17 ม.ค. 2021 เวลา 23:56 • ประวัติศาสตร์
22 ตุลาคม พ.ศ.2440 #124ปีก่อน
นับตั้งแต่แม่น้ำโขง เรื่อยไปจนถึง เมืองฝาง
มีชนเชื้อชาติหนึ่งอาศัยอยู่บนภูเขา
คนเหล่านี้เรียกกันว่า มูเซอร์
เป็นชนซึ่งแตกต่างจากพวก ลาว
ทั้งภาษาที่ใช้ ความเชื่อ และการดำรงชีวิต
เมื่อมองจากพื้นราบสู่ภูเขา จะเห็นทุ่งนา
ที่คนเหล่านี้ใช้ปลูกข้าวเป็นหย่อมๆ บนภูเขา
ชาวมูเซอร์ จะไม่ลงจากเขา
ตลอดฤดูฝนโดยบอกว่า
ไม่อาจจะอยู่บนพื้นราบข้างล่างได้
แต่คนเหล่านี้จะพากันลงจากภูเขา เป็นกลุ่มๆ
เมื่อสิ้นฤดูฝนเพื่อนำ หนังสัตว์
พร้อมกับ ฝิ่น ลงมาขาย
ชาวมูเซอร์ปลูกฝิ่น และอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน
ซึ่งประกอบด้วยบ้านสองสามหลังคาเรือน
หมอแมคกิลวารีสนใจชีวิตของพวกเขา
และได้เดินทางขึ้นภูเขาเพื่อสำรวจ
นับจำนวนหมู่บ้านได้ถึง 300 หมู่บ้าน
กล่าวกันว่า
มูเซอร์ มีความเชื่อโชคลางอย่างที่สุด
คนพวกนี้ไม่นับถือพุทธ
ไม่ยอมทำงาน และ ไม่เสียภาษี
การจับกุมพวกนี้ก็ไม่อาจกระทำได้
เพราะ ขี้กลัว และมักจะหลบหนีไปเสียก่อน
มูเซอร์ เป็นชนกึ่งเร่ร่อน
เมื่ออพยพไปถึงแห่งใดก็พากัน
หักร้างถางพงปลูกฝิ่น และ ทำนา
พอปีที่สอง ก็อพยพทิ้งไร่ไปหาที่แห่งใหม่ต่อไป
ไม่มีผู้ใดทราบว่าพวกมูเชอร์ มาจากไหน
คนพวกนี้มีอยู่บ้างในรัฐฉาน
และ อีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำโขง
แม้ว่า พวก มูเซอร์จะไม่จ่ายภาษี
แต่เวลาลงมาสู่พื้นราบ มูเซอร์
ก็จะนำของกำนัล เช่น น้ำผึ้ง และ หนังสัตว์
มาให้พวกเจ้าในเมือง
ในเขตตัวเมืองเชียงใหม่
และ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณแถบ เมืองเทิง
มีชุมชนของพวกไทลื้อสิบสองปันนา
พวกไทลื้อ แตกต่างกับ มูเชอร์
เพราะเป็นพวกที่นับถือพุทธ
คนเหล่านี้มาตั้งหลักแหล่งในเขตนี้
หลายปีมาแล้ว ซึ่งอาจจะมีสาเหตุจากหลบหนี
จากการสู้รบภายในดินแดนของตน
ข้าหลวงบอกข้าพเจ้าว่า ได้รับคำสั่ง
จากข้าหลวงใหญ่ฯ มิให้จัดเก็บภาษี
ภายในเขต ๒๕ กิโลเมตรจากแม่น้ำโขง
ผู้คนที่อาศัยอยู่ในเขตนี้
จะต้องได้รับสิทธิพิเศษดังกล่าว
นอกจากนี้ยังมีคำสั่งจากบางกอก
ห้ามข้าหลวงต่างๆเข้าไปใช้อำนาจใดๆ
ในเขต 25 กิโลเมตรด้วย
การที่รัฐสยามยอมเรื่องนี้
ทำให้สนธิสัญญาปี 2436
ส่งผลร้ายให้เป็นทวีคูณ
ตัดตอนจากหนังสือ
ล้านนาไทยในแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง
จากบันทึกเรื่องราว และ ภาพ
การเดินทางเยี่ยมหัวเมืองเหนือ
และ ตะวันออกเฉียงเหนือในสยาม
ของ
ปี แอร์ โอร์ต
ผู้ช่วยที่ปรึกษากฎหมายชาวเบลเยี่ยม
๓สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๑
แปลโดย พิษณุ จันทร์วิทัน
ภาพเมื่อ93ปีก่อน
ชาวมูเชอที่เชียงราย
ถ่ายภาพเมื่อ พ.ศ. 2469
(ที่มาของภาพ: หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
ข้อมูลเพิ่มเติม
ชาวล่าหู่ หรือ ชาวมูเซอ
เป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งในประเทศไทย
แบ่งย่อยได้เป็น 23 กลุ่ม เช่น
ชาวมูเซอดำ ชาวมูเซอแดง ชาวมูเซอดำเบเล ชาวมูเซอเหลืองบาเกียว ชาวมูเซอลาบา ชาวมูเซอเหลืองบ้านลาน และชาวมูเซอกุเลา เป็นต้น
ภาษาที่ใช้พูดคือภาษามูเซอ
ที่แตกต่างไปในแต่ละเผ่าย่อย
ชาวมูเซอเรียกตัวเองว่า
ล่าหู่ หมายถึง ชนเผ่าที่ได้กินเนื้อเสือปิ้ง
ซึ่งเป็นการบอกถึงความกล้าหาญ
ของชาวมูเซอที่ล่าเสือมากินเป็นอาหารได้
โดยในประเทศไทยชาวมูเซอส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดตาก Cr.เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น
โฆษณา