Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
HISTORY OF WAR & ARMY
•
ติดตาม
26 ม.ค. 2021 เวลา 14:17 • ประวัติศาสตร์
แนวรบตะวันออกเเละเเนวรบตะวันตกในสงครามโลกครั้งที่ 1
ในสงครามโลกครั้งที่ 1 น้้น มีพื้นที่การรบส่วนใหญ่อยู่ในทวีปยุโรป ส่วนเอเชียเเละแอฟริกา เป็นส่วนน้อย โดยที่การรบในทวีปยุโรปนั้น โดยประเทศหลักของ ฝ่ายมหาอำนาจกลางนั้น มีพิ้นที่อยู่ตรงกลางระหว่าง ชาติพันธมิตรของฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้ต้องมีการเเบ่งกำลังรบออกเป็น 2 ด้าน คือ แนวรบตะวันออก (ฝ่ายมหาอำนาจกลาง ได้แก่ เยอรมัน ออสเตรีย-ฮังการี บัลแกเรีย ออตโตมัน กับ ฝ่ายสัมพันธมิตร ได้แก่ รัสเซีย โรมาเนีย เบลเยี่ยม สหราชอาณาจักร) และเเนวรบตะวันตก (ฝ่ายมหาอำนาจกลาง ได้แก่ เยอรมัน ออสเตรีย-ฮังการี กับ ฝ่ายสัมพันธมิตร ได้แก่ ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา เบลเยียม อิตาลี โปรตุเกส รัสเซีย สยาม เป็นต้น)
แนวรบตะวันออก(สงครามโลกครั้งที่ 1) Eastern Front (World War I)
คือ เขตสงครามในสงครามโลกครั้งที่ 1 บริเวณยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก คำดังกล่าวขัดกับแนวรบด้านตะวันตก แม้จะแยกกันทางภูมิศาสตร์ เหตุการณ์ในเขตสงครามทั้งสองมีอิทธิพลต่อกันอย่างมาก ในแหล่งข้อมูลรัสเซีย บางครั้งเรียกสงครามนี้ว่า สงครามปิตุภูมิครั้งที่สอง
ภาพ: รูปภาพเรียงตามเข็มนาฬิกาเริ่มจากภาพบนซ้าย: ทหารประจำการบนเทือกเขาคาร์เพเทียน, ค.ศ. 1915; ทหารเยอรมันในกรุงเคียฟ เดือนมีนาคม ค.ศ. 1918; เรือประจัญบานสลาว่าของรัสเซีย, เดือนตุลาคม ค.ศ. 1917; กองทัพรัสเซีย ค.ศ. 1914; ทหารโรมาเนีย
อาณาเขตความยาวของแนวรบตะวันออกนั้นใหญ่กว่าแนวรบตะวันตกมาก เขตสงครามจำกัดขอบเขตอย่างหยาบ ๆ ไว้โดยทะเลบอลติกทางตะวันตก และมินสค์ทางตะวันออก เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กทางเหนือ และทะเลดำทางใต้ คิดเป็นระยะทางกว่า 1,600 กิโลเมตร ซึ่งมีผลกระทบรุนแรงต่อธรรมชาติของสงครามอย่างมาก ขณะที่สงครามโลกครั้งที่ 1 บนแนวรบตะวันตกพัฒนาไปเป็นสงครามสนามเพลาะ แนวรบบนแนวรบตะวันออกไหลลื่นกว่ามากและสนามเพลาะไม่เคยถูกพัฒนาอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นเพราะแนวรบที่ยาวทำให้ความหนาแน่นของทหารในแนวต่ำกว่า และแนวรบก็แตกได้ง่ายกว่า เมื่อแตกแล้ว เครือข่ายติดต่อสื่อสารที่กระจัดกระจายทำให้เป็นการยากสำหรับฝ่ายตั้งรับที่จะเร่งรุดส่งกำลังหนุนมายังรอยแตกของแนว เพื่อตีตอบโต้อย่างรวดเร็วและผนึกการเจาะผ่านนั้น กล่าวสั้น ๆ คือ บนแนวรบตะวันออก ข้างฝ่ายป้องกันไม่มีข้อได้เปรียบมากมายเหมือนกับในแนวรบตะวันตก อย่างไรก็ตาม กองทัพรัสเซียคุ้นชินกับภูมิประเทศของตน ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบตามธรรมชาติของฝ่ายรัสเซีย
ภาพ: แนวรบตะวันออก กองกำลังจากฝ่ายเยอรมนี ออสเตรีย - ฮังการี ออตโตมันกับ ฝ่ายรัสเซียและประเทศในคาบสมุทรบอลข่าน(บางส่วน) มีการต่อสู้กันในแนวรบตะวันออกโดยเเนวรบตะวันออกนั้นมีนั้นมีขนาดใหญ่กว่าแนวรบด้านตะวันตก
ลำดับเหตุการณ์ในแนวรบตะวันออก
ค.ศ. 1914
เมื่อสงครามเริ่ม ซาร์นิโคลัสที่ 2 ได้แต่งตั้งลูกพี่ลูกน้องของตน แกรนด์ดยุคนิโคลัส เป็นผู้บัญชาการกองทัพจักรวรรดิรัสเซียสูงสุด เมื่อเรียกระดมพลเสร็จแล้ว กองทัพรัสเซียมีทหารราว 1.2 ล้านนาย ประกอบด้วย 70 กองพลทหารราบ และ 24 กองพลทหารม้า พร้อมปืนใหญ่อีกเกือบ 7,900 กระบอก กองทัพเหล่านี้ถูกแบ่งออกดังนี้ 32 กองพลทหารราบ และ 10.5 กองพลทหารม้าถูกส่งไปปฏิบัติต่อต้าน เยอรมนี, 46 กองพลทหารราบ และ 18.5 กองพลทหารม้าถูกส่งไปปฏิบัติต่อต้าน ออสเตรีย-ฮังการี, 19.5 กองพลทหารราบ และ 5.5 กองพลทหารม้าถูกส่งไปป้องกันฝั่งทะเลบอลติกและทะเลดำ ส่วน กองพลทหารราบอีก 17 กองพล และกองพลทหารม้าอีก 3.5 กองพล ถูกส่งเข้ามาจากไซบีเรียและเตอร์กีสถาน
ภาพ: แกรนด์ดยุคนิโคลัสผู้บัญชาการกองทัพจักรวรรดิรัสเซียสูงสุด ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระเจ้า ซาร์นิโคลัสที่ 2
สงครามในแนวรับตะวันออกเริ่มต้นขึ้นด้วยการรุกรานปรัสเซียตะวันออก และจังหวัดกาลิเซียของออสเตรีย-ฮังการี รัสเซียความพยายามแรกกลายเป็นความพ่ายแพ้อย่างรวดเร็วหลังยุทธการเทนเนนแบร์ก ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1914 ส่วนการรุกล้ำครั้งที่ 2ประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ โดยรัสเซียควบคุมกาลิเซียเกือบทั้งหมดเมื่อถึงปลาย ค.ศ. 1914 ภายใต้การบังคับบัญชาของนิโคไล อีวานอฟ และอเล็กเซย์ บรูซิลอฟ ฝ่ายรัสเซียชนะในยุทธการกาลิเซียในเดือนกันยายนและเริ่มการล้อมเพทเซมมาย (Przemysl) ปราการต่อไปบนเส้นทางสู่คราคูฟ (Kraków)
ความสำเร็จตั้งแต่เริ่มต้นของรัสเซียใน ค.ศ. 1914 ที่ชายแดนของ ออสเตรีย-ฮังการีนั้น เป็นเหตุให้ฝ่ายมหาอำนาจกลางกังวลและทำให้ กองทัพเยอรมนีจำนวนมากถูกส่งมาทางตะวันออก เพื่อสนับสนุนกองทัพ ออสเตรีย-ฮังการี นำไปสู่การจัดตั้งกองทัพที่เก้าของเยอรมนีใหม่ เมื่อถึงปลายปี ค.ศ. 1914 ฝ่ายเยอรมนีเเละออสเตรีย-ฮังการี มีความสนใจหลักของการสู้รบเปลี่ยนไปจากเดิม เป็นส่วนกลางของโปแลนด์ ทางตะวันออกของแม่น้ำวิสตูลา ในยุทธการแม่น้ำวิสตูลาในเดือนตุลาคมและยุทธการวูทช์ (Łódź) ฝ่ายเยอรมนีประสบความสำเร็จเล็กน้อย แต่อย่างน้อยก็สามารถกันรัสเซียให้อยู่ในระยะปลอดภัยได้ เเต่สุดท้ายฝ่ายรัสเซียก็เป็นฝ่ายชนะ
ภาพ: ยุทธการแม่น้ำวิสตูลา ในเเนวรบตะวันออก
กองทัพรัสเซียและออสเตรีย-ฮังการียังปะทะกันต่อไปทั้งในเทือกเขาคาร์พาเธียนและบริเวณใกล้เคียง ตลอดฤดูหนาว ค.ศ. 1914-1915 ป้อมปราการเพทเซมมายยังไม่ถูกยึดอยู่ลึกเข้าไปหลังแนวข้าศึกตลอดช่วงเวลานี้ ขณะที่รัสเซียเลี่ยงมันไปเพื่อโจมตีกองทัพออสเตรีย-ฮังการีไกลออกไปทางตะวันตก รัสเซียมีความคืบหน้าบ้าง โดยข้ามคาร์พาเธียนได้ในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม ค.ศ. 1915 แต่หลังจากนั้น เยอรมนีได้ส่งความช่วยเหลือมาและหยุดยั้งการรุกเพิ่มเติมของรัสเซีย ซึ่งระหว่างนั้น เพทเซมมายเกือบจะถูกทำลายทั้งหมดและการล้อมเพทเซมมายยุติลงด้วยความพ่ายแพ้ของออสเตรีย
ค.ศ. 1915
ใน ค.ศ. 1915 กองบัญชาการเยอรมนีตัดสินใจทุ่มเทกำลังส่วนใหญ่บนแนวรบตะวันออก และย้ายกำลังขนาดใหญ่พอสมควรมาจากทางตะวันตก ในการกำจัดภัยคุกคามจากฝ่ายรัสเซีย ฝ่ายมหาอำนาจกลางเริ่มการทัพใน ค.ศ. 1915 ด้วยการรุกกอลิซ-ทาร์นอฟในกาลิเซียในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1915 หลังยุทธการทะเลสาบมาซูเรียครั้งที่ 2 กองกำลังเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี ในแนวรบตะวันออกดำเนินการอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาร่วมกัน ไม่นานการรุกจะเปลี่ยนไปเป็นการคืบหน้าทั่วไปและตามด้วยการล่าถอยทางยุทธศาสตร์ของกองทัพรัสเซีย สาเหตุของการผันกลับนี้คือข้อผิดพลาดในแง่ยุทธวิธี เช่น การขาดประสิทธิภาพของยุทโธปกรณ์ทางเทคนิค โดยเฉพาะอย่างยิ่งปืนใหญ่และเครื่องกระสุน เฉพาะจนถึง ค.ศ. 1916 ที่การพัฒนาอุตสาหกรรมสงครามรัสเซียเพิ่มการผลิตยุทธภัณฑ์ และพัฒนาสถานการณ์ด้านกำลังบำรุงได้
ถึงกลาง ค.ศ. 1915 รัสเซียถูกขับออกจากโปแลนด์และถูกผลักดันหลายร้อยกิโลเมตรจากชายแดนของประเทศฝ่ายมหาอำนาจกลาง ซึ่งเป็นการกำจัดภัยคุกคามการรุกรานเยอรมนีหรือออสเตรีย-ฮังการีของรัสเซีย ปลาย ค.ศ. 1915 การรุกของเยอรมนีและออสเตรียถูกหยุดที่ แนว Riga–Jakobstadt–Dvinsk–Baranovichi–Pinsk–Dubno–Ternopil แนวรบนี้โดยคร่าว ๆ ทั่วไปแล้วไม่เปลี่ยนแปลงกระทั่งจักรวรรดิรัสเซียล่มสลายใน ค.ศ. 1917
ภาพ: แนว Riga–Jakobstadt–Dvinsk–Baranovichi–Pinsk–Dubno–Ternopil ของฝ่ายรัสเซีย
ค.ศ. 1916
จนถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1916 รัสเซียมี 140 กองพลทหารราบ เทียบกับออสเตรียและเยอรมนีที่มี 105 กองพลทหารราบ และรัสเซียมี 40 กองพลทหารม้า เทียบกับออสเตรียและเยอรมนีที่มี 22 กองพลทหารม้า การระดมอุตสาหกรรมและการเพิ่มการส่งออกทำให้กองทัพรัสเซียยังคงเป็นฝ่ายรุกต่อไปได้ การโจมตีขนาดใหญ่ในแนวรบตะวันตกเฉียงใต้(ดูจากฝั่งของดินแดนรัสเซีย)ภายใต้การนำของพลเอกอเล็กเซย์ บรูซิลอฟ (เรียกว่าการรุกบรูซิลอฟ) เริ่มในเดือนมิถุนายน การโจมตี มีเป้าหมายต่อส่วนของแนวรบที่ควบคุมโดยออสเตรีย-ฮังการี ประสบความสำเร็จในช่วงแรก กองทัพรัสเซียรุกเข้าไปลึก 50-70 กิโลเมตร จับกุมเชลยได้หลายแสนคน และปืนใหญ่อีกหลายร้อยกระบอก การมาถึงของกำลังเสริมข้าศึก ความพ่ายแพ้ของโรมาเนีย ความล้มเหลวของพันธมิตรตะวันตกในการสั่นสะเทือนการป้องกันของเยอรมนี ทำให้การรุกของรัสเซียสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน
ภาพ: พลเอกอเล็กเซย์ บรูซิลอฟ
วันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1916 โรมาเนียเข้าสู่สงครามโดยอยู่ฝ่ายไตรภาคี และทำการรุกประสบความสำเร็จกระทั่งเดือนกันายน หลังจากนั้น โรมาเนียเริ่มประสบความสูญเสียอย่างหนักและพ่ายแพ้หลายครั้งจากกำลังเยอรมนี-ออสเตรีย-บัลแกเรีย-ออตโตมัน เพราะกองทัพโรมาเนียมียุทโธปกรณ์แย่และพันธมิตรรัสเซียให้การสนับสนุนไม่มากพอควร
ค.ศ. 1917–1918
จนถึง ค.ศ. 1917 เศรษฐกิจรัสเซียใกล้จะล่มสลายภายใต้ความพยายามของสงครามที่ตึงเกินไป ขณะที่ยุทโธปกรณ์ของกองทัพรัสเซียแท้จริงแล้วพัฒนาขึ้นเนื่องจากการขยายอุตสาหกรรมสงคราม การขาดแคลนอาหารในใจกลางนครที่สำคัญทำให้เกิดความไม่สงบขึ้น นำไปสู่การสละราชสมบัติของ พระเจ้านิโคลัสซาร์ที่ 2 และการปฏิวัติกุมภาพันธ์ ความสูญเสียจำนวนมากในสงครามยังสร้างความไม่พอใจและทัศนะขัดขืนในกองทัพ ซึ่งจุดชนวนโดยพรรคบอลเชวิคผู้ปลุกปั่น และนโยบายปล่อยเสรีใหม่ของรัฐบาลเฉพาะกาลรัสเซียต่อกองทัพ โดยการลดอาณัติของนายทหารโดยให้อำนาจอย่างกว้างขวางครอบคลุมแก่ "คณะกรรมาธิการทหาร" และการยกเลิกโทษประหารชีวิต การรุกครั้งสุดท้ายของกองทัพรัสเซียในสงคราม คือ การรุกเคเรนสกีที่เกิดขึ้นช่วงสั้น ๆ และไม่สัมฤทธิ์ผลในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1917
ภาพ: เหตุการณ์หนึ่งในการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ ในรัสเซีย ค.ศ. 1917
ภาพ: ฝ่ายปฏิวัติกำลังโจมตีตำรวจของพระเจ้าซาร์ในวันแรกของการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์
วันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1917 พรรคบอลเชวิคที่เป็นคอมมิวนิสต์ยึดอำนาจการปกครองอยู่ภายใต้การนำของวลาดีมีร์ เลนิน หัวหน้าพรรค รัฐบาลใหม่บอลเชวิคของเลนินพยายามยุติสงครามแต่เยอรมนีเรียกร้องให้ยกดินแดนผืนใหญ่ให้ ท้ายที่สุด ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1918 มีการลงนามในสนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์ และแนวรบด้านตะวันออกยุติการเป็นเขตสงคราม แม้สนธิสัญญาดังกล่าวในทางปฏิบัติจะเลิกใช้ก่อนถึงสิ้นปี แต่ได้บรรเทาภัยแก่บอลเชวิค ซึ่งกำลังติดพันอยู่ในสงครามกลางเมือง และรับรองเอกราชของฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ยูเครน และลิทัวเนีย เยอรมนีสามารถโอนกองกำลังขนาดใหญ่ไปทางตะวันตกเพื่อโจมตีในฝรั่งเศสในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1918 อย่างไรก็ตาม การรุกดังกล่าวไม่อาจเจาะผ่านอย่างเด็ดขาดได้ และการมาถึงของทหารอเมริกันที่มากขึ้นทุกทีในยุโรป ทำให้ข้อได้เปรียบของเยอรมนีหมดไป แม้หลังรัสเซียจะล่มสลายลงแล้ว ทหารเยอรมันนับล้านนายยังต้องประจำอยู่ทางตะวันออกกระทั่งสงครามยุติ ในความพยายามที่จะจัดการกับดินแดนส่วนที่เพิ่มเติมแก่จักรวรรดิเยอรมันในยุโรปที่มีอายุสั้น ๆ เท่านั้น ในตอนท้าย เยอรมนีและออสเตรียสูญเสียดินแดนที่ยึดครองได้ทั้งหมด และนอกเหนือจากนั้น ภายใต้เงื่อนไขของสนธิสัญญาหลายฉบับที่ลงนามหลังสัญญาสงบศึกใน ค.ศ. 1918
ภาพ: สนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์สองหน้าแรก (จากซ้ายไปขวา) ในภาษาเยอรมัน ฮังการี บัลแกเรีย ออตโตมันตุรกีและรัสเซีย
ครั้งหน้าผมจะมาพูดถึงเเนวรบตะวันตกกันนะครับ ต้องขอบคุณที่ รับชม อ่านบท ครับผม ขออภัยที่ไม่ได้ลงบทความอธิบายเหตุผลที่ประเทศต่างๆเข้าร่วมสงครามนะครับ
ถ้ามีอะไรผิดพลาด สามารถ บอกหรือติชม ได้นะครับ ผมต้องขอลาไปก่อน ขอบคุณครับ
เนื้อหาเเละรูปภาพ อ้างอิงจาก:
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81_(%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87)
บันทึก
3
1
1
3
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย