่บ้าน
แทนที่จะออกไปทานที่ร้าน ในตลาดตอนนี้ผู้เล่นหลายรายในตลาด ทั้ง Grab, Line , Food Panda , Gojek ,Robinhood ซึ่งแต่ละรายก็จะมีการคิดค่า GP จากร้านค้าแตกต่างกันไป โดยผู้บริโภคมักจะเลือกจะเลือกร้านค้าที่อยากทานจากนั้นพิจารณาจากโปรโมชั่นที่ได้รับเพื่อหาดีลที่ดีที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าผู้เล่นทุกรายก็ต้องจ่ายเงินเพื่อเรียกผู้ใช้งานให้สั่งอาหารผ่าน application ของตนเอง
ธุรกิจ Ecommerce เปลี่ยนพฤติกรรมให้คนมาช้อปปิ้งออนไลน์ หลายๆคนไม่เคย
ซื้อของออนไลน์หลังจากมีแพลตฟอร์มเหล่านี้เข้ามาทำให้การซื้อของออนไลน์เป็นเรื่องปกติ ถ้าในไทยแน่นอนคือ Shopy ,Lazada ซึ่งมีโปรโมชั่นลดแลกแจกแถมก็แทบทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นส่วนลด ส่งฟรี ได้เครดิตเงินคืน โดยเฉพาะผู้ใช้ใหม่สังเกตุได้ว่าจะมีส่วนลดเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังเรียกเก็บค่าวางสินค้าต่ำมาก แรกๆวางฟรีด้วยซ้ำ ซึ่งแน่นอนไม่คุ้มต้นทุนในการดำเนินงานแต่คาดหวังว่าในอนาคตเมื่อมีลูกค้ามาซื้อสินค้าเยอะขึ้น เพราะสะดวกสบายกว่า ราคาถูกกว่า และหาอะไรก็เจอ ก็จะถึงจุดที่มีกำไรนั่นเอง ในต่างประเทศที่กำไรแล้วเช่น alibaba ,Amazon เป็นต้น
คำถามคือ แล้ว Startup เอาเงินจากไหนมาลงทุน เพื่อดึงดูดผู้ใช้งาน คำตอบก็คือ "Funding" นั่นเอง โดยการได้เงินลงทุนจากนักลงทุนในแต่ละครั้งสิ่งที่ Startup จะต้องเสียไปคือ หุ้นของบริษัท บางส่วนเพื่อแลกกับเงินลงทุนนั่นเอง โดยนักลงทุนที่ได้หุ้นไปจะคาดหวังการเติบโตของ Startup ที่สามารถเติบโตทำไรไรจนสามารถ Exit (นำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ หรือ ถูกซื้อกิจการโดยบริษัทอื่นๆที่ใหญ่กว่า) ซึ่งนักลงทุนที่ลงทุนตั้งแต่แรกๆจะได้ผลตอบแทนจำนวนมากจากการที่บริษัทเติบโต
รอบการ Funding เพื่อหาเงินลงทุน จะมีหลาย State โดยจะมี 2 ส่วนให้พิจารณาคือ จำนวนเงินทุน (ประเมินจากมูลค่าของบริษัท ) และการเติบโตของธุรกิจ
1
รอบการ Funding ของธุรกิจ
Seed State ช่วงเริ่มต้นการทำ Startup ขอเงินลงทุนจากไอเดียธุรกิจที่คิดขึ้นมาใหม่หรือต้นแบบที่เพิ่งจะพัฒนา โดยธุรกิจยังไม่เกิดรายได้จริง ส่วนมากจะระดมทุนจากเพื่อน หรือครอบครัว
2
Angel Investor สินค้าและบริการมีการพัฒนาขึ้นและเริ่มเข้าสู่ตลาดในช่วงนี้จะมีนักลงทุนที่เรียกว่า Angel Investor เข้ามาลงทุนเพื่อต้องการสนับสนุนไอเดียที่ของธุรกิจ
Early Stage ช่วงที่สินค้าเริ่มเป็น Product Market Fit (สินค้าตรงตามความต้องการของตลาด) คือมีผู้ใช้งานสม่ำเสมอ เริ่มมีรายได้เข้ามาสู่บริษัท ใน State นี้จะเริ่มมีนักลงทุนในรูปแบบ VC (Venture Capital) เข้ามาร่วมทุนเพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจเติบโต
Series A-H ช่วงการเติบโตของ Startup มีการระดมทุนเพื่อนสร้างฐานผู้ใช้งาน
และขยายธุรกิจไปต่างประเทศระดับการระดมทุนจะมากขึ้นตามมูลค่าของบริษัทที่ถูกประเมินโดยนักลงทุน
ปิดท้ายด้วย Grab มีการ Funding ตั้งแต่เริ่มบริษัทในปี 2012 จนถึงปัจจุบันมีการระดมทุนไปแล้วเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น $10.5 Billon (315,000 ล้านบาท) จากการประเมินมูลของค่าบริษัทไว้ที่ $14 Billon (420,000 ล้านบาท) จาก 137 นักลงทุนทั่วโลก ซึ่ง 2 บริษัทจากประเทศไทยที่ลงทุนใน Grab คือ ธนาคารกสิกรไทย และ
เครือเซ็นทรัลกรุ๊ป
โฆษณา