Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ผมดูการ์ตูน
•
ติดตาม
11 ม.ค. 2021 เวลา 08:19 • การ์ตูน
เรื่องที่ไม่ต้องรู้ก็ได้ของ Attack on Titan : การเมืองในกำแพง
***เปิดเผยเนื้อหาของเรื่อง***
เท่าที่ปรากฏในเรื่อง Attack on Titan ภายในกำแพงนั้นยังปกครองด้วยระบอบกษัตริย์(เดิมเป็นเพียงหุ่นเชิด) และมีสภาขุนนางรวมไปถึงผู้นำทางศาสนาคอยดำเนินการบริหารและตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ซึ่งเชื้อสายกษัตริย์ที่แท้จริงก็แฝงตัวอยู่ในนั้นด้วย คอยชี้นำการใช้อำนาจต่างๆ อยู่เบื้องหลัง เมื่อเทียบกับโลกแห่งความเป็นจริงแล้วก็อาจจะใกล้เคียงระบบฟิวดัลหรือการปกครองของสหราชอาณาจักรในสมัยโบราณ แถมภูมิประเทศยังเป็นเกาะเหมือนกันซะด้วย (แต่ตอนที่ยังไม่เผยความจริง คนในกำแพงก็ไม่รู้นะว่าตัวเองอาศัยอยู่บนเกาะ) ต่างกันที่ขุนนางไม่ได้มีกองทหารเป็นของตัวเองและไม่ได้ใช้กษัตริย์ตัวปลอมมานั่งง่วงๆ บนบัลลังก์
ตัวตนของกษัตริย์ที่ถูกปกปิดไว้นั้นในช่วงก่อนที่อิสทอเรีย(คริสต้า)จะขึ้นมาเป็นราชินี เป็นเสมือนผู้นำทางจิตวิญญาณของกลุ่มชนชั้นสูงมากกว่าที่จะใช้อำนาจบริหารบ้านเมืองโดยตรง เพราะส่วนนี้คนที่จะดูแลคือผู้นำตระกูลรีสหรือก่อนหน้านี้ก็คือ ร็อค รีส
ขั้วอำนาจภายในกำแพงไม่จบเพียงแค่เหล่าสภาขุนนางและกษัตริย์ แต่ยังมีทหารหลายกรมกองร่วมอยู่ด้วย ผู้นำสูงสุดนั้นคือจอมพลดาริส ซัคเกรย์ เป็นผู้นำของทั้ง 3 เหล่าทัพ คือ หน่วยสำรวจ หน่วยรักษาการ และหน่วยสารวัตรทหาร แต่อีกตัวละครที่ได้รับความเคารพและถือว่ามีอำนาจไม่แพ้กันคือพิกซีส แม้ว่าตามตำแหน่งจะถือว่ายศต่ำกว่าดาริส เพราะเป็นเพียงผู้บัญชาการสูงสุดของหน่วยรักษาการ แต่ด้วยอิทธิพลและได้รับความเคารพนับถือจึงถือว่าเป็นผู้มีอำนาจมากสำหรับทหารในกำแพงทางทิศใต้
อีกหนึ่งขั่วอำนาจที่จะมองข้ามไม่ได้คือเหล่าพ่อค้าวานิชที่ถือครองทรัพยาการและปัจจัยการผลิต แถมยังมีความใกล้ชิดกับชาวเมืองมากกว่าทหารและขุนนางเสียอีก นอกจากเป็นผู้ที่ขับเคลื่อนทางเศษฐกิจในกำแพงแล้ว ยังถือว่าเป็นผู้นำชุมชนอีกด้วย เพราะหากไม่มีคนเหล่านี้ช่วยไกล่เกลี่ยและเปิดโปงความชั่วร้ายของหน่วยทหารสารวัตรและชนชั้นนำ การยอมรับต่อการรัฐประหารกษัตริย์หุ่นเชิดและขุนนางเห็นแก่ตัวของประชาชนก็อาจจะยิ่งยากขึ้นไปอีก
เหตุที่การรัฐประหารในเรื่องเกิดขึ้นได้จัดว่าองค์ประกอบทุกอย่างเดำเนินไปในเวลาที่ไล่เลี่ยและครบถ้วนแบบลงล็อคเป๊ะๆ ทั้งความไม่ไว้วางใจของชาวเมืองต่อชนชั้นปกครอง การเผยธาตุแท้ของเหล่าขุนนางเมื่อเกิดภาวะวิกฤต แม้ว่าจะเป็นแผนลวงของเออร์วิน เพื่อให้ผู้นำทหารคนอื่นๆ เห็นด้วยก็ตาม ซึ่งในช่วงแรกแรงเสียดทานและการต่อต้านจากชาวเมืองมีอยู่ไม่น้อยทีเดียวที่ไม่เห็นด้วยกับการถูกทหารขึ้นมาปกครอง (ก็เพราะมันไม่ใช่หน้าที่ของทหารยังไงล่ะ)
1
และปัจจัยที่ขาดไม่ได้(ออกจะฟลุ๊คด้วยนะ) คือเจตจำนงของอิสทอเรีย ที่จะยืนหยัดต่อสู่กับไททัน 120 เมตร แม้จะรู้ว่าตัวเองคือผู้ที่ต้องเข้ารับตำแหน่งราชินีต่อไป จึงควรรักษาชีวิตไว้ก็ตาม และสุดท้ายก็เป็นเธอที่สามารถสังหารไททันลงได้ จึงได้รับการยอมรับจากชาวเมืองโดยไร้ข้อกังขา
1
ในช่วงท้ายของ season ที่ 3 คนดูจะได้เห็นการประชุมของเหล่าทหารและราชินีก็เข้าร่วมอยู่ด้วย หมายความว่าเธออาจมีอำนาจพอที่จะออกคำสั่งในด้านปฏิบัติการทางทหาร และในบางช่วงบางตอนเธอเองก็เข้ามาดูแลเหล่าเด็กกำพร้าจากสงครามหรือการอพยพด้วยตัวเอง นั่นจึงอาจสะท้อนว่าการปกครองในรัชสมัยของเธอก็ยังมีสภาฝ่ายบริหารที่ทำหน้าที่แทนระหว่างที่เธอไม่ได้บัญชาการ แม้ว่าเรื่องจะยังไม่เผยที่มาว่ายังคงเป็นสภาขุนนางเช่นเดิมรึเปล่า แต่ว่าคงไม่ใช่ชุดเดิมแน่ๆ และไม่แน่ว่าทหารก็ยังคงถืออำนาจส่วนหนึ่งในการปกครองครั้งนี้ด้วย
ข้อสังเกต : ว่ากันถึงอำนาจตุลาการ ภายในเรื่องศาลเดียวที่เราได้เห็นในการตัดสินคดีคือศาลทหาร และผู้พิพากษาก็คือผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพ ส่วนของคดีความเกี่ยวกับพลเรือนไม่มีการกล่าวถึง แต่หากเทียบเคียงกับระบบฟิลดันจริงๆ อำนาจในการตัดสินคดีคงอยู่ในมือของขุนนางที่ปกครองแต่ละเขตภายในกำแพงอีกที
1 บันทึก
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เรื่องที่ไม่ต้องรู้ก็ได้ของ Attack on Titan
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย