18 ม.ค. 2021 เวลา 12:04 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
คุ้มหรือไม่หากคิดจะติดโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้าน
วิธีการหาความคุ้มค่าของการลงทุนอะไรซักอย่าง
ส่วนใหญ่แล้วเราจะคำนวณตัวเลขออกมาเป็นจำนวนปี
เช่น หากลงทุนติดตั้งโซล่าเซลล์ 100 บาท โดยที่มันสามารถลดค่าไฟฟ้าได้ 5 บาทต่อเดือน หรือ 60 บาทต่อปี ดังนั้น 100 บาท ตั้ง หารด้วย 60 บาทต่อปี
จุดคุ้มทุนก็คือ 1.67 ปี หรือราวๆ ปีครึ่งนั่นเอง
ในต่างประเทศอย่างสหรัฐอเมริกาจุดคุ้มทุนในการ
ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์บนหลังคาจะอยู่ราวๆ 9 - 12 ปี แต่ด้วยปัจจัยที่มีมากมายในการคำนวณ เช่น สิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าที่แตกต่างกันล้วนแล้วแต่
ส่งผลต่อจุดคุ้มทุนทั้งสิ้น
แล้วอะไรล่ะคือปัจจัยที่สำคัญในการคำนวณหาจุดคุ้มทุนที่แม่นยำกันแน่ ในบทความนี้ได้เรียบเรียงมาทั้งหมด
5 ปัจจัย ที่สำคัญ ดังนี้
1. หน่วยการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยต่อเดือน (kWh) ของบ้านคุณ
2. ราคาทั้งหมดของระบบโซล่าเซลล์
3. ส่วนลดทางภาษี (อันนี้ข้ามไปแล้วกันครับ)
4. พลังงานไฟฟ้า หรือหน่วยไฟฟ้า (kWh)
ที่ระบบโซล่าเซลล์ผลิตได้
5. ราคาค่าไฟฟ้าในปัจจุบัน
โดยขั้นตอนการคำนวณลำดับดังนี้
1. หน่วยการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยต่อเดือน (kWh) ของบ้านคุณ
ขั้นตอนแรกในการพิจารณาการคืนทุนจากการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ คือ การหาว่าระบบ
โซลาร์เซลล์ของคุณควรมีขนาดใหญ่เท่าไหร่
ขั้นตอนนี้คุณต้องดูการใช้ไฟฟ้าโดยเฉลี่ยของคุณ
จากนั้นค่อยทำการคำนวณหาขนาดของระบบพลังงานแสงอาทิตย์ที่ให้พลังงานเพียงพอต่อการใช้งานตลอดทั้งปีของบ้านคุณครับ
ตัวอย่าง
สมมติว่าบ้านคุณใช้ไฟฟ้าประมาณ 18,000 kWh ต่อปี (ดูได้จากบิลค่าไฟ) ตามข้อมูลของ PVWatts แผงโซลาร์เซลล์ 1 kW สามารถผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 1,700 kWh ต่อปี ดังนั้นให้เอา 18,000 kWh ต่อปี ตั้ง หารด้วย 1,700 kWh ต่อปี คุณจะได้ขนาดระบบประมาณ 10 kW
2. ราคาทั้งหมดของระบบโซล่าเซลล์
ขั้นตอนต่อไปคือการหาราคาระบบโซล่าเซลล์จากผู้รับจ้าง ตัวเลขต้องเป็นราคาสุทธิของการติดตั้งครับ ซึ่งเป็นตัวเลขที่เราจะใช้เพื่อเริ่มต้นหาระยะเวลาคืนทุน
ตัวอย่าง
เช่นในประเทศไทยค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของระบบพลังงานแสงอาทิตย์ภายในบ้านอยู่ที่ประมาณ 60 บาทต่อวัตต์
ซึ่งในข้อ 1 เราคำนวณขนาดได้ 10 kW ดังนั้นให้เอา 10 kW ตั้ง คูณด้วย 60 บาทต่อวัตต์ ก็จะได้ราคาติดตั้งประมาณ 600,000 บาท ครับ
3. ส่วนลดทางภาษี (ละไว้ในฐานที่เข้าใจแล้วกันครับ)
4. พลังงานไฟฟ้า หรือหน่วยไฟฟ้า (kWh) ที่ระบบโซล่าเซลล์ผลิตได้ ขั้นตอนนี้ค่อนข้างง่ายแต่สำคัญมาก
ตัวอย่าง
จากการคำนวณข้างต้นแผงโซลาร์เซลล์ 1 kW
นั้นสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 1,700 kWh ต่อปีโดยเฉลี่ย ให้เอาตัวเลข 1,700 kWh ต่อปี มาคูณกับขนาดระบบโซล่าเซลล์ของเรา 10 kW (1,700 kWh ต่อปี คูณ 10 kW ) จะได้พลังงานไฟฟ้าที่แผงโซล่าเซลล์ทั้งหมดผลิตได้ นั่นคือ 17,000 kWh ต่อปี
https://www.erc.or.th/ERCWeb2/default.aspx
5. ราคาค่าไฟฟ้าในปัจจุบัน
โดยทั่วไปแล้วในต่างประเทศจะมีการขึ้นราคาค่าไฟต่อหน่วยเป็นปรกติอยู่แล้ว แต่สำหรับประเทศไทยค่าไฟต่อหน่วยไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากเท่าไหร่ โดยเฉลี่ยแล้วค่าไฟมีค่าประมาณ 4 บาท/kWh
ตัวอย่าง
จากด้านบนพลังงานไฟฟ้าที่ระบบโซลาร์เซลล์ของเราผลิตได้ คือ 17,000 kWh ต่อปี หากนำตัวเลข 17,000 kWh ต่อปี คูณด้วยราคาค่าไฟฟ้า คือ 4 บาท/kWh
จะออกมาเป็นตัวเลขค่าไฟฟ้าที่เราสามารถประหยัดได้ต่อปี คือ 68,000 บาทต่อปี
สุดท้ายคำนวณหาจุดคุ้มทุน โดยการเอาราคาติดตั้งรวมทั้งระบบโซล่าเซลล์ หารด้วย ค่าไฟฟ้าที่เราสามารถประหยัดได้ต่อปี ในกรณีนี้คือ 600,000 บาท หารด้วย 68,000 บาทต่อปี ดังนั้นจุดคุ้มทุน ก็คือ 9 ปี
จะเห็นได้ชัดว่า หากคุณเป็นคนทำงานที่บ้าน หรือมีผู้สูงอายุที่ส่วนใหญ่ใช้ไฟฟ้าเวลากลางวัน การติดตั้งโซล่าเซลล์จะมีจุดคุ้มทุนที่ไวมากขึ้นครับ อย่างไรก็ตามหากคุณต้องทำงานนอกบ้าน หรือไม่ค่อยอยู่บ้านเวลากลางวันคงต้องรอให้ราคาติดตั้ง (บาท/kW) ลดลงก่อนถึงจะมีคุ้มทุนที่เหมาะสมครับ
*****ตัวเลขเป็นเพียงการสมมุติ
ผู้สนใจควรศึกษาตัวเลขให้ดี*****
https://www.erc.or.th/ERCWeb2/default.aspx#&muid=36
โฆษณา