17 ม.ค. 2021 เวลา 09:15 • ธุรกิจ
Y-Combinator: โรงเรียนที่ปั้นสตาร์ทอัพมูลค่ารวมล้านล้านบาท
ถ้าพูดถึงโรงเรียน ทั่วไปเเล้วจุดสูงสุดอาจจะเป็นการได้รับเกรด 4.00
เเต่ถ้าผมบอกว่าโลกนี้มีโรงเรียนที่สอนวิชา "ธุรกิจ" ที่นักเรียนที่ประสบความสำเร็จ คือการได้นำไอเดียพวกนั้นมาเปลี่ยนแปลงโลก หรือ นำไอเดียมาต่อยอดเป็นบริษัทเเละเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้กันละ !
วันนี้ ThaiTechTalk จึงอยากพาผู้อ่านที่น่ารักทุกท่านมารู้จักกับ Startup Incubator (โรงเรียนสอนสตาร์ทอัพ) ชื่อดังเเห่งหนึ่งนามว่า  "Y COMBINATOR" ที่ได้ปั้นบริษัท startup ที่สบความสำเร็จมากมายไม่ว่าจะเป็น Dropbox , AirBnB, Twitch , Coinbase , Stripe เเละอีกมากมายนับไม่ถ้วยซึ่งถ้ารวมมูลค่าบริษัทเหล่านี้ในปี 2019 จะมีมูลค่ารวมทั้งสิ้นถึง 155 billion US dollar เลย!!
ที่เเห่งนี้จะเป็นยังไงเชิญอ่านกันได้เลยคับบ
ย้อนกลับไปในช่วงปี 1998 นักศึกษาปริญญาเอกสาขาคอมพิวเตอร์วัย 30 ปีนามว่า พอล เกรแฮม พึ่งจะขายบริษัท startup ของเขา(เวียร์เว็บ) ให้กับบริษัท Yahoo เเละได้เงินมาในปริมาณที่เรียกว่ามากพอจนเขาไม่ต้องทำงานอีกต่อไปเเล้ว
ภายหลังที่ทำงานให้กับ Yahoo อยู่ไม่นานเขาก็ปิ้งไอเดียที่จะสร้างโรงเรียนสอน startup โดยสอนทักษะ วิชาที่จะทำให้ผู้ประกอบการที่เรียนกับเขาไม่ต้องผิดพลาดอย่างที่เขาล้มลุกคลุกคลานมา เขาจึงออกจาก yahoo เเละจุดเริ่มต้นของ Y-combinator (ย่อว่า YC) จึงเริ่มต้นขึ้น
YC นั้นก่อตั้งขึ้นในพื้นที่ๆน่าเบื่อเเละเงียบสงบเเถวชานเมืองซานฟราซิสโกเเถบซิลิคอนวัลเลย์ ในเมืองเมาน์เทนวิว รูปแบบของ YC คือทุกๆปี จะมีการเปิดรับสมัครทีมเข้าร่วมสองครั้งในช่วงหน้าร้อนเเละหน้าหนาว โดยจากทีมที่เข้าสมัครกว่า 2000 ทีมทั่วโลก YC จะคัดเหลือเพียง 80-100 ทีมต่อปี (ประมาณ 9%) เพื่อที่จะเข้าสู่โปรเเกรมต่อไปผ่านการสัมภาษณ์
โดยทีมที่เข้ามาในโปรเเกรมจะมีข้อผูกมัด 1 อย่างนั้นคือทุกทีมจะต้องให้หุ้น 7% เเก้ YC โดยเเลกกับเงิน 11000-20000 $ (3-6 เเสนบาท) ซึ่งตัวโครงการจะกินเวลา 3 เดือนสำหรับสร้างผลิตภัณฑ์เเละจบลงด้วยการนำเสนอเเก่นักลงทุนหรือที่เรียกว่า (Demo Day : วันสาธิต) ซึ่งระหว่างที่อยู่ในโปรเเกรมทุกทีมสามารถที่จะขอรับคำปรึกษากับ พอล รวมไปถึงเหล่ากุนซือที่มากด้วยประสบการณ์เกี่ยวกับ startup ได้ตลอด
เเล้วทำไม startup ทั่วโลกถึงอยากเข้ามาใน YC กันละ ?
จริงๆเเล้วนอกจากการที่ YC จะมีทีมผู้เชี่ยวชาญในการให้ความช่วยเหลือ startup เเล้วนั้น จุดเด่นที่สำคัญของ YC คือชื่อเสียงอันเลื่องชื่อของ YC ในทุกๆรุ่นที่ประสบความสำเร็จมานับไม่ถ้วน ที่สามารถดึงดูดเม็ดเงินจากเเหล่งลงทุนรายใหญ่
1
ซึ่ง YC นั้นมีลูกค้าประจำนั้นคือกองทุนเซควอญ่า(Sequoia Capital) ที่ลงทุนใน แอปเปิล ยาฮู เเละกูเกิลมาเเล้ว ส่งผลให้ starup ที่อยู่ในโครงการนี้เพิ่มโอกาศ*ในการประสบความสำเร็จอย่างมาก (เเต่ก็ยังไม่ถึง 5% อยู่ดี *)
โดยนอกจาก YC นั้นก็มีบริษัทมากมายที่ก่อตั้งโรงเรียนสตาร์ทอัพขึ้นมาไม่ว่าจะเป็น บริษัท 500 , TechStar โดยจะมีคอนเซปที่คล้ายๆ YC นั้นเอง ซึ่งในประเทศไทยของเราก็มี Incubator ชื่อดังอธิเช่น 500 tuktuk , AISaccelerator
สุดท้ายเเล้วโรงเรียนสตาร์ทอัพนั้นถือเป็นจิ๊กซอชิ้นสำคัญมากใน eco-system ของ startup เพราะบ่มเพาะวงจรของ startupตั้งเเต่ การตั้งไอเดีย  การสร้างธุรกิจ เเละการหาเงินทุน ซึ่งในไทยก็มีการเติบโตในส่วนนี้มากขึ้นเรื่อยๆทุกๆปี ไม่เเน่เราอาจจะได้เห็น อีลอน มัสก์คนใหม่เกิดขึ้นในไทยก็เป็นได้คับบ !!!
เขียน โดย  Sam
อ้างอิง : Y Combinator - Wikipedia,How Y Combinator Started - Business Insider
หนังสือ : ขโมยวิธีคิดสุดเจ๋ง จากสุดยอดโรงเรียนสอนสตาร์ทอัพ
โฆษณา