Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
จีนจับใจ
•
ติดตาม
13 ม.ค. 2021 เวลา 07:47 • ประวัติศาสตร์
ท่านประธานเหมาเจ๋อตงเคยกล่าวถึงคุณูปการของจางจือต้ง 张之洞 (ปีค.ศ.๑๘๓๗-๑๙๐๙) กับความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมของนครอู่ฮั่น เมืองเอกของมณฑลหูเป่ย์ไว้ว่า
"พูดถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ
ต้องไม่ลืมคุณูปการของจางจือต้ง"
"รากฐานของการค้าและอุตสาหกรรมของมณฑลหูเป่ย์ ไม่ว่าจะเป็นโรงงานถลุงเหล็กฮั่นหยาง โรงงานทอผ้า ทางรถไฟสายจิงฮั่น (เป่ยจิงอู่ฮั่น 京汉铁路)ล้วนมาจากการริเริ่มของจางจือต้ง"
และที่บังเอิญเหลือเกิน ในยามที่นครอู่ฮั่นประสบโรคภัยคุกคามครั้งใหญ่จากไวรัสโควิด ๑๙ ที่มีจุดเริ่มต้นจากนครใจกลางประเทศแห่งนี้ ประชาชนชาวจีนและชาวโลก ต่างส่งเสียง "อู่ฮั่นเจียโหยว" 武汉加油 หรือ อู่ฮั่นสู้ ๆ Wuhan Stay Strong and Be Brave กันดังกึกก้อง
คำว่า "อู่ฮั่นเจียโหยว" นี้มีเกี่ยวข้องกับบิดาแห่งอู่ฮั่น-จางจือต้ง อย่างบังเอิญเลยทีเดียว
********
จางจื่อต้งคือใคร?
จางจื่อต้ง เป็นบุตรชายคนที่ ๔ ของจางอิง 张瑛 (ปีค.ศ.๑๗๙๑-๑๘๕๖) ผู้เป็นขุนนางตงฉินอันดับต้น ๆ รับราชการในมณฑลกุ้ยโจว ในสมัยปลายราชวงศ์ชิง จางอิงรักและส่งเสริมการศึกษาให้กับประชาชน
ในอดีตการอ่านตำรายามค่ำคืน เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลยสำหรับประชาชนทั่วไป เพราะแสงสว่างจากตะเกียงต้องใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง น้ำมันมีีราคาแพง ดังนั้น คนมีเงินเท่านั้น จึงมีโอกาสได้เล่าเรียนสูง ๆ
จางอิงได้ใช้เบี้ยหวัดของตนเอง มุ่งเน้นส่งเสริมการศึกษาให้ลูกหลานในพื้นที่ที่เขาดูแล ให้ขยันหมั่นเรียน สอบเข้ารับราชการได้ เขาจึงได้คิดค้นวิธีการของเขา โดยออกเดินเยี่ยมเยือนบ้านราษฎรในยามค่ำคืน โดยนำถังตะเกียงน้ำมันติดตัวไปด้วย หากพบเจอบ้านไหนที่มีลูกหลานกำลังตั้งใจอ่านหนังสือภายใต้แสงตะเกียง เขาก็จะเติมน้ำมันให้กับตะเกียงของบ้านนั้น ๆ จึงเป็นที่มาของคำว่า "เจียโหยว" หรือ "สู้ ๆ "
จางจือต้งเป็นลูกไม้ที่ตกใต้ต้นโดยแท้จริง เขาหมั่นศึกษาเล่าเรียนแต่เยาว์วัย อายุ ๑๖ สอบได้ชั้นจวีเหญิน อายุ ๒๗ สอบได้ชั้นถั้นฮวา และได้เป็นจิ้นสืออันดับสาม เมื่ออายุ ๕๒ ท่านดำรงตำแหน่งพ่อเมืองอู่ฮั่น จนถึงอายุ ๗๒ ปีจึงถึงแก่อนิจกรรมที่เมืองอู่ฮั่น
ในช่วงระยะเวลา ๒๐ ปีที่ท่านดูแลเมืองอู่ฮั่น ได้พัฒนาพลิกโฉมอู่ฮั่นให้มีความเจริญก้าวหน้า โดยเฉพาะท่านได้เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงงานถลุงเหล็กฮั่นหยาง 汉阳铁厂 อันถือเป็นโรงงานถลุงเหล็กแห่งแรกของทวีปเอเชีย มีผลงานสร้างตราสัญลักษณ์ฮั่นหยาง ขยายไปยังธุรกิจทอผ้า สิ่งทอ การสร้างทางรถไฟจากอู่ฮั่นขึ้นไปถึงกรุงปักกิ่ง ฯลฯ
จางจือต้ง คือบุคคลที่วางรากฐานให้อู่ฮั่นได้รับสมญานามว่า "นครชิคาโกแห่งตะวันออก 东方芝加哥" ในสมัยปลายราชวงศ์ชิงมีความเจริญไม่เป็นรองนครเซี่ยงไฮ้ทางภาคตะวันออก และชาวอู่ฮั่นได้ยกย่องท่านให้เป็น "บิดาแห่งอู่ฮั่น 武汉之父" มีพิพิธภัณฑ์อัตชีวประวัติของท่านที่ก่อสร้างเป็นรูปเรือธง ตั้งอยู่ในกลางนครอู่ฮั่น เปิดให้ประชาชนเข้าชมได้เมื่อเดือนมิถุนายน ปีค.ศ.๒๐๑๗ ที่ผ่านมา อนาคตน่าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมอีกแห่งหนึ่งของอู่ฮั่น
**********
ในยามที่ชาวอู่ฮั่นเจ็บป่วย ประสบโรคภัย ชาวโลกได้ส่งเสียงกึกก้องว่า "อู่ฮั่นเจียโหยว จงกว๋อเจียโหยว"
และมิน่าเชื่อว่า คำว่า "เจียโหยว" ที่ชาวจีนใช้ส่งเสียงในการเชียร์กีฬา ส่งเสียงให้ชาวจีนลุกขึ้นสู้ ๆ จะมีความผูกพันกับ "บิดาแห่งนครอู่ฮั่น" อย่างแยกไม่ออกเลยทีเดียว และหากดวงวิญญาณท่านจะได้รับรู้ คงจะช่วยปัดเป่าทุกข์ภัยให้ชาวอู่ฮั่นในเร็ววัน
บทความนี้เรียบเรียงจาก
https://www.chinapress.com.my/20200223/加油一词有来历-和武汉之父有关
1 บันทึก
6
1
1
6
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย