ข้อ 2) ผู้จัดสรรที่ดิน ซ่อมบำรุง สาธารณูปโภค ให้เรียบร้อย แต่จะไม่ส่งมอบ เงินบำรุงรักษา สาธารณูปโภค แก่ นิติฯ
โดย ผู้จัดสรรที่ดิน กล่าวอ้าง ว่า หากทำการซ่อมบำรุง ครบที่ 300 รายการตามข้อร้องเรียน แล้ว. จะทำเรื่องขอพ้นหน้าที่ การบำรุงรักษาระบบสาธาฯ และไปขอถอน เงินค้ำประกันการบำรุงรักษา สาธารณูปโภค ที่ สนง.ที่ดิน
โดย จะนำหลังฐาน การซ่อมแซม สาธาฯ ให้ นิติฯ ไปใช้แสดงเป็น หลักฐาน ประกอบ การยื่นข้อ พ้นหน้าที่การบำรุงรักษาสาธารณูปโภค แทน หลักฐานการ ส่งมอบเงินบำรุงรักษา สาธารณูปโภค ให้ นิติฯ ตามที่กฎหมาย กำหนดไว้
ข้อสังเกตุ
ข้อเสนอตามข้อ 2 ที่ ผู้จัดสรรที่ดิน กล่าวอ้าง จะพบว่า ไม่มีฎีกา/กฎหมายใดๆรองรับ ขั้นตอน การปฎิบัติ แนวทางนี้เลย
●ข้อเสีย
ได้เงินบำรุงรักษา สาธารณูปโภค (1.7 ล้านบาท) ช้าหน่อย
●ข้อดี
ผู้จัดสรรที่ดิน ต้องซ่อมบำรุง สาธาฯ ตามคำสั่งคณะอนุกรรมการ ที่ลง พื้นที่ หมู่บ้านฯ เพื่อ ตรวจสอบ/ทำรายการซ่อม บำรุง สาธาฯ โดยจะใช้แนบ หนังสือคำสั่ง ส่งถึง ผู้จัดสรรที่ดิน เป็น ครั้งที่ 2
พร้อม กำหนด กรอบเวลาแล้ว เสร็จ ภายใน 60 วัน. หาก ครบกำหนดแล้วยัง ไม่ซ่อมแซมให้แล้วเสร็จตามกำหนด คณะอนุกรรมการ สามารถ แจ้งความร้องทุกข์ และออกคำสั่ง ปรับเงิน เป็นอัตรา 1,000 บาทต่อวัน จนกว่า ผู้จัดสรรที่ดิน จะดำเนินการซ่อมบำรุง สาธาฯ ตามรายการครบถ้วน.
เมื่อซ่อมบำรุง สาธาฯเสร็จ คณะอนุกรรมการจะลงพื้นที่ตรวจรายการ ซ่อมบำรุง สาธาฯ ว่าครบถ้วน ถูกต้อง ตามรายการข้างต้นหรือไม่ อีกครั้ง
ก่อนที่ ผู้จัดสรรที่ดิน จะนัด ส่งมอบเงินบำรุงรักษา สาธารณูปโภค จำนวน 1.7 ล้านบาท (จำนวนเงิน เท่ากับที่ ผู้จัดสรรที่ดิน วาง สัญญาค้ำประกันการบำรุงรักษา สาธารณูปโภค ที่ สำนักงาน ที่ดินฯ เป็นเงิน 1.7 ล้านบาท) ให้ แก่นิติฯ
ผู้จัดสรรที่ดิน ยื่นขอ พ้นหน้าที่ การบำรุงรักษา สาธาฯ และ ขอรับสัญญาค้ำประกันการบำรุงรักษา สาธาฯ ที่วางไว้กับสำนักงานที่ดิน คืน โดยต้องแสดง หลักฐาน ดังต่อไปนี้ให้ สำนักงาน ที่ดินฯ ทราบ
•หลักฐานจดทะเบียนโอนทรัพย์สิน ให้นิติฯ
•หลักฐานการ ส่งเงินค่าบำรุงรักษา สาธารณูปโภค ให้ นิติบุคคลฯ