16 ม.ค. 2021 เวลา 16:21 • ธุรกิจ
การประกาศชัยชนะของทางการจีนในการ crack down ธุรกิจ P2P lending - ปัญหาที่ยาวนานยืดเยื้อ (ตอนที่ 1)
.
ปลายปี 2020 วันประกาศชัยชนะ
.
“We have continued to clean up and consolidate, and by mid-November the actual operating P2P lenders had all been zeroed out...” จากคำกล่าวของคุณ Guo Shuqing ผู้กำกับดูแล ในงาน Singapore FinTech Festival ปีนี้จากสื่ออย่าง The Wall Street Journal แสดงถึงการประกาศชัยชนะของทางการจีนในการ crack down ธุรกิจในลักษณะของ P2P lending
.
ก็น่าสนใจที่จะกลับมาพิจารณาดูว่า กรณีที่เกิดขึ้นกับธุรกิจ P2P lending ในประเทศจีน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ ให้บทเรียนอะไรกับเราบ้าง?
.
จาก 50 ไป 6,000 กลับมาที่ 0
.
การประกอบธุรกิจในลักษณะดังกล่าวปรากฏในประเทศจีนครั้งแรกในปี 2006 โดยแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า creditease.cn (Yi Xin) ต่อมา จากสถิติของจำนวนแพลตฟอร์ม P2P lending ในประเทศจีนนั้น จำนวนของแพลตฟอร์มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในระหว่างปี 2011-2015 จากช่วงเริ่มต้นที่ประมาณ 50 แพลตฟอร์ม เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากตั้งเเต่ปี 2013 (ในช่วงที่ทางการจีนให้ความสำคัญกับแนวนโยบายเกี่ยวกับ internet finance เพื่อใช้ในการเร่งการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ) ถึงกว่า 6,000 แพลตฟอร์มในช่วงพีคปี 2015
.
ตามมาด้วย การทยอยปิดตัวลงของแพลตฟอร์มในปี 2018 จนมาถึงวันที่ทางการจีนประกาศชัยชนะกับการประกอบธุรกิจ P2P lending ในช่วงปลายปี 2020 – ที่กล่าวได้ว่าจำนวนของแพลตฟอร์ม P2P lending ในประเทศจีนนั้นเท่ากับศูนย์ ในกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา (ข้อมูลจาก China Daily)
.
เกิดอะไรขึ้นกับธุรกิจ P2P lending ในประเทศจีนกันแน่?
.
ในตอนต้นนั้น สินเชื่อออนไลน์ได้รับความนิยมในประเทศจีน โดยมีหลายปัจจัยหนุนให้ธุรกิจดังกล่าวเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งในแง่ของจำนวนแพลตฟอร์ม และในส่วนของมูลค่าของการทำธุรกรรม (transaction volume) ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยในเรื่องของการเกิดขึ้นของวิธีการในการชำระเงินในรูปแบบใหม่ (การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านทาง AliPay WeChat Pay) ที่ส่งผลในแง่ของการเปลี่ยน mindset ของคนทั่วไปเกี่ยวกับแพลตฟอร์มดิจิทัล ปัจจัยเกี่ยวกับกรอบกฎเกณฑ์ว่าด้วยสินเชื่อ-การกู้ยืม อีกทั้งปัจจัย-ปัญหาเกี่ยวกับการเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากธนาคารพาณิชย์ ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก หรือธุรกิจเอกชนที่ไม่ใช่ state-owned enterprise ประกอบกับข้อเสนอของผู้ประกอบการธุรกิจ P2P lending เองที่มักจะกำหนดไว้ว่า นักลงทุนจะได้รับค่าตอบแทน 8-12% เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สนับสนุนให้เกิดการเติบโตของ P2P lending ในประเทศจีนเป็นไปอย่างรวดเร็ว
.
หลายปีที่ผ่านมา ธุรกิจในลักษณะของ P2P lending นั้นเกิดขึ้นในลักษณะของการเป็นนวัตกรรมทางการเงินที่เข้ามาสนับสนุน ส่งเสริม การเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้กับภาคเอกชนหรือธุรกิจขนาดเล็ก ที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากธนาคารของรัฐ (state-owned banks) ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญในประเทศจีนเองที่ธนาคารของรัฐนั้น มักจะให้สินเชื่อต่อรัฐวิสาหกิจ (stated-owned enterprises)
.
concept เบื้องต้น
.
โดยหลักเเล้วธุรกิจ P2P lending อาจแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท โดยทั่วไปแล้วแพลตฟอร์ม P2P lending จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่สนับสนุนการทำธุรกรรมการกู้ยืมระหว่างผู้กู้ และผู้ให้กู้ หรือนักลงทุน ในลักษณะของการจับคู่กันระหว่างสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งมีความประสงค์ที่จะลงทุน (looking to invest) และอีกฝ่ายหนี่งที่มีความประสงค์ที่จะหาเงินทุน (looking for funding) โดยมักจะมีข้อเสนอในลักษณะของการการันตีผลตอบแทนที่เป็นสัดส่วนที่สูงกว่าดอกเบี้ยที่อาจจะได้รับจากการฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์ทั่วไปแก่นักลงทุน สำหรับการลงทุนในระยะสั้น (short-term investments) – อาจถูกเรียกรวมๆ ว่า FinTech credit ที่หมายความถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่เกี่ยวกับสินเชื่อผ่านทางแพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอ้างอิงจากรายงานของ Bank of International Settlement (BIS) แพลตฟอร์มที่ประกอบธุรกิจในลักษณะดังกล่าวนี้อาจจะถูกเรียกชื่อต่างกันไป เช่น P2P lenders, loan-based crowdfunders, marketplace lenders เป็นต้น (ต้องตั้งข้อสังเกตว่า fintech credit entities ภายใต้คำนิยามของ BIS นี้ จะมีการใช้นวัตกรรม หรือเทคโนโลยีในการติดต่อ ประสานกับลูกค้าของแพลตฟอร์มทางออนไลน์ อีกทั้งยังมีการใช้เทคโนโลยีในการประมวลผลข้อมูลของลูกค้าเป็นจำนวนมาก) แต่อย่างไรก็ดีเนื่องจากการดำเนินการของธุรกิจ P2P lending อาจจะต่างออกไปจากธนาคารพาณิชย์ มีผลทำให้กรอบกฎเกณฑ์ที่นำมาปรับใช้กับธุรกิจในลักษณะของ P2P lending นั้นอาจจะไม่ตกอยู่ภายใต้กรอบกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลความมั่นคงของสถาบันการเงิน (prudential regulations)
.
แม้ว่าการพัฒนาอย่างรวดเร็วของ FinTech credit อาจนำมาซึ่งโอกาสในหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการเพิ่มการเข้าถึงบริการทางด้านการเงิน (financial inclusion) และทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้น แต่โอกาสก็มาพร้อมกับความท้าทาย ความท้าทายในการที่จะคงไว้ซึ่งการคุ้มครองผู้บริโภคและนักลงทุนที่เพียงพอ ผ่านการออกกฎเกณฑ์ เช่น ในเรื่องของใบอนุญาต และการกำหนดหน้าที่ที่แพลตฟอร์ม (หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง) จะต้องปฏิบัติ ปัญหาของการปิดตัวลงของแพลตฟอร์มในประเทศจีน เป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงความท้าทาย และบทเรียนดังกล่าวนี้ได้เป็นอย่างดี
1
โฆษณา