6 ม.ค. 2021 เวลา 12:40 • ธุรกิจ
[ กรณีศึกษา NETFLIX ]
“อิสระภาพในการทำงาน” คือรางวัลของ “ความสามารถที่โดดเด่น”
หนังสือที่ผมเลือกอ่านช่วงนี้คือ No Rules Rules : Netflix and The Culture of Reinvention กับวัฒนธรรมองค์กรสุดประหลาดของ Netflix ที่มีกฎว่า “ไม่มีกฎ” ให้อิสระกับพนักงานมากๆ ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้นมากและทำให้ Netflix เป็นหนึ่งในองค์กรที่ประสบความสำเร็จและมีนวัตกรรมใหม่ๆออกมาอยู่ตลอดเวลาครับ
ต้องบอกว่าเป็นอีกเล่มที่ดีมากๆ อ่านไปแค่ไม่กี่หน้าก็รู้สึกถึงความไม่ธรรมดา เลยอยากมาเล่าให้ฟังกันคร่าวๆก่อนที่จะไปลุยอ่านต่อรวดเดียวจบ แล้วจะมาสรุปแบบเน้นๆยาวๆให้อีกทีครับผม
ว่าแล้วก็มาเริ่มกันเลยดีกว่า
“กฎที่ไม่มีกฎ” - No Rules Rules
ฟังดูเหมือนชื่อเพลงของ Getsunova แต่ไม่ใช่ เพราะนี่คือวัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture) ของ Netflix บริษัท Streaming ที่ใหญ่ที่สุดและมีผู้ใช้บริการมากที่สุดในโลกครับ
จริงๆแล้ว Reed Hasting ผู้บริหารของ Netflix เองก็ไม่ได้เป็นคนที่ให้อิสระกับพนักงานมากตั้งแต่เริ่ม เพราะว่าบริษัทแรกที่เค้าทำอย่าง Pure Software นั้นก็มีกฎเกณพ์ที่เข้มงวดเหมือนบริษัททั่วไปครับ แต่พอเค้ามาเริ่มทำ Netflix เค้าก็ได้พบกับสัจธรรมแปลกๆข้อนี้โดยบังเอิญ
1
นั่นคือเค้าจำเป็นที่จะต้อง Lay-off พนักงานจาก 120 คนให้เหลือ 80 คน เพราะประสบปัญหาขาดทุนในปี 2001 โดยตัวเค้าก็ลำบากใจและคิดว่าเหตุการณ์ในครั้งนี้จะทำให้กำลังใจในการทำงานของพนักงานลดลง
3
แต่เปล่าเลย !! พนักงานที่เหลืออยู่กลับทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency) มากขึ้นอย่างน่าตกใจ เมื่อเค้าลองศึกษาดูก็พบว่าที่ประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้นนั้นเป็นเพราะพนักงานของเค้ามีแต่คนเก่งๆเหลืออยู่เท่านั้น ทำให้ความหนาแน่นของความเก่ง (Talent Density) สูงขึ้นกว่าก่อนเยอะ
1
แน่นอนว่าจำนวนคนที่เยอะกว่า = ความสามารถโดยรวมที่มากกว่า (Overall Talent) แต่ความหนาแน่น (Density) กลับมีไม่มากครับ ลองนึกถึงสมัยเรียนที่ให้ห้องเรียนจะมีทั้งคนเก่งไม่เก่งปะปนกัน คะแนนเฉลี่ย (Mean, Average) ก็จะอยู่ตรงกลางๆ
แต่ถ้าเราคัดคนที่มีความสามารถด้อยกว่าออกไปให้เหลือเฉพาะคนที่เก่งกว่าปกติ เราก็จะได้กลุ่มคนที่จะมี Overall Talent โดยรวมน้อยลง แต่ Talent Density เพิ่มขึ้นมากๆ คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มนี้ก็จะสูงมากๆเช่นกัน
และนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับ Netflix ในตอนนั้นครับ เมื่อคนเก่งๆมารวมตัวกันอยู่ ก็จะส่งเสริมกันและกัน ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานดีขึ้นมากๆ หลังจากนั้นมา Reed จึงถือคติว่าพนักงานใหม่ที่เข้ามาทุกคนจะต้องเป็นคนที่เก่ง เพื่อรักษาบรรยากาศในการทำงานที่คนเก่งส่งเสริมกันแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ
1
*** นอกเหนือจากคนไม่เก่งจะเข้ามาทำให้ค่าเฉลี่ยแย่ลงแล้ว ยังมีงานวิจัยที่บอกว่าคนไม่เก่งจะมาฉุดประสิทธิภาพการทำงานของคนทั้งทีมลงด้วยเช่นกันครับ เช่น พอมีคนขี้เกียจเข้ามาในทีมก็จะส่งผลให้คนอื่นออกอาการขี้เกียจด้วยเช่นกัน
และเมื่อมีแต่คนเก่งๆ ที่ตั้งใจทำงาน สนุกกับงาน และมีความรับผิดชอบสูง ประกอบกับการให้ Feedback กันตรงๆ ก็เลยทำให้ Reed มองหาวิธีที่จะทำให้คนเก่งพวกนี้อารมณ์ดี มีความสุขกับงานมากยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ
4
ผลลัพธ์นั้นคือ “เอากฎออก” (Reduce the Rules) !!!
เพราะ Reed (และพนักงานบริษัทหลายๆคนบนโลกนี้) คิดเหมือนกันว่า กฎที่วุ่นวาย จะทำให้ความสุขในการทำงานลดลง
ไหนจะต้องมาเข้างานให้ทัน ไม่งั้นโดนหักเงินเดือน, ห้ามออกจากออฟฟิศก่อนเวลา, วันพักร้อนมีให้จำกัด แต่ถ้าใช้ทีเดียวหมดหยุดยาวก็โดนมองว่าไม่ดีอีก, วันหยุดก็โดนตามงาน ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ทำให้ความสุข นการทำงานลดลง
1
Reed จึงทยอยเอากฎเกณฑ์ต่างๆในการทำงานออกไปทีละข้อๆ แล้วก็พบว่าประสิทธิภาพในการทำงาน และดัชนีความสุข (Happiness Index) ของพนักงานนั้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และยังส่งผลให้เกิดจินตนาการที่ดีขึ้นและเกิดไอเดียใหม่ในการทำงานมากขึ้นไปด้วย
1
กฎที่นำออกไปก็ตามที่หลายๆคนอาจจะเคยอ่านกันมาบ้างแล้ว เช่น ไม่มีกำหนดเวลาเข้างาน, ลาพักร้อนกี่วันก็ได้ เป็นต้น
1
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก่อนที่จะนำกฎต่างๆเหล่านี้ออกไปได้ จะต้องมั่นใจก่อนว่าพนักงานนั้นเก่งและมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตัวเองสูงพอที่จะปล่อยให้ทำงานกันอย่างอิสระ ถึงแม้จะเข้างานกันสาย ลาพักร้อนกันหลายวัน แต่งานก็ต้องเสร็จ และอยู่ในระดับ Top ตลอดเวลา
2
เพราะถ้ากฎเหล่านี้ไปอยู่กับคนที่ไม่มีความรับผิดชอบ ก็จะทำให้งานไม่เสร็จ และโดดงานกันเป็นว่าเล่น แล้วสุดท้ายก็เกิดผลเสียกับบริษัทนั่นเองครับ
และนี่คือแนวคิดการใช้ “กฎที่ไม่กฎ” ของ Netflix ที่อาจจะไม่ได้เหมาะกับทุกที่ โดยเฉพาะกับหลายๆบริษัทในบ้านเราที่ใช้วัฒนธรรมองค์กรแบบ.........
1
แต่ก็เป็นแนวคิดที่น่าสนใจเหมาะกับยุคนี้จริงๆครับ ถ้าองค์กรไหนนำไปปรับใช้อาจจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้นก็ได้ แต่อย่าลืมนะครับว่าคนของคุณต้องเก่งและมีความรับผิดชอบสูงด้วย !!
ที่มา : หนังสือ No Rules Rules : Netflix and the Culture of Reinvention
ส่วนถ้าใครชอบเนื้อหาเน้นๆตามสไตล์เพจ “เล่า” ของผมก็สามารถกด Like เพจเพื่อติดตามเนื้อหาใหม่ๆของทางเพจได้นะครับ จะมีมาเล่าให้ในหลายๆเรื่องเลย ตามเพจเล่าไม่มีเบื่อแน่นอน เพราะแอดมินขี้โม้ หามาเล่าได้ทุกเรื่องครับ 😂😂
1
อยากให้เล่าเรื่องไหน รีเควสได้ ถ้าไม่นอกเหนือความสามารถก็จะไปหามาให้ครับ 😎😎
ติดตามเรื่อง “เล่า” ผ่าน facebook ได้ที่
ติดต่อโฆษณา หรือ ติดต่อร่วมงานกับเพจ “เล่า” ได้ที่อีเมล์ ptns81@gmail.com
#เล่า #เล่าหนังสือ #เล่าความรู้ #unfold #ส่งเสริมการอ่าน #ส่งเสริมการเรียนรู้ #Netflix #NoRulesRules #ReedHastings #ErinMeyer
โฆษณา