17 ม.ค. 2021 เวลา 12:24 • ปรัชญา
วิทยาศาสตร์และ 'การขายของ'
วิทยาศาสตร์เริ่มจากการสังเกตและทดลอง การขายของก็เช่นกัน
สังเกตว่าอะไรน่าจะตอบโจทย์ลูกค้าและทดลองขาย
-เมื่อพูดถึง ‘วิทยาศาสตร์’ แน่นอนล่ะทุกคนย่อมคิดถึงทฤษฎี ความเป็นเหตุเป็นผล หรืออะไรที่ดูวิชาการ เข้าใจยาก และบางเรื่องก็ดูเป็นอะไรที่ไกลตัวไป แต่จริง ๆ แล้วนั้นความเป็นวิทยาศาสตร์มันซ่อนอยู่ใน
ศาสตร์ทุกแขนง
.
-วิทยาศาสตร์ หรือภาษาอังกฤษคือคำว่า ‘Science’ ซึ่งมาจาก scientia เป็นภาษาละตินแปลว่า ‘ความรู้’ การขายก็เป็นศาสตร์แห่งความรู้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในกระบวนการบริหารทุน หากำไร ไปจนถึงความรู้ในสินค้าที่ออกขาย
.
-นอกจากนี้ศาสตร์แขนงต่าง ๆ ในวิทยาศาสตร์ยังนำเข้ามาปรับกับการขายด้วย อย่างเช่น จิตวิทยา วิทยาการคอมพิวเตอร์ (เทคโนโลยี หรือ data ต่าง ๆ) หรือฟิสิกส์ (อย่างเช่นในเรื่อง ‘กลศาสตร์’ ที่นำมาปรับใช้ในการคำนวณการขนส่ง)
.
-และเมื่อมองไปถึง ‘กระบวนการทางวิทยาศาตร์’ เราสามารถนำมาเทียบเคียงกับการขายได้ โดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นั้นมีนักวิทยาศาสตร์หลายคนได้ให้คำนิยามไว้ต่างกันไป
.
-แต่จุดร่วมใหญ่ ๆ นั้นมี 6 ขั้นตอนด้วยกัน เมื่อนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาเปรียบเทียบกับกระบวนการเริ่มขายของจะได้ออกมาดังนี้
.
ขั้นตอนที่ 1 : สังเกต
.
-การสังเกตเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของหลาย ๆ สิ่ง ถ้าไอแซค นิวตันสังเกตเห็นลูกแอปเปิ้ลตกจากต้น ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของการค้นพบแรงโน้มถ่วง ในการขายก็เหมือนกัน
.
-เริ่มสังเกตว่าตอนนี้ในตลาดอะไรกำลังเป็นที่นิยม คนชอบอะไรบ้าง อย่างเช่น ทำไมร้านนี้ถึงมีคนต่อคิวยาวเป็นพิเศษ บะหมี่นิสชิน ก็ถือกำเนิดขึ้นมาเพราะการสังเกตเช่นกัน โมะโมะฟุกุ อันโด สังเกตเห็นว่าในหน้าหนาวนั้นคนมาต่อคิวซื้อบะหมี่กินเป็นแถวยาว
.
ขั้นตอนที่ 2 : ตั้งปัญหา
.
-การตั้งปัญหาจะเป็นขั้นที่ต่อเนื่องมาจากการสังเกต ในโลกของการขายนั้นการตั้งคำถามคือบ่อเกิดของอะไรหลาย ๆ อย่าง เช่น ทำไมคนถึงชอบกินหมูกระทะ อะไรทำให้หมูกระทะเป็นที่นิยม
.
- เราจะหาทำเลขายหมูกระทะที่ไหน ขายหมูกระทะอย่างไรให้ได้กำไร เป็นต้น ถ้าไม่ตั้งคำถามก็จะไม่ได้คำตอบ
.
ขั้นตอนที่ 3 : ตั้งสมมุติฐาน
.
-การตั้งสมมุติฐานเหมือนเป็นการคาดเดาผลลัพธ์ที่เกี่ยวเนื่องมาจากการสังเกตก่อนหน้า เช่น เมื่อเราสังเกตเห็นว่าคนเข้าร้านหมูกระทะมาก แล้วอยากลองขายหมูกระทะบ้าง
.
-จึงเกิดคำถามที่ว่า จะขายหมูกระทะอย่างไรให้ได้กำไร นำมาสู่การตั้งสมมุติฐานว่า ขายหมูกระทะที่ใกล้แหล่งออฟฟิศน่าจะทำให้ได้กำไรงาม
.
ขั้นตอนที่ 4 : ทดลอง
.
-การทดลองนั้นจะเป็นการพิสูจน์ว่าสมมุติฐานที่เราตั้งเอาไว้ ว่าจริง ๆ แล้วการเลือกทำเลขายหมูกระทะที่อยู่ใกล้แหล่งออฟฟิศนั้นจะทำให้เราได้กำไรจริง ๆ หรือไม่ ด้วยการเปิดร้านจริง ๆ ก็คือลงมือทำนั่นเอง
.
ขั้นตอนที่ 5 : วิเคราะห์
.
-หลังจากทำการทดลองก็คือการขายหมูกระทะไปแล้ว เราก็จะพบว่าสมมุติฐานที่เราตั้งไว้มันใช่หรือไม่ อย่างเช่น ถ้าพนักงานออฟฟิศแถวย่านนั้นชอบกินหมูกระทะก็มากินที่ร้านเราเยอะขายได้กำไร ก็แปลว่าเรามาถูกทาง
.
-แต่ถ้าขายไปแล้วเจ๊งไม่มีคนเข้า ก็แสดงว่ามันไม่ได้อยู่ที่ทำเลแล้ว ต้องมีอะไรผิดพลาด ไม่ว่าจะเป็นอาหารไม่สด ไม่หลากหลาย หรือราคาแพงไป ก็มีได้หลายประเด็น
.
ขั้นตอนที่ 6 : สรุปผล
.
-เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่เราะได้มาจากการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงการทดลองนั่นคือการขาย และปัจจัยต่าง ๆ ที่เข้ามามีส่วนพัวพันในยอดขายของเรา เราก็จะสรุปได้ว่าที่จริงแล้วเราขายดีเพราะอะไร หรือขายไม่ดีเพราะอะไร
-วิทยาศาสตร์จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม สามารถนำมาปรับใช้ในเรื่องต่าง ๆ รอบตัวไม่เว้นแม้แต่การขาย แต่เป็นการถอดเอาวิธีการออกมาปรับใช้ อาจทำให้มองอะไรต่าง ๆ ได้ชัดและมีความคิดที่เป็นระบบมีเหตุผลมากขึ้น การขายมันก็เป็นการนำเอาศาสตร์และศิลป์มาปรับใช้
โฆษณา