20 ม.ค. 2021 เวลา 10:00 • หนังสือ
มนุษย์เศรษฐศาสตร์ vs มนุษย์อารมณ์ (3)
ความยุติธรรม (fairness)
จากโพสต์ที่แล้ว https://www.blockdit.com/posts/600101912c434c0cdfc2a77d ทิ้งคำถามไว้ว่า ความแฟร์ มันคืออะไรกัน?
ว่าแต่...คุณคิดว่า
การที่ "Mark Zuckerberg" มีทรัพย์สินมากกว่า 20 ล้านล้านบาท นี่มันแฟร์ไหม?
แล้วการที่ "พระราชินีเอลิซเบธที่ 2 แห่งราชวงศ์อังกฤษ" ทรงมีทรัพย์สินมากกว่า 13,000 ล้านบาท นี่มันแฟร์หรือเปล่า?
แล้ว "เพื่อนร่วมงาน" ของคุณ ทำงานเหมือนกัน นั่งอยู่ด้วยกัน ปีนี้เขาได้ประเมินคะแนนสูงกว่าคุณ เลยได้เงินเดือนเพิ่ม 500 บาท แต่คุณไม่ได้นะ เพราะคะแนนน้อยกว่า คุณว่าแฟร์ไหม???
ก่ำกึ่งอยู่นะ...ทำไมเพื่อนได้แต่เราไม่ได้อะ
แฟร์หรือเปล่า?
ในทางธุรกิจ เราพบหลายการตัดสินใจที่ดูเหมือนจะไม่แฟร์มากๆ
เมื่อเราใช้ "Reference Transaction" เอามาประกอบการพิจารณา
เช่น ร้านถ่ายเอกสารของเฮียปุย จ้างลูกจ้างวันละ 400 บาท ทำงานมากว่าครึ่งปี
ต่อมา เศรษฐกิจไม่ค่อยดี โรงงานแถวนั้นเลิกจ้างคนงาน มีคนว่างงานเยอะมากขึ้น
ร้านถ่ายเอกสารละแวกใกล้ๆ จึงจ้างพนักงานใหม่ในอัตราค่าจ้าง วันละ 350 บาท
เฮียปุยเลยจะให้ค่าจ้างลูกจ้างที่ร้าน 350 บาท
"เฮียปุยแฟร์ปะ?" ลูกจ้างกลับไปจิบเบียร์พร้อมปรับทุกข์ที่บ้านพักกับเพื่อนๆ
เพื่อนๆ กระดกเบียร์หมดแก้วแล้วถามว่า "ยังไงนะ ตะกี้ดื่มอยู่ หูดับ?" 555+
อะ...เอาใหม่ๆ
ร้านถ่ายเอกสารของเฮียป้อม จ้างลูกจ้างวันละ 400 บาท ทำงานมากว่าครึ่งปี
ต่อมา เศรษฐกิจไม่ค่อยดี โรงงานแถวนั้นเลิกจ้างคนงาน มีคนว่างงานเยอะมากขึ้น
ฉับพลัน ลูกจ้างของเฮียป้อมขอลาออกกลับไปทำนา เพราะข้าวราคาดี
เฮียป้อมเลยต้องหาลูกจ้างใหม่
และจ้างคนใหม่ในอัตราค่าจ้าง วันละ 350 บาท
"เฮียปุยแฟร์ปะ?"
จากการใช้ reference transaction มาเป็นตัวตัดสินว่าการกระทำใดแฟร์หรือไม่
คนส่วนมากมักเห็นว่า
เฮียปุ้ยไม่แฟร์ เพราะมันมีตัวเลขอ้างอิงเดิมของลูกจ้างคนนี้
แบบเห็นๆ เลยว่า ลูกจ้างได้ค่าจ้างลดลง
ในขณะที่เฮียป้อมกับลูกจ้างใหม่นั้นต่างไป...
เราไม่รู้เลยว่าลูกจ้างคนใหม่มีรายได้เดิมมาให้อ้างอิงกี่บาท
ดังนั้น เฮียป้อมจะให้เท่าไหร่ก็ไม่เกี่ยวนี่นา...แฟร์ออก
นอกจาก reference transaction แล้ว
ยังมีไอเดียของ "การที่เจ้าของกิจการทำให้ตนไม่ขาดทุน" เป็นเรื่องที่โอเค
แต่ถ้า "เจ้าของกิจการทำให้ตนได้กำไรเพิ่ม" กลับเป็นเรื่องที่ไม่แฟร์
รวมถึง Framing Effect "ความไม่แฟร์จากการที่ถูกวางกรอบไว้"
ทั้งๆ ที่เป็นการกระทำที่ส่งผลเหมือนกัน
แต่ผู้มองกลับเห็นว่าบางการกระทำนั้นช่างไม่แฟร์
บริษัท A ดำเนินกิจการมาอย่างยั่งยืน(หนึ่ง) คือลูกจ้างไม่มีที่ไปที่อื่นหรอก
ณ ตอนนั้น เงินเฟ้อ = 0% เศรษฐกิจฝืดๆ อีกนิดหนึ่ง
สิ้นปี บริษัท A ตัดเงินเดือนลูกจ้าง 7%
บริษัท B ดำเนินกิจการมาอย่างยั่งยืน(หนึ่ง) คือลูกจ้างไม่มีที่ไปที่อื่นหรอก
ณ ตอนนั้น เงินเฟ้อ = 12% เศรษฐกิจฝืดๆ อีกนิดหนึ่ง
สิ้นปี บริษัท A เพิ่มเงินเดือนลูกจ้าง 5%
จะตัวอย่างไหน ลูกจ้างล้วนเสียประโยชน์ 7% ทั้งนั้น
แต่คนส่วนมากกลับมองว่า บริษัท A นี่ไม่แฟร์
ก็เพราะคนมองว่า "การตัดเงินเดือน" เป็นการกระทำที่ไม่แฟร์
คุณว่าอย่างนั้นไหม?
โฆษณา