17 ม.ค. 2021 เวลา 15:37 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
นี่คือความหวังใหม่ในการรักษาผู้ป่วยอัมพาต
เมื่อทีมนักวิทยาศาสตร์สามารถรักษาหนูที่เป็นอัมพาตให้กลับมาเดินได้ใหม่อีกครั้ง
5
จากหนูขาลากสามารถกลับมาเดินได้สี่ขาอีกครั้ง
ผู้ป่วยอัมพาตที่เส้นประสาทในกระดูกสันหลังได้รับความเสียหายหรือฉีกขาดไปแล้วนั้น ปัจจุบันยังไม่มีวิธีใดที่จะทำให้ผู้ป่วยเหล่านั้นสามารถกลับมาควบคุมร่างกายส่วนที่เป็นอัมพาตได้อีกครั้ง
1
แต่นักวิทยาศาสตร์และแพทย์ก็ยังไม่ลดละความพยายามในการหาวิธีแก้ไขและรักษาผู้ป่วยอัมพาต
จนมาวันนี้ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Ruhr-Universität Bochum ในเยอรมันประสบความสำเร็จในการทำให้หนูพิการอัมพาตขาหลังให้กลับมาเดินได้อีกครั้ง
หนูน้อยได้กลับมาเดินสี่ขาได้อีกครั้ง
โดยวิธีการที่ทีมใช้นั้นอาศัยการตัดแต่งพันธุกรรมของสายโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบของสารพันธุกรรมที่เรียกว่า hyper-interleukin-6 ก่อนจะใช้ไวรัสในการนำส่งโปรตีนดังกล่าวเข้าไปยังกลุ่มเซลล์ประสาทเป้าหมายส่วนที่เรียกว่า motoneurons
8
ไวรัสเหล่านี้จะทำหน้าที่นำส่งรหัสพันธุกรรมไปยังเซลล์ประสาทเหล่านั้นทำให้พวกมันสามารถสร้างส่วนนำส่งสัญญาณประสาทที่เรียกว่า axon ขึ้นมาใหม่ได้อีกครั้ง
2
ซึ่งปกติแล้วเซลล์ประสาทที่เสียหายจะไม่สามารถสร้าง axon ขึ้นมาใหม่เองได้
4
axon อวัยวะสำคัญของเซลล์ประสาทที่ทำให้มันต่างจากเซลล์ประเภทอื่น ๆ ในร่างกาย
โดยการกระตุ้นให้เซลล์ประสาทซ่อมแซมตัวเองจนสามารถเชื่อมต่อเส้นประสาทที่เสียหายไปได้นั้น ไม่ได้ทำเฉพาะบริเวณที่เส้นประสาทในกระดูกสันหลังเสียหายอย่างเดียวเท่านั้น
2
หนึ่งจุดสำคัญคือการฉีดไวรัสนำส่งรหัสพันธุกรรมไปยังบริเวณเส้นประสาทที่เสียหาย
อีกหนึ่งจุดสำคัญนั้นต้องทำการกระตุ้นเซลล์ประสาทกลุ่ม motoneurons ในสมองส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวด้วย
4
ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นการเชื่อมต่อสัญญาณกับเซลล์ประสาทส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวที่อาจจะเสื่อมถอยลงหลังจากที่ไม่ได้รับสัญญาณกระตุ้นจากอวัยวะส่วนที่เป็นอัมพาตมานาน
2
อีกส่วนสำคัญที่ต้องกระตุ้นการเชื่อมต่อสัญญาณคือส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวที่อาจจะเสื่อมถอยลงหลังจากที่ไม่ได้รับการกระตุ้นจากอวัยวะส่วนที่เป็นอัมพาตมานาน
และหลังจากที่เหล่าหนูพิการเหล่านี้ได้รับการรักษาเพียง 2-3 สัปดาห์ ผลลัพธ์ที่ได้นั้นสร้างความประหลาดใจให้กับทีมมากทีเดียวเพราะพวกมันสามารถกลับมาเริ่มเดิน 4 ขาได้อีกครั้ง
2
เหล่าหนูที่สามารถกลับมาเดินได้ใหม่อีกครับ
หลังจากนี้ทีมวิจัยจะทำการทดสอบต่อไปว่าเทคนิคนี้จะสามารถช่วยทำให้หนูที่บาดเจ็บเป็นอัมพาตมาเป็นเวลานานแล้วให้สามารถกลับมาเดินได้หรือไม่
นับว่าเป็นความสำเร็จที่น่าสนใจมากทีเดียวครับ ทั้งนี้ก่อนหน้านี้มีหลากหลายแนวคิดในการรักษาผู้ป่วยอัมพาต ทั้งการอ่านสัญญาณควบคุมจากสมองเพื่อส่งต่อไปยังอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมอวัยวะส่วนที่เป็นอัมพาต
อุปกรณ์เชื่อมต่อสัญญาณประสาทที่จะมาทำหน้าที่เชื่อมต่อแทนเส้นประสาท
หรือแม้แต่การใช้อุปกรณ์เชื่อมสัญญาณประสาทแทนเส้นประสาทที่เสียหายหรือถูกตัดขาด
2
ก็หวังว่าจะมีความก้าวหน้าจนสามารถนำมารักษาผู้ป่วยอัมพาตได้ในเร็ววัน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา