17 ม.ค. 2021 เวลา 12:00 • ไลฟ์สไตล์
จงลืมกฎ 10,000 ชั่งโมงไปซะ!
เพราะกฎที่ควรจำ คือ 10,000 การทดลอง!
1
ทอม เกิดปี ค.ศ. 1847 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ในครอบครัวชนชั้นกลาง
เด็กชายทอมในวัย 8 ขวบได้เริ่มเข้าเรียนในโรงเรียน ที่ระบบการศึกษาในยุคนั้นยังคิดว่าเด็กเป็นหุ่นยนต์ ที่ต้องมีระเบียบวินัย และเชื่อฟังคำสั่งของครูผู้สอน
เด็กชายทอม เรียนได้เพียง 3 เดือนเท่านั้น เด็กน้อยทนไม่ค่อยจะไหวที่จะนั่งนิ่งๆ ฟังคุณครูสอน
บ่อยครั้ง เด็กชายทอม ไม่ได้ฟังคุณครูเลย จนโดนดุด่าว่าเป็นเด็กแสนทึ่ม
คุณแม่ของทอม ก็ทนไม่ไหวเหมือนกัน เลยพาลูกออกจากโรงเรียนซะเลย สอนลูกด้วยตัวเองที่บ้านยังจะดีซะกว่า...
---------------------
คุณแม่ของทอม มีความรู้ดีพอตัว และได้สอนให้ทอมรู้จักวิชา “ปรัชญาธรรมชาติ” ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกวิชาวิทยาศาสตร์ในยุคศตวรรษที่ 19 และสอนวิชาเคมให้ทอม ซึ่งเป็นวิชาที่ทอม ชื่นชอบมาก
คุณแม่ของทอม กระตุ้นให้ทอมทำการทดลอง เรียนรู้ด้วยตัวเองอย่างอิสระที่ใต้ถุนบ้านของพวกเขา
ทอมอ่านหนังสือ และทำการทดลองทางเคมี อย่างสนุกสนาน ภายใต้การดูแลของคุณแม่
เมื่อเติบโตขึ้นมา ทอมได้มีโอกาส รู้จักกับเครื่องโทรเลข เรียนรู้วิธีการเขียนรหัสมอร์ส และได้มีโอกาสทำงานร่วมกับนักประดิษฐ์ชั้นนำหลายคน
จนในที่สุดเขาก็ประสบความสำเร็จในการคิดค้นเครื่องมือต่างๆ ที่มีคุณประโยชน์ ต่อโลก ไม่ว่าจะเป็น Phonograph หรือ เครื่องบันทึกเสียงเครื่องแรกของโลก หรือเทคโนโลยีบันทึกภาพเคลื่อนไหว ที่เป็นพื้นฐานของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในยุคต่อมา
แต่สิ่งที่ทำให้ให้ผู้คนจดจำทอม ได้ดีที่สุดก็คือ เขาได้รับการยกย่องให้เป็นผู้คิดค้น “หลอดไฟ” ในนาม “Edison Bulb”
---------------------
ใช่แล้วว่า เด็กชายทอม ที่ว่าก็คือ โทมัส อัลวา เอดิสัน
หลายคนน่าจะพอทราบว่า จะเรียก เอดิสัน ว่าเป็นผู้คิดค้น “หลอดไฟ” ก็คงไม่ถูกต้องซะทีเดียว
โดยก่อนปี ค.ศ. 1878 ที่เอดิสันจะประสบความสำเร็จกับการทดลองหลอดไฟของเขานั้น มีนักประดิษฐ์กว่า 23 คนที่พยายามคิดค้นหลอดไฟแบบไส้
สิ่งประดิษฐ์ที่มีในท้องตลาดคือ ไส้หลอดอยู่ได้เต็มที่แค่ 10 นาที ไส้หลอดไฟก็จะขาด สุดท้ายไปจุดตะเกียง หรือใช้เทียนไข ยังจะดีซะกว่า
แต่เอดิสัน และทีมงานของเขา ได้พยายามทุ่มเททำการทดลองครั้งแล้วครั้งเล่า เป็นหลายพันครั้ง จนในท่สุดในปีต่อมา เอดิสัน ก็ประสบความสำเร็จ ในการยืดอายุไส้หลอดไฟ จากหลัก “นาที” ให้กลายเป็น “ชั่วโมง”
1
มีคำกล่าวของเอดิสัน ที่หลายๆ คนน่าจะรู้จักกันดีก็คือ
“ผมไม่นับว่าการทดลองเป็นความล้มเหลว แต่ผมแค่ค้นพบวิธี 10,000 วิธีที่มันล้มเหลว แค่นั้นเอง”
5
---------------------
เพื่อนๆ คงเคยได้ฟัง เรื่องกฎ 10,000 ชั่งโมง ที่สรุปประมาณว่า ความเป็นเลิศในด้านใดด้านหนึ่งเกิดจากการทำสิ่งนั้นต่อเนื่อง 10,000 ชั่วโมง
2
แต่จริงๆ แล้วมีผลการศึกษาว่า การทำสิ่งเดิมๆ ซ้ำ 10,000 ชั่วโมง ส่งผลต่อความสำเร็จที่แตกต่างกันในแต่ละสาขาอาชีพ...
1
โดยหากเราดู % หรือโอกาส ที่การทำสิ่งเดิมซ้ำๆ จะทำให้ทำสิ่งนั้นได้เก่งขึ้นกว่าคนทั่วไป ก็จะพบว่า
- การเล่นเกมส์: 26%
- ดนตรี: 21%
- กีฬา: 18%
- การศึกษา: 4%
- และธุรกิจ เพียง 1% เท่านั้น
1
หมายความว่า การทำให้เกิดความชำนาญนั้น มีความสำคัญ แต่ก็ไม่ได้สำคัญมากขนาดกฎ 10,000 ชั่วโมง โดยเฉพาะโลกแห่งธุรกิจ...
เจฟฟ์ เบซอส แห่ง Amazon เคยให้สัมภาษณ์เอาไว้ว่า “ความสำเร็จของ Amazon แปรผันตาม จำนวนครั้งที่เราทำการทดลอง ต่อปี ต่อเดือน ต่อสัปดาห์ ต่อวัน...”
ข้อมูลจาก Fast Company ในปี ค.ศ. 2016 พบว่า บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ ทำการทดลองต่อปี ในปริมาณที่เราอาจคิดคิดไม่ถึง
- Amazon 2,000 ครั้งต่อปี
- Netflix 1,000 ครั้งต่อปี
- Google 7,000 ครั้งต่อปี
- Facebook มากกว่า 100,000 ครั้งต่อปี
วิธีการและแนวคิดของ โทมัส อัลวา เอดิสัน ในยุคนั้น น่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้ คนดังในยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น เจฟฟ์ เบซอส, มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก, หรือ อีลอน มัสก์
เคล็ดลับความสำเร็จของบุคคลเหล่านั้น ที่ได้ทำให้ทุกคนเห็นไม่ใช่การทำซ้ำเดิม “10,000 ชั่วโมง” จนชำนาญ
แต่เป็นการทดลอง “10,000 ครั้ง” จนเจอสิ่งที่ใช่ ต่างหาก...
---------------------
และยิ่งสำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพแล้ว ก็คงไม่มีเงินพอที่จะอยู่รอด ทำสิ่งเดิมซ้ำถึง 10,000 ชั่วโมง แน่ๆ
แต่สิ่งที่ควรทำก็คือ ทำการทดลอง ย่อยๆ หลายๆ ครั้ง ทดสอบหลายๆ ไอเดีย เมื่อเห็นว่าทางไหนพอมีแสงสว่าง ก็ค่อยโฟกัส ไปที่จุดนั้น...
ทำจนกว่าจะสามารถเอาชนะสิ่งที่เราเคยทดลอง ไว้ก่อนหน้าให้ได้
หากใครเคยดูหนัง “The Current War” เป็นการแข่งขันชิงเจ้ายุทธภพแห่ง ระบบการจ่ายไฟฟ้า ระหว่าง ทอม เอดิสัน แห่งค่ายไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current) และ นิโคล่า เทสล่าที่จับมือกับ จอร์จ เวสติงเฮ้าส์ แห่งค่ายไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current-AC)
1
ช่วงใกล้จบของหนังเรื่องนี้ มีฉากหนึ่งที่ “จอร์จ” ถาม “ทอม เอดิสัน” ว่า “รู้สึกยังไง” ตอนที่ทอมสามารถประดิษฐ์หลอดไฟที่อยู่ได้นานได้สำเร็จ
นี่คือ สิ่งที่ทอมตอบจอร์จ
“ผมบอกคุณไม่ได้ มันเป็นความรู้สึกที่บรรยายไม่ถูก เพราะมันเป็นไปไม่ได้...”
2
“คุณทำมาหลายปี ใช้ไส้ในต่างกัน 10,000 ตัว เมื่อเส้นด้ายเข้าไปในหลอดไฟเหมือนทุกครั้งเราวางเดิมพัน”
แล้วเครื่องปั่นไฟทำงาน แล้วหลอดไฟก็เริ่มสว่าง
“เราไม่ได้คาดหวังอะไรนอกจากความล้มเหลวอีกครั้ง...”
จากนั้นบางอย่างก็เกิดขึ้น “ไส้ในที่ดีที่สุดของเราอยู่ได้ 10 นาที ความบังเอิญนี้อยู่ได้ 20 นาที...ผู้คนเริ่มคุยกัน...”
1
แล้วก็ 30 นาที 40 นาที 1 ชั่วโมง 2 ชั่วโมง จากนั้นเราก็เริ่มตะโกน เพราะเราจำได้ว่าเราไม่เคยผ่าน 10 นาที
“หนุ่มๆ ปีนขึ้นไปยนกำแพงฉีกทึ้งผมตัวเอง เพราะ มันเคยเป็นไปไม่ได้...”
7 ชั่วโมง 8 ชั่วโมง 9…เราเงียบกริบตอนที่มันถึง 10 เรานั่งล้อมหลอดไฟเรืองแสงดวงนั้น งงงวยในมนตร์ของเรา
1
“เราจ้องมันราวกับ...ไม่รู้สิ เหมือนพระเจ้าตอนทารกกำลังเล่นโมซาร์ท”
หลังจาก 13 ชั่วโมงครึ่ง...หลอดแก้วแตก
“และผมก็รู้ว่าโลกจะไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว…”
เปลี่ยนจากการทำเรื่องเดิมซ้ำ มาทำการทดลองให้โลกได้พบเจอสิ่งใหม่ๆ ให้เป็นโลกที่ดีกว่าเดิม
1
เหมือนอย่างที่ ทอม เคยทำให้เห็นเอาไว้แล้ว...
หากเพื่อนๆ มีเรื่องราวความล้มเหลว ส่งมาแชร์กันได้ใน inbox เลยนะ
และกดติดตาม Add Favorites เพจ "The Sandbox ล้มไม่น็อค ช็อคไม่ตาย" กันเอาไว้ได้เลย เพื่อไม่ให้พลาดเรื่องราวดีๆ
#10000experiments
#TheSandboxTH
#ThomasAlvaEdison
โฆษณา