9 ม.ค. 2021 เวลา 05:21 • หนังสือ
📖 รีวิวหนังสือของ Netflix แบบละเอียดยิบ 📖 (Part 2/2 ตอนจบ)
1
ในโพสที่แล้วผมเล่าไปแล้วว่าในวัฒนธรรมองค์กรของ Netflix นั้นเค้ามุ่งเน้น 2 อย่างคือ
 
Talent Density กับ Increase candor ใครยังไม่ได้อ่านโพสที่แล้วลองเข้าไปอ่านก่อนนะครับ
เมื่อมีสองอย่างข้างต้นแล้ว Netflix ก็ลุยต่อไปในส่วนที่สามเลยครับ ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้ทุกคนอึ้งที่สุด !!!
……………………
🎯 Removing controls
1
ข้อสุดท้ายนี้มันก็คือผลจากการที่มีข้อหนึ่งและข้อสองที่โคตรจะเข้มแข็งแล้วแหละครับ คือพอมีคนเก่งและดีแล้วคุณก็ไม่ต้องไปควบคุมอะไรพวกเค้า ปล่อยให้เค้าทำงานไป ให้อิสระ โดยเริ่มตั้งแต่จะลาพักร้อนกี่วันก็ได้ OMG!
3
ซึ่งเค้าบอกข้อนี้ตอนเริ่มแรกก็ทำจริงยาก กลายเป็นว่าคนไม่กล้าลาซะงั้น ดังนั้นหัวหน้าจึงต้องทำให้ดูเป็นตัวอย่าง โดย CEO เองเค้าบอกว่าตัวเค้าลาปีนึงถึง 6 สัปดาห์อย่างต่ำ!!!
1
หลักการคือคุณจะลาเท่าไหร่ก็ได้ให้งานคุณเสร็จได้ดีก็พอ ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นเค้าก็มีเสริมว่าทางหัวหน้าก็ต้องไปกำหนดกฎเกณฑ์กันเองภายในทีม เช่น จะลาต้องแจ้งล่วงหน้าเท่าไหร่ ช่วงไหนอย่าลาพร้อมกันอะไรแบบนี้ ก็ปล่อยให้ไปบริหารจัดการกันเอง
2
ข้อต่อมาคือการเบิกเงินที่ค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปใน business แบบไม่ต้องมีการอนุมัติ โดยเค้าให้หลักการคิดหลักการเดียวง่าย ๆเลยว่า
“Act in Netflix’s best interest”
สั้นๆเลยแต่ทำจริงต้องบอกว่าโคตรยาก คือเค้าให้คุณคิดเองเลยว่าแบบไหนที่ดีที่สุดกับบริษัท ถ้าคุณคิดว่าจะใช้จะซื้ออะไรจ่ายเท่าไหร่ก็เอาเลย แต่ต้องคิดดี ๆ เค้าบอกว่าให้ลองคิดว่าเป็นเงินของคุณเองดูซิ แล้วก็คิดอีกว่าถ้าต้องให้คุณอธิบายต่อหน้าทุกคนถ้าคุณอธิบายได้โดยไม่ขัดเขินก็ลุยเลย
1
ซึ่งการมีอิสระสุด ๆนี้ มันก็มาพร้อมความรับผิดชอบนะครับ เค้าถึงเรียกว่า "Culture of Freedom and Responsibility" ซึ่งถามจริงๆ การให้ข้อมูลพนักงานแบบหมดเปลือกรวมถึงการปล่อยพนักงานเป็นอิสระขนาดนี้ จะมีคนทำอะไรนอกลู่นอกทางมั้ย ในทางปฏิบัติก็คงมี ซึ่งเค้าทำยังไง เค้าบอกสั้นเลย ถ้าเจอคือให้ออกอย่างเดียว เค้าใช้คำว่า "Fire Loudly" เลย
2
Netflix เชื่อมากๆว่าการให้พนักงานตัดสินใจเองทำให้ทำงานได้รวดเร็ว คล่องตัวกว่า ลดต้นทุนในงานพวกนี้ไปได้เยอะ และได้ประโยชน์กับบรษัทมากกว่า ซึ่งก็โยงไปถึงอันถัดไปที่เค้าให้เราตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆเองได้เลยโดยไม่ต้องมาให้หัวหน้าอนุมัติก่อน อันนี้คือชอบมากกกกก
2
เค้าใช้คำว่าให้คนทำงานรับผิดชอบไปเลย เป็น “informed captain” เพราะเค้าเชื่อว่าคนที่ทำงานหน้างานมีข้อมูลดีที่สุดแล้ว แล้วเค้าก็ให้ข้อมูลที่เป็นทิศทางขององค์กรไปหมดแล้ว ในเมื่อคุณเป็นคนที่เค้าเลือกเข้ามาแล้ว ซึ่งเก่งและดี คุณก็ลุยได้เลย โดย key message อีกอันคือ
2
“Don’t seek to please your boss, seek to do what is best for the company”
7
ซึ่งการจะตัดสินใจอะไรเค้าก็มีกรอบให้ว่าทำอย่างไร เช่นคุณต้องไปคุยกับคนอื่นมาก่อน ถามความเห็นคนอื่นมาให้ดีก่อนแล้ว เค้าใช้คำว่า “Farm the dissent” หรือ “socialize the idea” หรือบางเรื่องคุณต้องไปเทสไอเดียมาดีแล้วนะ ซึ่งจริง ๆผมมองว่ามันกดดันแล้วก็ยากมากนะ เพราะเราต้องคิดให้ตกผลึกจริง ๆก่อนตัดสินใจ แล้วถ้าทำพลาดจะเป็นไรมั้ย?
8
ทาง Netflix ก็บอกว่าถ้าคุณทำตามหลักการตัดสินใจที่ดีแล้วคุณ bet พลาดก็แค่ให้รายงานว่าเราได้เรียนรู้อะไรจากข้อผิดพลาดนั้นบ้าง ทำ lesson learned ขึ้นมาแชร์คนอื่นด้วย เค้าใช้คำว่า “If it fails, sunshine it” ประโยคนี้โคตรหล่ออออออ
6
……………………
“Professional Sports Team”
นอกจากวิถีทางที่เล่าข้างบนแล้วเค้ายังพูดถึงเรื่องวัฒนธรรมที่ Netflix ซึ่งเค้าบอกว่าไม่ได้เป็นแบบ family นะแต่เป็นแบบ “professional sport team” ให้ทุกคนลองนึกถึงทีมฟุตบอล คือตำแหน่งนี้ใครฟอร์มดีกว่าก็ได้ลงเล่น ใครฟอร์มตก เล่นไม่ดีหรือไม่เหมาะแล้วก็ขายทิ้ง เอาคนใหม่มาเล่นแทน ดู performance ล้วน ๆ เรียกได้ว่าอันนี้ก็สุด ๆ ไปเลยครับ ซึ่งน่าจะขัดๆกับแนวทางขององค์กรในประเทศไทยมาก ๆ เพราะเราได้ยินกันบ่อยว่าเราอยู่กันแบบครอบครัว
1
……………………
อันสุดท้ายที่น่าสนใจและอยากจะพูดถึงคือ "keeper test" ที่เค้าให้ทำเพื่อให้แน่ใจว่าเค้ามี talent density อย่างเข้มข้นอยู่เสมอคือ ตัวหัวหน้าเองให้ถามตัวเองอยู่เรื่อย ๆว่าถ้าคนในทีมคนนี้จะลาออกเราจะรั้งเค้าให้อยู่อย่างสุดความสามารถรึเปล่า ถ้าไม่ใช่ ให้เอาออกเลย! อันนี้โหดจริง
1
เค้ามองว่าถ้าคิดแล้วคนนี้มันไม่ใช่ที่สุดก็เอาออกไปเลยอย่าเสียเวลา ให้จ่าย severance package งามๆให้ออกไปเลยดีกว่า ซึ่งเค้ามองกว่าการมาทำ Performance Improvement Plan (PIP) นั้นทั้งเสียเวลา เสียเงินแถมไม่ค่อยได้ผลอีกตะหาก นี่รวมไปถึงตัวพนักงานเองด้วยถ้าเริ่มไม่แน่ใจว่าเรายังทำงานโอเคอยู่รึเปล่าให้เดินไปคุยกับหัวหน้าเลย ถามประโยคเดียวกันเลยว่าถ้าผมจะลาออก พี่ยังจะรั้งผมไว้รึป่าว ซึ่งอย่างน้อยก็ทำให้เราได้รับ feedback จากหัวหน้าไปพัฒนาปรับปรุงก่อนที่จะสายเกินไป...
……………………
📌 สุดท้ายความเห็นส่วนตัวให้คะแนนเล่มนี้ 10/10 ไปเลย ! คิดว่าหนังสือเล่มนี้อ่านสนุก เพลินมาก ๆทีเดียวมีเรื่องที่เราไม่คิดว่าจะมีเยอะแยะไปหมด ทั้งเหตุการณ์ตัวอย่างต่าง ๆ ที่เค้ายกมา อ่านแล้วก็อึ้งอยู่ ใครอยากรู้ลึกกว่านี้ต้องไปอ่านนะครับ
แต่การนำไปใช้ก็ต้องคิดพิจารณาให้ดีในเรื่องของธุรกิจที่องค์กรของเราอยู่ หรือส่วนงานที่เราทำอยู่มันเหมาะกับการบริหารหรือวัฒนธรรมองค์กรแบบไหน ซึ่งในโลกของธุรกิจที่ Netflix เค้าอยู่นั้นมีการเปลี่ยนแปลงและแข่งขันค่อนข้างสูงทีเดียว การมีวัฒนธรรมองค์กรแบบนี้อาจจะเป็นแนวทางที่หลายๆองค์กรที่อยู่ในธุรกิจลักษณะเดียวกันนำไปปรับใช้ ซึ่งจริง ๆมีหลายส่วนคล้ายๆกันกับ Google อยู่ ในหนังสือชื่อ Work Rules (อันนี้ผมกำลังอ่านอยู่ยังไม่จบ ถ้าจบแล้วก็ว่าจะมารีวิวและแชร์อยู่เหมือนกัน)
1
แล้วคุณหละ อยากใช้ชีวิตการทำงานแบบ Netflix มั้ยครับ ? 🙂
#NoRulesRules #BookReview #สิงห์นักอ่าน
โฆษณา