16 ม.ค. 2021 เวลา 10:00 • อาหาร
อุปกรณ์ทำเบียร์ 101
บทความแรกของปี ก็ขอถือโอกาสสวัสดีปีใหม่ 2564 อย่างเป็นทางการอีกครั้งกับเพื่อนๆชาวคอเบียร์ทุกท่าน บทความวันนี้ว่าด้วยเรื่องอุปกรณ์ทำเบียร์ในแบบฉบับ Homebrew เป็นอุปกรณ์ขั้นพื้นฐาน หาได้ตามท้องตลาดหรือในครัวของเพื่อนๆราคาไม่แรง กว่าจะเป็นคราฟเบียร์หนึ่งแก้วจะต้องใช้อะไรบ้าง Stay tuned!
Equipment needed to brew
หลัง 2-3 ปีมานี้ ตลาดคราฟท์เบียร์ถือว่ามีความคึกคักขึ้นอย่างมาก โดยตัวเลขการซื้อ-ขายคราฟท์เบียร์เพิ่มขึ้น นักดื่มหน้าใหม่เพิ่มขึ้นหรือถึงขั้นหันมาเป็นผู้ผลิตก็ไม่น้อย โดยบทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นความรู้ให้กับนักดื่มที่สนใจในคราฟเบียร์มากขึ้นหรือ Brewer หน้าใหม่ที่เริ่มสนใจจะทำเบียร์สักแบช (Batch)
อุปกรณ์ทำเบียร์แบบพื้นฐาน 101 ก็จะมีประมาณ 9-10 อย่าง ก็สามารถทำคราฟท์เบียร์ได้ โดยคอเบียร์จะขอแทรกถึงอุปกรณ์ที่ Recommend ที่ควรมี
แต่ถ้าไม่มีก็สามารถทำได้ Don't worry โดยจะขอแยกกลุ่มเป็น 5-6 อย่าง ตามขั้นตอนการทำเพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น ดังนี้
Equipment 101
• Mashing Equipment หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในขั้นตอนการสกัดน้ำตาลจากมอลต์
• Boiling Equipment หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในขั้นตอนการต้ม
• Fermentation Equipment หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในขั้นตอนการหมักน้ำเบียร์
• Bottling Equipment หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในขั้นตอนการบรรจุขวด
• Sanitizer น้ำยาฆ่าเชื้อซึ่งจำเป็นต่อการทำเบียร์อย่างมาก
• Measuring tool หรือเครื่องมือวัด ในทุกๆสัดส่วนของการทำเบียร์ต้องผ่านการวัดค่าด้วยความแม่นยำเพื่อรสชาติที่คงที่
Mashing Equipment
"คอเบียร์จะอธิบายโดยรวมๆถึงกระบวนการทำเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจในแต่ละอุปกรณ์"
Mashing Equipment เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการสกัดน้ำตาลออกจากมอลต์ เป็นขั้นตอนแรกสุดของการทำเบียร์หรือการทำน้ำ "Wort" อ่านว่า เวิท
โดยการเอามอลต์ที่ผ่านการบดมาแช่กับน้ำร้อนประมาณ 66 องศาเซลเซียสในถังหรือภาชนะที่มีความสามารถรักษาอุณหภูมิดังกล่าวให้ได้ 1 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย โดยถังหรือภาชนะนี้จะถูกเรียกว่า Mash tun
mash equipment
• สไตล์ Homebrew ถัง Mash tun ก็จะมี 2 แบบที่นิยมใช้กันคือ
- ถัง cooler ซึ่งมีคุณสมบัติเก็บทั้งความร้อนหรือเย็นได้ดีอยู่แล้ว นำมาดัดแปลงเพิ่มตัวกรองกากมอลต์และติดก็อกเข้าไปสำหรับ Drain น้ำ Wort ออก
- หม้อก๋วยเตี๋ยว สามารถนำมาใช้ได้ทั้งตอน Mashing และ Boiling ได้เช่นกันแต่การรักษาอุณหูมิของหม้อก๋วยเตี๋ยวจะไม่ค่อยดีเท่าที่ควร จึงต้องเปิดไฟเพิ่มเข้าไปตลอด จะเห็นว่ามีผ้าขาวบางหรือไนล่อนเป็นผ้ากรองกากมอลต์ได้เช่นกันหรือจะเรียกวิธีนี้ว่า "BIAB" Brew in a bag
Recommend tools
• Paddle หรือไม้กวนเพื่อคนมอลต์ตอนเทลงถัง Mash เพื่อป้องกันการจับตัวกันเป็นก้อน ซึ่งจะช่วยให้ การสกัดน้ำตาลออกมาตามได้ค่าตามที่ต้องการ
• Malt grinder หรือเครื่องบดมอล์เป็นอุปกรณ์ที่ควรมีเช่นกัน แต่ร้านขายวัตถุดิบทำเบียร์ก็จะมีบริการบดมอลต์ด้วย จึงไม่จำเป็นหากไม่มี
Boiling Equipment
Boiling Equipment หลักๆก็จะเป็นหม้อต้มเพื่อใช้ในการต้มเบียร์ ควรใช้หม้อที่มีความแข็งแรงและขนาดตามแบชที่ต้องการและบวกขนาดเพิ่มไปอีก 25-50%
เช่น หากเพื่อนๆต้องการทำเบียร์ 20 ลิตรก็ต้องมีหม้อขนาดอย่างน้อย 25-40 ลิตร (ยิ่งเยอะยิ่งดีเพราะ หาก Efficiency ของระบบเพื่อนๆยังน้อย การสูญเสียก็เยอะขึ้น จึงต้องเผื่อเพื่อชดเชยส่วนที่เสียไป)
Boiling Equipment
• Wort Chiller เป็นอีกอุปกรณ์จำเป็นเพราะเมื่อต้มเสร็จครบชั่วโมง ต้องทำการลดอุณหภูมิลงมาเพื่อพร้อมสำหรับการ Pitching หรือใส่ยีสต์นั้นเอง
เพราะหากน้ำร้อนเกินไปยีสต์ที่ใส่ลงไปจะตายนั้นเอง โดยหลักการการทำงานก็คือการนำเอาน้ำเย็นไปหมุนเวียนผ่านคอยล์และแรกเปลื่ยนความร้อนกัน
ซึ่ง Chiller จะมีหลายรูปแบบ
1 แบบจุ่มหรือ Immersion ก็เป็นตัวยอดฮิตเพราะสามารถ DIY เองได้โดยหาซื้อ Coil ทองแดงหรือสำเร็จรูปราคาไม่สูงมากนัก
2 แบบ Counter flow อันนี้จะมีประสิทธิภาพสูงกว่าแบบจุ่ม เย็นไวกว่าเพราะเอาน้ำ wort ออกไปวนข้างนอกผ่านตัว coil แต่ข้อเสียคือเพื่อนๆต้องมีปั๊มและมีราคาค่อนข้างสูงกว่า
Recommend tools
• hop filter/spider หรือตัวกรองเศษฮอพ เนื่องจากเวลาต้มเป็นช่วงที่ใส่ฮอพลงไปด้วยเพื่อช่วยให้ง่ายต่อการแยกตะกอน (Trub) ออกจากน้ำเบียร์ ตัวนี้จะตอบโจทย์
• Malt filter ไม่ได้ใช้ในขั้นตอน Boiling แต่จะใช้ตอน Mashing ในแบบ "BIAB" แทนผ้าขาวบางตอนแยกกากมอลต์นั้นเอง
อุปกรณ์หมัก
Fermentation Equipment หรืออุปกรณ์หมัก จะใช้เมื่อเพื่อนๆทำการ Boiling และ Cooling เสร็จเรียบร้อยและถ่ายน้ำเบียร์ลงถังหมัก อุปกรณ์ที่สำคัญจะประกอบไปด้วย
• ถังหมักหรือ Fermenter จะมีหลายรูปทรงและวัสดุโดยขึ้นอยู่กับบัดเจทของเพื่อนๆเอง จะเริ่มตั้งแต่ ถังสีจนไปถึงถังสแตนเลสแบบโรงเบียร์ใหญ่ๆ
• Air lock เป็นตัวที่ใส่ไว้บนหัวถังหมักเพื่อระบายแก๊ส Co2 ที่ยีสต์ผลิตได้จากการหมักและก็จะป้องกันอากาศจากภายนอกเข้าสู่ถังหมักด้วยในเวลาเดียวกัน
• ชุดกาลักน้ำหรือ Siphoning tools เป็นอีกอุปกรณ์สำคัญที่ควรลงทุนซื้อ เพื่อความสะดวกในการถ่ายน้ำเบียร์เข้าหรือออกจากถังหมักมีตั้งแต่ราคาถูกหลักร้อยไปถึงหลักพัน
Fermentation Equipment
น้ำยาฆ่าเชื้อ
น้ำยาฆ่าเชื้อเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญที่ Brewer ต้องใช้ โดยหลังจากที่ลดอุณหภูมิในขั้นตอน Boiling แล้ว ทุกสิ่งที่มาสัมผัสน้ำเบียร์ต้องผ่านการฆ่าเชื้อ และรวมไปถึงการเตรียมยีสต์ด้วย
เพราะการหมักเบียร์เป็นเป็นเดือนๆหากมีสิ่งสกปรกปนเปื้อนเข้าไปในเบียร์ เพื่อนๆอาจจะต้องเททิ้งทั้งถังก็เป็นได้
ในท้องตลาดน้ำยาฆ่าเชื้อค่อนข้างมีราคาสูง แต่ก็มีประสิทธิภาพการทำงานสูงเช่นกัน โดยยี่ห้อคู่บุญของ Brewer ก็จะเป็น Star San
Star san
อุปกรณ์บรรจุขวด
อุปกรณ์บรรจุขวดเป็นอีกอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บเบียร์หลังหมักจบเรียบร้อย จะมีการเก็บเบียร์สองแบบไม่ลงขวดหรือกระป๋องก็จะใส่ถัง Keg แต่ในที่นี้คอเบียร์จะพูดถึงขวดเพราะเป็นวิธีที่ใช้ทุนน้อยที่สุด
• Bottle & Caps ขวดและฝาจีบ มีหลายขนาดสามารถหาได้ตามท้องตลาดทั้งมือหนึ่งและสอง แต่ต้องเป็นขวดสีขุ่น (ขวดสีชาจะเหมาะแก่การเก็บเบียร์ที่สุด)
• Bottle filler หรือปากกาบรรจุขวดถือว่าจำเป็นเพราะจากช่วยให้บรรจุน้ำเบียร์ได้ง่ายขึ้น น้ำเบียร์ไม่กระแทกลงก้นขวดลดการเกิดฟองและโอกาส Oxidation ของเบียร์ได้
• Bottle Capper หรือที่ปิดฝาจีบ มีหลายรูปแบบให้เลือกซื้อราคาตั้งแต่หลักร้อยจนไปถึงหลักพัน
อุปกรณ์บรรจุขวด
เครื่องมือวัด
สำหรับเครื่องมือวัดคอเบียร์ให้ความสำคัญมากเพราะเป็นอุปกรณ์ที่ต้องการความแม่นยำและเที่ยงตรง
เพื่อลดโอกาสความคลาดเคลื่อนและการใช้งานที่นานขึ้น ( Reliability & Durability) จะทำให้รสชาติเบียร์ของเพื่อนออกมาด้วยความสม่ำเสมอ
• ตราชั่งน้ำหนัก วัตถุดิบที่ใช้ในการทำเบียร์จะต้องผ่านการชั่งตวงมาอย่างแม่นยำ หากขาดหรือมากเกินไปจะทำให้รสชาติของเบียร์ผิดเพี้ยนไปจากสูตร
• อุปกรณ์วัดความถ่วงจำเพาะ ไว้ใช้สำหรับวัดปริมาณน้ำตาลในน้ำเบียร์ก่อนและหลังหมักเพื่อหา เปอร์เซ็นต์แอลกอฮอล์
อุปกรณ์วัดความถ่วงจำเพาะ มี 2 แบบที่ใช้กันใน Homebrew
1. Hydrometer แบบแท่งใช้วัดความถ่วงจำเพาะ ต้องใช้คู่กับกระบอกตวงทรงสูงราคาจะไม่แรงมาก
2. Refractometer Brix เครื่องนี้จะใช้วัดความหวานหรือปริมาณน้ำตาลในน้ำเบียร์ จะมีราคาสูงกว่า Hydrometer แบบแท่ง
• Thermometer หรือตัววัดอุณหภูมิ ในการทำเบียร์ อุณหภูมิเป็น Factor หลักในเกือบทุกๆขั้นตอน ต้อง Monitor อุณหภูมิตลอดเวลา เพื่อให้ได้คาเรคเตอร์ของเบียร์ที่ตรงตามที่ต้องการ
Recommend tools
• pH meter ในการทำเบียร์ pH นั้นมีความสำคัญเช่นกัน ยิ่งถ้าเพื่อนๆทำเบียร์แบบ Sour (เบียร์เปรี้ยว) แต่สำหรับมือใหม่ก็สามารถข้ามขั้นตอนนี้ไปได้
เพราะมอลต์เป็นบัฟเฟ่อธรรมชาติที่จะลดค่าของ pH ในน้ำลงมาให้อยู่ประมาณ 5.2-5.8 ได้เอง ซึ่งเหมาะกับการทำ Mashing
เครื่องมือวัด
ทั้งหมดนี้เป็นอุปกรณ์แบบ 101 สามารถทำเบียร์ได้จริง สามารถหาซื้อได้ตามออนไลน์หรือร้านเครื่องครัว เพื่อนๆอาจจะเคยเห็นชุด kit แบบเริ่มต้นที่ราคาไม่แรง
โดยคอเบียร์สนับสนุนให้ทำเบียร์ดื่มเองที่บ้าน ชวนเพื่อนๆมาชิม หรือ "Support your local craft beer"
สำหรับคอเบียร์ คราฟเบียร์ไม่ควรเป็นเบียร์ที่เข้าถึงยากแต่ควรเป็นเบียร์ที่ปกติทั่วไป หาซื้อได้ในไทย หลากหลายตัวเลือก คาเรคเตอร์แบบคนไทย รสชาติแบบไทยๆ ราคาไม่แรงและมีชื่อเสียงออกไประดับโลก
คอเบียร์เชื่อว่า Thai Craftbeer ได้ถูก kick-off ออกมาจากมุมมืดแล้ว ไม่จำเป็นต้องทำแบบหลบๆซ่อนๆ
หากเพื่อนๆทุกคนเห็นว่าคราฟเบียร์ไทยควรเป็นสิ่งปกติเหมือนประเทศทั่วๆไป การ Call out แสดงความเห็นต่อทุกการถูกกดให้อยู่แต่ในมุมมืดๆ ก็จะช่วยสร้าง Impact ให้เห็นว่า Craftbeer ไม่ใช่กลุ่มคนเล็กๆอีกต่อไป
และนี่คืออีกเหตุผลที่ผมออกมาทำคอเบียร์ อยากส่งเสริม ความรู้คราฟเบียร์ และดื่มอย่างปลอดภัย ย่อยมาเป็นบทความให้คนไทยได้อ่านและชม แบบเข้าใจง่ายๆ as "Brewer Assitant"
อุปกรณ์ทำเบียร์เป็นอีกสิ่งที่จบยาก ต้องอัพเกดตลอดเวลา เพื่ออุดรอยรั่ว การ lost ต่างๆ เพิ่ม Brewhouse Efficiency
ในท้องตลาดมีหม้อต้มแบบไฟฟ้า "compact" หม้อเดียวจบหรือเป็นระบบ Automation กดเพียงแค่ตู้คอนโทรลเลอร์ก็สามารถได้เบียร์ดีๆออกมาแล้ว
หากเพื่อนๆมีข้อสงสัยเรื่องใดสามารถมาคอมเม้นต์พูดคุยกันได้ใน Facebook Fanpage : Korbeerthailand หรือช่องทาง Blockdit
หากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ และเราจะปรับปรุงคอนเท้นท์ให้ดียิ่งขึ้น และบทความหน้าจะเกี่ยวกับอะไร โปรดติดตาม
"Good bye and stay healthy"
โฆษณา