6 ม.ค. 2021 เวลา 22:05 • การเกษตร
การอนุบาล(ออกปลูก)ต้นไม้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
2
กล้าไม้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ อยู่ในภาชนะปลอดเชื้อในรูปแบบขวด(หรือถุงพลาสติก)
ต้นไม้ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จะมีรูปร่าง มีใบ,ลำต้น,ราก เหมือนต้นไม้ปกติ เพียงแต่มีขนาดเล็กกว่ามาก
บางชนิดอาจจะไม่มีราก แต่รากสามารถงอกได้ในขั้นตอนการอนุบาล
เมื่อนำออกจากขวดเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เพราะต้นไม้ยังไม่สามารถผลิตคิวตินเพื่อควบคุมการสูญเสียน้ำจากปากใบ ส่งผลให้ต้นไม้คายน้ำมากขึ้นทำให้เหี่ยวเฉาและตายได้ง่าย
1
ตัวอย่างกล้าไม้ที่ล้างวุ้นแล้ว
ดังนั้นการย้ายพืชเนื้อเยื่อออกจากอาหารวุ้น เพื่อปลูกอนุบาล ต้องระมัดระวังเรื่องอัตราการสูญเสียน้ำเป็นพิเศษ
การดูแลต้นไม้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่เพิ่งนำออกมาปลูกออกเป็น 3 ระยะ คือ
1
ระยะที่ 1
เป็นระยะที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ด้วยการควบคุมปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น
แสงสว่าง รวมไปถึงอากาศที่ถ่ายเทสะดวก เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 4-6 สัปดาห์ ตั้งแต่ย้ายออกจากขวดเพาะเลี้ยง
นิยมทำด้วยการอบควบแน่นในถุงพลาสติก หรือโรงเรือนที่สามารถควบคุมความชื้น,และแสงได้
1
ระยะที่ 2
เป็นการดูแลต่อจากระยะแรก อีก 2-6 สัปดาห์ ระยะนี้ต้นไม้จะมีเริ่มความแข็งแรงและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้มากขึ้น โดยอาจจะค่อยๆเปิดปากถุงออก เพื่อให้ต้นไม้ได้ปรับตัวเข้ากับสภาพความชื้นที่น้อยลงภายนอกถุงอบ
เมื่อผ่านไป 1-2 สับดาห์ นำออกจากถุงอบ และวางในพื้นที่เพาะชำปกติแต่ยังคงต้องควบคุมความชื้นทั้งในวัสดุปลูกและภายในโรงเรือน
1
ระยะที่ 3 /ระยะย้ายปลูก
เมื่อต้นไม้อนุบาลแข็งแรงมากขึ้น สามารถย้ายจากถาดเพาะชำลงกระถางและวัสดุปลูกที่เหมาะสมสำหรับพืชชนิดนั้นๆต่อไป
เตรียม
- ภาชนะใส่น้ำ เช่นถังน้ำ,กาละมัง
- ตะแกรง หรือตะกร้าสำหรับล้าง
- ยากันเชื้อรา (จำเป็นต้องใช้ เพราะอาหารสังเคราะห์ที่ใช้เชื้อราสามารถเจริญเติบโตได้ดีมาก)
- น้ำยาเร่งราก (ถ้ามีรากแล้วไม่จำเป็นต้องใช้)
- ถาดเพาะชำ
- วัสดุเพาะชำ เช่น พีทมอส, สแฟกนัมมอส, หรืออื่นๆ (หลีกเลี่ยงการใช้ดินเพราะมีเชื้อโรคเยอะ)
- ถุงพลาสติกขนาดใหญ่
- ขวดสเปรย์,ฟอกกี้
2
ขั้นตอน
นำต้นอ่อนเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อออกจากขวด/ถุง
ใส่ในภาชนะที่สะอาด
ล้างวุ้นออก โดยใช้นิ้วลูบวุ้นให้หมดมากที่สุด หรืออาจจะใช้พู่กันขนอ่อนเขี่ยเบาๆ พร้อมทั้งเปิดน้ำก็อกเบาๆให้น้ำไหลชะล้างวุ้นออกให้สะอาด
เตรียมภาชนะสำหรับแช่ยากันเชื้อรา และเติมน้ำยาเร่งรากลงไปผสมพร้อมกัน
(ยากันเชื้อรา 1.5 g. และน้ำยาเร่งราก 2 ml อัตราส่วนต่อน้ำสะอาด 1 ลิตร/ ขี้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้)
นำต้นอ่อนแช่ในน้ำยากันเชื้อรา 10-15 นาที ระหว่างนี้สามารถเตรียมวัสดุและหลุมเพาะชำ
แช่ในยากันราที่ผสมน้ำยาเร่งราก เป็นเวลา 10-15 นาที
การปักต้นกล้า
กรอกพีทมอสลงในหลุมเพาะให้เต็มปากหลุม โดยไม่ต้องกดให้แน่น และยังไม่ต้องรดน้ำ
นำต้นกล้าปักลงในหลุมเพาะที่เตรียมไว้ จากนั้นเติมพิทมอสที่โคนเล็กน้อย ใช้นิ้วกดลงให้แน่น อย่าให้ต้นกล้าล้ม
เมื่อปักต้นกล้าครบทุกหลุม ให้นำน้ำยากันเชื้อรา ที่ผสมน้ำยาเร่งรากในขั้นตอนแช่ต้นกล้า เติมลงขวดสเปรย์
พ่นล้างใบให้สะอาด และราดลงหลุมเพาะ โดยอย่าให้แฉะ
รดน้ำในถาดเพาะให้ชุ่มวัสดุปลูก แต่ระวังอย่าให้แฉะหรือมีน้ำขัง
การอบควบแน่น
ถาดเพาะที่ปักต้นกล้าแล้ว รองด้วยถาด และนำถุงมาสวม
พ่นสเปรย์น้ำยากันเชื้อราภายในถุงให้ทั่ว แล้วมัดปากถุงไม่ให้อากาศเข้า
สำหรับการอบควบแน่นต้นกล้าจำนวนมากๆ อาจจะใช้ถาดเพาะชำและถุงพลาสติกขนาดใหญ่ หรือโรงเรือนที่สามารถควบคุมความชื้นได้ แต่ในระยะที่ 1 แนะนำให้ดูแลเป็นพิเศษ
การอบควบแน่นด้วยการใช้พลาสติกคลุมให้มิดชิด ป้องกันการสูญเสียความชื้น
การอบควบแน่นด้วยแก้วน้ำพลาสติกมีฝาปิด
การใช้ลวดทำโครงให้กับถาดเพาะชำสำหรับสวมถุงพลาสติก ป้องกันถุงยุบลงมาโดนต้นอ่อน
จากนั้นนำไปวางไว้ที่ได้รับแสงสว่าง ถ้ามีเครื่องวัด ให้อยู่ในระดับ 1,000-2,000 Lux เป็นอย่างน้อย
ห้ามโดนแดด และหลีกเลี่ยงอากาศร้อน ควรมีอากาศถ่ายเทสะดวก
ใน 1-2 สัปดาห์แรก ทุกๆวันให้หมั่นสังเกตุความชิ้นที่วัสดุปลูก ไม่ควรชื้อหรือแฉะจนเกินไป
หากน้ำที่ผสมน้ำยากันเชื้อรายังไม่หมด ให้สเปรย์ใส่ทุกๆ 2-3 วันจนหมด
นี่เป็นวิธีการ,ขั้นตอนมาตรฐานทั่วไป สำหรับการอนุบาลกล้าไม้เพาะเนื้อเยื่อ อาจจะมีขั้นตอนมากพอสมควร แต่ก็ไม่ยากเกินไปครับ
1
หากบทความนี้มีประโยชน์ ขอความกรุณาช่วยแชร์เพื่อเป็นกำลังใจให้ด้วยนะครับ
2
โฆษณา