6 ม.ค. 2021 เวลา 03:51 • ธุรกิจ
รู้จัก “กฎ พิซซา 2 ถาด” ที่ใช้ในการประชุม ของ Amazon.com
“ในการประชุมย่อยๆ แต่ละครั้ง สมาชิกในห้องต้องมีแค่พอจะกินพิซซา 2 ถาดได้พอดี”
นี่คือคำอธิบายคร่าวๆ ของ The 2-pizza rule
หรือ กฎพิซซา 2 ถาด ที่เจฟฟ์ เบโซส นำมาใช้กับการทำงานของ Amazon.com
โดย เจฟฟ์ เชื่อว่า การประชุมในแบบที่ว่านี้
จะช่วยยกระดับประสิทธิภาพในการประชุมและการทำงานเป็นโพรเจ็กต์ได้ดี
ซึ่งถ้าอ่านจากคำอธิบายตอนต้นไปแล้ว
หลายคนก็คงเดาได้ไม่ยาก ว่า กฎ พิซซา 2 ถาด ที่ว่านี้ใช้งานอย่างไร..
1
การประชุมแบบนี้ มีกฎเหล็กอยู่ด้วยกัน 2 ข้อ คือ
1. ในห้องประชุม จะต้องมีจำนวนผู้เข้าร่วมเท่าที่จำเป็น
ซึ่งจำเป็นที่ว่าก็คือ ต้องมีจำนวนแค่พอกินพิซซา 2 ถาดได้พอดี
หรือประมาณไม่เกิน 8-10 คน ซึ่งก็เป็นที่มาของชื่อ The 2-pizza rule นั่นเอง
4
2. คนที่จะเข้าห้องประชุมนั้น ต้องเป็นคนที่มีความ “เกี่ยวข้อง” กับเรื่องที่ประชุมเท่านั้น
1
ด้วยการตั้งกฎเหล็ก 2 ข้อที่ว่ามานั้น
สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาในห้องประชุมของทีมงาน Amazon.com คือ
- คนในห้องมีส่วนร่วมในการประชุมมากขึ้น
1
การคัดเฉพาะคนที่เกี่ยวข้องกับวาระประชุมเข้ามาในห้อง
จะส่งเสริมบรรยากาศแห่งความจริงจังในการถกเถียงและหารือกัน
ซึ่งเรื่องนี้ มีผลการสำรวจจากหลายบริษัทในสหรัฐฯ มารองรับด้วยว่า
การประชุมที่มีพนักงานน้อยกว่า 10 คน
จะได้คะแนนระดับการมีส่วนร่วมที่ 42 เปอร์เซ็นต์
1
ในขณะที่การประชุมที่มีพนักงานจำนวนมากกว่านั้น จะได้คะแนนระดับการมีส่วนร่วมที่ต่ำกว่า 30 เปอร์เซ็นต์
4
- ตัดสินใจได้เร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เชื่อว่าหลายๆ ครั้ง ในห้องประชุมของคุณจะให้มีการตัดสินใจร่วมกัน
ซึ่งการมีคนจำนวนมาก จะใช้เวลานานในการตัดสินใจ
เพราะอาจต้องใช้เวลาในการฟังเหตุผลที่แตกต่างกันของหลายคนในที่ประชุม
1
แต่ถ้าหากใช้กฎ พิซซา 2 ถาด
ก็จะช่วยให้ระยะเวลาในการฟังความเห็นลดลง
และยังช่วยเรื่องประสิทธิภาพในการตัดสินใจ
เพราะคนในที่ประชุม จะมีเฉพาะคนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนั้นอยู่แล้ว
1
- เสริมพลังในการคิดนวัตกรรมหรือสิ่งใหม่
นี่คือจุดเด่นของการใช้ กฎ พิซซา 2 ถาด เลยก็ว่าได้
เพราะการรวมคนที่รับผิดชอบในเรื่องเดียวกันให้มาร่วมถกเถียงกันอย่างเต็มที่
จะช่วยเพิ่มโอกาสการตกผลึกไอเดียใหม่ๆ
ที่จะต่อยอดไปเป็นการสร้างสิ่งใหม่ หรือนวัตกรรมใหม่ขององค์กรได้
3
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้ว.. กฎ พิซซา 2 ถาด ที่ว่านี้ มันก็มีข้อควรระวังเหมือนกัน
คือการแยกประชุมเป็นกลุ่มย่อยๆ แบบนี้
ถ้าไม่มีการสื่อสารกันระหว่างแต่ละกลุ่มเลย
ก็อาจทำให้เกิดการทำงานแบบแบ่งแยกกันทำ
ซึ่งหลายคนคงคุ้นเคยกันดี กับการทำงานที่เรียกว่า “Silo”
3
ซึ่งตรงนี้ ก็อาจต้องมีกฎเกณฑ์เพิ่มเติมขึ้นมา
อย่างเช่น อาจกำหนดให้ในแต่ละกลุ่ม มีตัวแทนที่คอยพูดคุยประสานงานกับกลุ่มอื่นๆ
หรืออาจกำหนดให้มีการประชุมรวมเป็นห้องใหญ่เดือนละครั้ง
แล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละองค์กร
3
สรุปแล้วก็คือ กฎ พิซซา 2 ถาด ก็เป็นอีกหนึ่งเทคนิคดีๆ ที่น่าสนใจ ที่แต่ละองค์กร สามารถนำไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม
7
และอย่าลืมกฎเหล็กสองข้อที่สำคัญ คือ
คัดแต่คนที่เกี่ยวข้องเข้าห้องประชุมเท่านั้น และ อย่าให้คนในห้องมากเกินไป จนต้องสั่งพิซซาเกินกว่า 2 ถาด..
1
โฆษณา