Read-กองดอง l เล่ม 1 l วิชาวางแผนการทำงาน สิ่งสำคัญที่ไม่มีใครเคยสอน l ผู้เขียน : มานาบุ มิซุโนะ (Manabu Mizuno)
.
ผลงานของครีเอทีฟผู้ออกแบบเจ้า “หมีคุมามง” พรีเซนเตอร์ที่ประสบความสำเร็จในการโปรโมตเมืองคุมาโมะโตะ
.
ภาค 1 กำหนดจุดหมายปลายทาง
.
1. วิชาวางแผนการทำงานเริ่มต้นจาก “การกำหนดจุดหมายปลายทาง”
.
2. กำหนดจุดหมายปลายทางด้วย “จินตนาการ” คิดให้เป็นภาพเสมือนจริงว่าถ้าหากทำสำเร็จแล้วจะเป็นอย่างไร ลูกค้าจะรู้สึกอย่างไร มีสีหน้าอย่างไร
.
3. ให้ “สงสัยไว้ก่อน” เมื่อได้รับโปรเจ็คหรืองานจากลูกค้า เพื่อหาวิธีที่เร็วที่สุด และสงสัยว่า วิธีนั้นเป็นไปได้จริงไหม
.
4. ใช้ Google ค้นหาภาพให้ใกล้เคียงกับที่เราจินตนาการไว้ที่สุด เพื่อเห็นรายละเอียดที่ชัดเจนขึ้น
.
5. จินตนาการถึงอายุขัยของโปรเจ็คหรือสินค้านั้น ๆ
.
6. กำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ออกว่า ลูกค้าชอบฟังเพลงอะไร /ดูรายการทีวีประเภทอะไร/ ร้านที่ชอบไปคือร้านไหน
.
7. กำหนดรูปแบบ (model) การทำงาน เมื่อมีรูปแบบการทำงานแล้วเราจะทำเป็นรูทีน
.
8. ลดตัวเลือกให้เหลือน้อยที่สุด
.
ภาค 2 วางแผนการทำงาน
.
1. กำหนดคอนเซ็ปส์ ที่เข้าใจง่ายและนำไปปฏิบัติได้จริง เพื่อการทำงานเป็นทีมไปในทิศทางเดียวกัน และไม่หลุดจากกรอบที่ตั้งไว้
.
2. เตรียมความพร้อมด้วยการหาข้อมูลอย่างเพียงพอ
.
3. หาข้อมูลและเกลาข้อมูล ด้วยการตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องทำทิ้งไป
.
4. ให้ความสำคัญกับเรื่องเวลาและการรักษาสัญญาด้วย “เส้นตายของงาน”
.
5. เลิกใช้คำว่า “เร็วที่สุด” เพราะเร็วของแต่ละคนไม่เหมือนกัน และเวลาเป็นสิ่งที่วัดหรือนับได้ เพราะฉะนั้นระบุไปเลยว่าวันไหน เวลาเท่าไหร่
.
6. เลิกใช้คำว่า “ภายในวันนี้” เพราะมันอาจหมายถึงก่อนเที่ยงคืนหรือหลังจากเวลาเลิกงานไปแล้ว ควรระบุเวลาไปเลย
.
7. กำหนดเส้นตายล่วงหน้าก่อนเส้นตายจริง เพื่อจะมีเวลาแก้ไขงานหากเกิดสิ่งที่ไม่คาดคิดขึ้นหรือจำเป็นต้องแก้ไข
.
8. แยกกล่องงานตามระยะเวลา เช่น 1 สัปดาห์ / 1 เดือน / 1 ปี
.
9. งานทุกชิ้นใช้ “เวลา” เป็นเครื่องวัด ไม่ใช่งานไหนน่าสนุกถึงทำก่อน
.
10. วิธีเอาสิ่งต่าง ๆ ออกจากสมอง คือ 1.เขียนใส่กระดาษ / 2. พิมพ์ใส่สมาร์ทโฟน / 3.โยนให้ทุกอื่น
.
11. จดจ่อเพียงเรื่องเดียว เหมือนการเปลี่ยนคาบเรียน เช่น คาบนี้เรียนคณิตก็จดจ่ออยู่กับวิชาคณิต
.
12. หมดยุคสมัยที่ทำงานล่วงเวลา เปลี่ยนมาวัดกันที่การทำงานภายใต้เวลาจำกัดใครทำได้ดีกว่ากัน
.
สรุป สิ่งที่สำคัญที่สุดในการวางแผนการทำงานคือ “จินตนาการ” ว่าถ้าสำเร็จแล้วจะเป็นอย่างไร ออกมาเป็นแบบไหน และลูกค้ารู้สึกอย่างไร