21 ก.พ. 2021 เวลา 23:55 • นิยาย เรื่องสั้น
ไอน์สไตน์, E-Man และความหมายของชีวิต
Blockdit Originals ซีรีส์บทความพิเศษ
2
อัจฉริยะ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เคยเป็นซูเปอร์ฮีโร!
1
ใช่ เขาเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดตัวละครซูเปอร์ฮีโรชื่อ E-Man ซูเปอร์ฮีโรคนนี้สลักสูตร E=mc2 บนหน้าอก พลังอำนาจพิเศษของ E-Man คือสามารถใช้ฝ่ามือยิงพลังงานออกไปพิฆาตศัตรู และสามารถปรับเปลี่ยนรูปกายตามใจนึก เช่น เปลี่ยนเท้าเป็นเครื่องจักรไอพ่นเพื่อจะได้บินได้
1
นอกจากบทบาทซูเปอร์ฮีโรแล้ว ไอน์สไตน์ยังเคยพบซูเปอร์ฮีโรแถวหน้าหลายคน เขาพบ Wonder Woman ในเรื่อง Superman v. Wonder Woman ในตอนหนึ่ง Wonder Woman ช่วยชีวิตไอน์สไตน์จากคนร้ายที่พยายามขโมยความลับของโครงการแมนฮัตตัน
เขายังเคยเจอซูเปอร์แมน ใน DC Comics Presents #69 และ Batman ใน DC Challenge #6 ฯลฯ
ความเก่งระดับอัจฉริยะของไอน์สไตน์ทำให้ภาพลักษณ์ของเขาเป็นยอดมนุษย์
ในโลกฟิสิกส์ เขาคิดค้นงานพิสดารพันลึกข้ามจักรวาล แต่ในชีวิตจริง บุคลิกของเขาตรงข้ามกับซูเปอร์ฮีโรโดยสิ้นเชิง เขาเป็นเพียงมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง ใช้ชีวิตธรรมดา ไม่ยึดติดกับกฎเกณฑ์สังคม ไม่พิถีพิถันในเรื่องการแต่งกาย มักสวมเสื้อนอกที่หลุดลุ่ย ยับ รุ่มร่าม และไม่สวมถุงเท้า แม้ในงานพิธีสำคัญ
3
ซูเปอร์ฮีโรหญิงแห่งอเมซอนช่วยชีวิตไอน์สไตน์ไว้ในนิยายภาพ Superman v. Wonder Woman
ครั้งหนึ่งเอกอัครราชทูตเยอรมันไปหาไอน์สไตน์ที่บ้าน ไอน์สไตน์ก็ออกไปรับแขกในชุด "ไม่สุภาพ" ภรรยาของบอกว่า "ทำไมคุณไม่ไปเปลี่ยนชุดที่มันเรียบร้อยกว่านี้?"
ไอน์สไตน์ตอบว่า "ถ้าเขาอยากพบตัวฉัน ฉันก็อยู่นี่แล้วไง แต่ถ้าอยากดูเสื้อผ้าของฉัน ก็พาเขาไปเปิดตู้เสื้อผ้าดูซี"
11
นอกจากนี้ยังดูเหมือนไอน์สไตน์เต็มไปด้วยความขัดแย้ง เช่น เขารักครอบครัว แต่ก็นอกใจภรรยา เป็นคนรักเรียน แต่ไม่ชอบโรงเรียน
2
ไอน์สไตน์เรียนวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ได้ดี แต่ไม่ชอบวิธีสอนในโรงเรียน เขาไม่ค่อยเข้าชั้นเรียน ไม่ค่อยฟังเล็กเชอร์ แต่ก่อนสอบ เขาจะศึกษาสมุดบันทึกการเรียนของเพื่อนนักศึกษา Marcel Grossmann เขาเรียนเป็นเรื่องเป็นราวจริง ๆ นอกชั้นเรียน เช่น เรียนพีชคณิตจากอา จาค็อบ ไอน์สไตน์
3
เขาไม่เคยคิดขับรถเหมือนคนอื่น เขาขับรถไม่เป็น และไม่เคยคิดเรียนขับรถ
ยิ่งเป็นคนมีชื่อเสียงก้องโลก เขายิ่งติดดิน
3
สูงสุดคืนสู่สามัญ ไม่สนใจไยดีกับชื่อเสียง ตำแหน่ง อำนาจ
3
บุคลิกปล่อยตัวตามสบายของไอน์สไตน์
ในปี 1952 เขาได้รับคำเชิญให้เป็นประธานาธิบดีประเทศอิสราเอล แต่เขาปฏิเสธ
เขาเขียนว่า "ผมถูกโน้มน้าวใจให้เชื่อจริง ๆ ว่า ไม่มีความร่ำรวยใดในโลกสามารถช่วยมนุษยชาติก้าวไปข้างหน้า"
2
อำนาจและชื่อเสียงเป็นเพียงเปลือก เขาชอบเดินตามหัวใจมากกว่า
3
อย่าว่าแต่อำนาจ แม้แต่ความคิดจะมีอายุยืนยาวก็ไม่ได้อยู่ในหัวเขา
ในวันที่ 17 เมษายน 1955 อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ล้มป่วยด้วยอาการเลือดไหลในช่องท้อง เกิดจากหลอดเลือดเอออร์ตาส่วนท้องปริแตก หมอบอกว่าเขาต้องได้รับการผ่าตัดทันที มิฉะนั้นเขาจะเสียชีวิต
2
เขาบอกหมอว่า ไม่ต้องผ่าตัด
2
เขาใช้ชีวิตบนโลกนี้ยาวพอแล้ว เขาอายุ 76 ถึงจุดสูงสุดของชีวิตมานานแล้ว เขามองไม่เห็นประโยชน์ของการต่อชีวิตตนเองต่อไป และใช้ชีวิตที่เหลือเข้า ๆ ออก ๆ โรงพยาบาล
2
เขากล่าวว่า "ฉันต้องการจากไปเมื่อฉันต้องการ มันไร้รสชาติที่ต่ออายุอย่างผิดธรรมชาติ ฉันทำงานของฉันจบแล้ว ถึงเวลาไปแล้ว ฉันจะจากไปอย่างสง่างาม"
4
วันต่อมาเขาก็เสียชีวิต
6
ความเป็นคนมองโลกต่างมุมจากคนอื่น ไม่ยึดติดกับกฎเกณฑ์สังคมและค่านิยมจนดูแปลกแยก (หากไม่ใช่ไอน์สไตน์ ก็คงถูกสังคมต่อต้านแล้ว!) การที่เขาไม่ยึดติดกับกฎเกณฑ์และค่านิยม อาจเป็นเพราะเขาไม่แคร์อะไร หรืออาจเพราะเขาเข้าใจชีวิตลึกซึ้ง จนมองเห็นว่ากฎเกณฑ์และค่านิยมเป็นแค่เปลือก
4
ตลอดชีวิต เขาใช้ปัญญาค้นหาความหมายของชีวิต และจะว่าไปแล้ว บางทีสิ่งที่ฉลาดกว่าทฤษฎีของเขาก็คือการค้นพบวิถีชีวิตแห่งความสงบ เรียบง่าย คืนสู่ธรรมชาติ ความน้อย
2
นี่ก็คือวิถีของปราชญ์เต๋าและเซน เช่น เล่าจื๊อ ถ่อมตัว ร่ำรวยอารมณ์ขัน ไม่เสแสร้ง ปากกับใจตรงกัน คิดอะไรก็พูดและเขียนอย่างนั้น ซึ่งอาจเป็นจุดอ่อนของเขา เพราะบ่อยครั้งเขาก็พูดจาไม่เข้าหูคน เช่น กรณีพูดด้านลบของคนจีนและญี่ปุ่น แม้แต่เมื่อมี "กิ๊ก" ก็ยังเขียนบอกคนอื่นโดยไม่ปิดบัง
ค.ศ. 1905 เป็นปีทองของไอน์สไตน์ เขาตีพิมพ์ผลงานทฤษฎีฟิสิกส์สำคัญสามชิ้น รวมทั้งทฤษฎีสัมพัทธภาพ
โลกฟิสิกส์เวลานั้นแบ่งออกเป็นสองสายคือทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ซึ่งอธิบายฟิสิกส์ในสเกลใหญ่ระดับจักรวาล และ ควอนตัม ฟิสิกส์ ซึ่งอธิบายพฤติกรรมของสิ่งเล็ก ๆ ในระดับอนุภาค วงการฟิสิกส์เชื่อว่า จักรวาลน่าจะมีกฎใหญ่เพียงกฎเดียว ครอบคลุมตั้งแต่สิ่งที่เล็กที่สุดถึงใหญ่ที่สุด มันต้องมีทฤษฎีที่อธิบายทั้งสองสายรวมกัน เรียกว่า ทฤษฎีทุกสิ่งทุกอย่าง (Theory of Everything - T.O.E.)
2
หากเรารู้ความลับของ T.O.E. เราก็น่าจะรู้ที่มาของจักรวาล และเมื่อนั้นเราอาจจะได้รับคำตอบที่เป็นวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับผู้สร้าง หรือพระเจ้า และอื่น ๆ และมันอาจจะเปลี่ยนโฉมหน้าศาสนาในโลก ตลอดชีวิตที่เหลือ ไอน์สไตน์พยายามค้นหา T.O.E. แต่ไม่สำเร็จ
ไอน์สไตน์ในวัยชรา
ไอน์สไตน์เขียนทั้งบทความ จดหมาย ปาฐกถา สัมภาษณ์ เรื่องการใช้ชีวิต บทความต่าง ๆ ที่เขาเขียนมาก่อนปี ค.ศ. 1935 รวมเป็นหนังสือชื่อ The World As I See It ในหนังสือเล่มนี้เขาตั้งคำถามความหมายของชีวิต สาระของชีวิตคืออะไร ชีวิตที่มีความหมายเป็นอย่างไร และบางเรื่องก็เข้าไปเกี่ยวข้องกับความเลื่อมใสศาสนา และความเชื่อว่าเราต้องมีศาสนา จึงจะพบความหมายของชีวิต
ความเป็นอัจฉริยะทำให้ชาวโลกอยากรู้มุมมองของเขาในเรื่องศาสนา โดยเฉพาะประเด็นเรื่องพระเจ้า มีคนถามไอน์สไตน์เสมอว่า "คุณเชื่อในพระเจ้าไหม?"
ไอน์สไตน์ผู้ไม่จัดตัวเองเป็นคนลัทธิศาสนาใดตอบว่า "ผมเชื่อในพระเจ้าของสไปโนซา ซึ่งเผยตัวตนของพระองค์ในความกลมกลืนของสรรพสัตว์ แต่ไม่ใช่พระเจ้าที่สนใจแต่ในชะตาและการกระทำของมนุษย์"
3
"พระเจ้าของสไปโนซา" ไม่ใช่พระเจ้าในศาสนาคริสต์ และมีความเป็นนามธรรมมากกว่าพระเจ้าในคัมภีร์ไบเบิล
2
ไอน์สไตน์กล่าวว่า "พฤติกรรมทางจรรยาของคนควรจะตั้งอยู่บนฐานแห่งความสงสาร การศึกษาและสายสัมพันธ์ทางสังคม ไม่ใช่ฐานทางศาสนามนุษย์คงก้าวไปในทางผิดแน่ หากต้องตกอยู่ภายใต้ความกลัวว่าจะถูกลงโทษและความหวังที่จะรับรางวัลหลังจากตายไปแล้ว"
9
หนังสือ The World As I See It
ในหนังสือ Einstein and the Poet: In Search of the Cosmic Man โดย William Hermanns ไอน์สไตน์กล่าวว่า "ถ้าเราต้องการพัฒนาโลก เราไม่สามารถกระทำโดยวิทยาศาสตร์ แต่กระทำโดยอุดมคติ ขงจื๊อ พระพุทธเจ้า พระเยซู และคานธี ได้กระทำเพื่อมนุษยชาติมากกว่าที่วิทยาศาสตร์ได้ทำ เราต้องเริ่มด้วยหัวใจ พร้อมกับมโนธรรม และคุณค่าของมโนธรรมสามารถชัดแจ้งด้วยการกระทำที่ปราศจากความเห็นแก่ตัวต่อมนุษยชาติ"
11
บางทีเขาอาจเห็นว่ามนุษยชาติเป็นเรื่องชั่วคราว เป็นเพียงกระผีกหนึ่งของกาลเวลาแห่งสากลจักรวาล และมันก็ทำให้เราควรตั้งคำถามถึงเหตุผลการดำรงอยู่ของมนุษย์ในจักรวาล
2
เมื่อไอน์สไตน์บอกว่าเขาเอนเอียงไปเชื่อในพระเจ้าของสไปโนซามากกว่าพระเจ้าในบางศาสนา บางคนจึงจัดวิธีคิดแบบไอน์สไตน์ว่าเป็นPantheism ซึ่งเสาหลักเสาหนึ่งของแนวคิดนี้คือนักปรัชญาในศตวรรษที่ 17 นาม บารูค สไปโนซา (Baruch Spinoza)
6
สไปโนซาเป็นนักปรัชญาชาวดัตช์เชื้อสายยิว แต่กลับมองพระเจ้าต่างออกไปจากคำสอนของไบเบิล จนกระทั่งถูกขับออกจากกลุ่มชาวยิว หนังสือหลายเล่มของสไปโนซาถูกศาสนจักรจัดเป็นหนังสือต้องห้าม
บารูค สไปโนซา
สไปโนซาปฏิเสธความคิดเรื่องกาย-จิตที่แยกจากกัน เขาเชื่อว่าทั้งสองอย่างคือสิ่งเดียวกัน มันไม่มีการแยกเป็นสอง มันมีหนึ่งเดียว สไปโนซาใช้คำว่า พระเจ้าž อธิบายความเป็นหนึ่งเดียวของสรรพสิ่ง ไม่ใช่พระเจ้าแบบบุคคล
1
สไปโนซาเชื่อว่าพระเจ้ากับธรรมชาติเป็นหนึ่งเดียวกัน และบางทีสิ่งที่เรียกว่า ธรรมชาติž ก็อาจยิ่งใหญ่กว่าจักรวาล นี่ก็คือแนวคิดของ Pantheism ซึ่งมองว่าธรรมชาติ จักรวาล และสิ่งที่เรียกว่า "พระเจ้า" เป็นสิ่งเดียวกัน (Pantheism มาจากคำกรีก pan แปลว่าทั้งหมด theos แปลว่า พระเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์)
1
Pantheism ไม่เชื่อว่ามีพระเจ้าที่เป็นตัวบุคคลซึ่งมีรูปร่างลักษณะแบบมนุษย์อย่างที่บางศาสนาเชื่อ สิ่งที่เรียกว่า พระเจ้าž อาจเป็นบางสิ่งบางอย่างที่เรายังไม่รู้
1
หลายคนมองว่า Pantheism เป็นปรัชญามากกว่าศาสนา เพราะมันดูเหมือนเชื่อมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของจักรวาลไปโดยปริยาย
แนวคิด Pantheism นี้มีมานานหลายพันปีแล้ว มันเชื่อมโยงและปนอยู่กับแนวคิดตะวันออก เช่น ลัทธิเต๋า ลัทธิขงจื๊อ ฮินดู ฯลฯ
จุดนี้เองอาจทำให้ไอน์สไตน์สนใจแนวคิดของโลกตะวันออก
1
เช่นเดียวกับสไปโนซา ไอน์สไตน์เติบโตในครอบครัวยิว ได้รับการปลูกฝังความเชื่อชุดหนึ่ง แต่เขามีพัฒนาการความคิดเรื่องศาสนาและจิตวิญญาณของเขาเอง
แต่การศึกษาจักรวาลวิทยามิอาจทำได้โดยมองเฉพาะจุดใดจุดหนึ่ง เขารวมมุมมองทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ ทั้งหมดรวมเป็นหนึ่ง โดยไม่มองแยก
เขากล่าวว่า "ทุก ๆ ศาสนา ศิลปะ และวิทยาศาสตร์เป็นกิ่งก้านสาขาของต้นไม้ต้นเดียวกัน ความต้องการค้นหาเหล่านี้พาไปสู่การทำให้ชีวิตเราสูงค่าขึ้น ยกขึ้นจากกรอบของเพียงแค่การดำรงอยู่ทางกายภาพ และนำไปสู่อิสรภาพของแต่ละปัจเจก"
4
การเป็นนักทฤษฎีฟิสิกส์เปิดโลกของเขา ให้คิดกว้าง คิดทุกความเป็นไปได้ การค้นหาความลับของจักรวาล เรื่องแรงโน้มถ่วง เวลา มิติ space-time ทำให้เขาต้องมองโลกลึกกว่าแค่เปลือกนอกของจักรวาล และเมื่อถึงจุดนั้น การค้นหาความลับของจักรวาลก็ครอบคลุมพื้นที่ของปรัชญาไปโดยปริยาย และวิทยาศาสตร์กับปรัชญาก็แยกแยะออกจากกันยากหรืออาจแยกไม่ได้
2
เขาเขียนว่า "วิทยาศาสตร์ที่ไร้ศาสนาก็เหมือนคนขาเป๋ ศาสนาที่ไร้วิทยาศาสตร์ก็เหมือนคนตาบอด"
2
จากข้อเขียนหลายชิ้นของไอน์สไตน์ มองเห็นชัดว่าเขามองเห็นว่าแนวคิดทางพุทธนั้นลึกซึ้งอย่างยิ่ง
ไอน์สไตน์กล่าวในการประชุมวิชาการครั้งหนึ่งในปี 1941 ว่า "บุคคลที่บรรลุธรรมในมุมมองของผมดูเหมือนจะเป็นคนที่ด้วยความสามารถที่สุดของเขา ปลดปล่อยตัวเองจากบ่วงตัณหาที่เห็นแก่ตัวและหมกมุ่นกับความคิด ความรู้สึก และแรงบันดาลใจที่เขาเกาะยึด"
6
เขามองไม่เห็นว่าการปลดปล่อยตัวเองเป็นอิสระเกี่ยวข้องกับ "ตัวตนสิ่งศักดิ์สิทธิ์" (divine Being) อย่างไร
1
"ผมมีความรู้สึกว่าสิ่งที่สำคัญคือแรงของสาระที่ข้ามพ้นตัวเองกับความลึกของความเชื่อมั่นที่เกี่ยวข้องกับการข้ามพ้นความไร้สาระ โดยไม่สนใจความพยายามที่จะโยงสาระนี้เข้ากับตัวตนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มิฉะนั้นก็เป็นไปไม่ได้ที่จะนับพระพุทธเจ้าและสไปโนซาเป็นมนุษย์ทางจิตวิญญาณ..."
ไอน์สไตน์ใช้คำว่า "จักรวาล" ในบริบทของปรัชญาหลายครั้ง ในปี 1950 ไอน์สไตน์เขียนจดหมายถึง รอเบิร์ต เอส. มาร์คัส ผู้เพิ่งสูญเสียลูกชายว่า
2
"มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของภาพรวมที่เราเรียกว่า 'จักรวาล' เป็นส่วนหนึ่งในเวลาและที่ว่าง เขามีประสบการณ์ว่าตัวเขาเอง ความคิดและความรู้สึกของเขาเป็นบางสิ่งที่แยกออกมาจากสิ่งอื่น ๆ ทั้งหมด ซึ่งนี่เป็นภาพลวงตาของสติสัมปชัญญะของคน ความมุ่งมั่นปลดปล่อยตัวตนเป็นอิสระจากภาพลวงตานี้เป็นแก่นสารหนึ่งของศาสนาที่แท้ การไม่ปรุงแต่งการลวงตา แต่พยายามข้ามพ้นมันเป็นหนทางสู่่ความสงบทางใจที่สามารถรับได้ในระดับหนึ่ง"
7
เขาเขียนขยายความในเวลาต่อมาว่า ภาพลวงตา (delusion) นี้เป็นคุกชนิดหนึ่ง ที่จำกัดเราอยู่ในตัณหาและความรักใคร่ของเราเองและคนรอบตัว
3
ไอน์สไตน์พูดเรื่องคุณค่าของมนุษย์ว่า คุณค่าที่แท้จริงของมนุษย์คนหนึ่งถูกกำหนดโดยการปลดปล่อยตัวตน (self) เป็นอิสระ
4
self ในทางพุทธก็คือตัวกูของกู
2
จดหมายของไอน์สไตน์เขียนถึง Robert S. Marcus ปี 1950 พูดประเด็นรากฐานความจริงของชีวิตที่คู่ควรอยู่
นี่เป็นมุมมองทางพุทธ เพราะหลักใหญ่หลักหนึ่งทางพุทธก็คือ self liberation (การปลดปล่อยตนเป็นอิสระ) หรือ "การบรรลุธรรม"
1
ไอน์สไตน์บอกว่า เรามีหน้าที่ปลดปล่อยตนเป็นอิสระจากคุกนี้ โดยมีเมตตาต่อสรรพสัตว์และธรรมชาติทั้งปวง
2
ข้อเขียนหลายชิ้นของไอน์สไตน์สอดคล้องกับหลักทางพุทธ จนทำให้ชาวพุทธจำนวนไม่น้อยอ้างว่า ไอน์สไตน์เป็นชาวพุทธและบอกว่าพุทธเป็นศาสนาที่ดีที่สุดในโลก (อาจเพราะอยากได้อัจฉริยะระดับโลกมารับรองศาสนาพุทธ) แต่ความจริงคือไม่มีหลักฐานใด ๆ บ่งว่าไอน์สไตน์เป็นชาวพุทธ จะว่าไปแล้ว หากไอน์สไตน์มีศาสนา ก็ดูเหมือนว่ามันเป็นส่วนผสมของวิทยาศาสตร์แห่งจักรวาลกับแนวคิดทางพุทธและอื่น ๆ โดยไม่ตีตราศาสนาใด
1
ไอน์สไตน์เขียนใน The World As I See It ว่า "มันมีสภาวะที่สามของประสบการณ์ทางจิตวิญญาณ ที่ผมเรียกว่าความรู้สึกแห่งศาสนาจักรวาล (cosmic religious feeling) เป็นการยากที่จะอธิบายความรู้สึกนี้ต่อคนที่ปราศจากมันเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมันไม่มีความคิดเรื่องพระเจ้าที่เหมือนคนมาเกี่ยวข้อง ปัจเจกชนทั่วไปรู้สึกความว่างเปล่าของตัณหามนุษย์และจุดประสงค์ และจิตที่ยกสูง และการจัดระเบียบที่ยอดเยี่ยมซึ่งเผยตัวเองทั้งในธรรมชาติและในโลกแห่งความคิด เขามองการดำรงอยู่ของตัวตนเป็นคุกชนิดหนึ่ง และต้องการสัมผัสจักรวาลที่เป็นหนึ่งเดียว"
1
ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของไอน์สไตน์เสมอ มันเป็นเครื่องมือหนึ่งในการ ปลดปล่อยตนเองของเขา
บางทีเขาอาจเห็นว่า จะเป็นพุทธ คริสต์ หรือศาสนาอื่นใด ก็ไม่สำคัญเท่าว่าเราเข้าใจชีวิตแค่ไหน และตอบแทนโลกหรือไม่
3
ไอน์ไตน์บอกว่า เป็นหน้าที่ของมนุษย์ทั้งมวลที่จะเคารพทุกชีวิต ไม่เพียงแต่สัตว์ที่มีความรู้สึก แต่ต่อต้นไม้พืชพันธุ์ด้วย
11
ไอน์ไตน์เขียนใน The World As I See It ว่า "เป็นหน้าที่ของมนุษย์ทุกคนที่คืนกลับสู่โลกอย่างน้อยก็เท่ากับสิ่งที่เขารับมา"
2
ไอน์ไตน์จึงบอกว่า อย่าพยายามเป็นคนที่ประสบความสำเร็จ แต่ตั้งเป้าเป็นคนที่มีคุณค่า และการมีคุณค่ามักเกิดจากการให้มากกว่าการรับ เขาบอกว่า "ผมเชื่อสิ่งหนึ่งว่า มีแต่ชีวิตที่อยู่เพื่อคนอื่นเท่านั้นที่มีค่าควรอยู่"
12
ไอน์สไตน์กล่าวว่า "มีสองวิธีในการใช้ชีวิต : คุณอาจอยู่เหมือนว่าไม่มีสิ่งใดที่เป็นปาฏิหาริย์ หรือคุณอาจอยู่เหมือนว่าทุกอย่างคือปาฏิหาริย์"
1
ไอน์สไตน์ : “ชีวิตก็เหมือนการขี่จักรยาน จะทรงตัวได้ก็ต้องปั่นไปข้างหน้าไม่หยุด”
มองดูวิธีคิดและวิธีการใช้ชีวิตของเขาแล้ว บางทีไอน์สไตน์อาจจะเป็น E-Man จริง ๆ
E ไม่ใช่ Einstein แต่คือ Existential - การดำรงอยู่อย่างแท้จริง
1
E-Man คือคนที่เป็นมนุษย์ที่แท้ ใช้ชีวิตที่แก่นสารของชีวิต
1
และหากเราสามารถเข้าใจโลกและชีวิตอย่างถ่องแท้ และมีเมตตาต่อสรรพสิ่ง บางทีเราก็คือ E-Man และชีวิตก็คือปาฏิหาริย์อย่างหนึ่ง
4
ตัวอย่างงานของไอน์สไตน์

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา