18 ม.ค. 2021 เวลา 14:29 • การศึกษา
สิ่งใดกันแน่ที่เปลี่ยนคนคนหนึ่งให้กลายเป็นเป็นปีศาจฆาตกรต่อเนื่องที่สังหาร
และคร่าชีวิตเพื่อนมนุษย์หลายต่อหลายชีวิตอย่างโหดเหี้ยมทารุณ?
📌 หรือคำตอบที่แท้ทรูของคำถามเหล่านี้จะซุกซ่อนอยู่ภายในสมองของพวกเราเอง
3
ฆาตกรต่อเนื่องหรือ Serial Killer คำๆนี้ถูกเรียกเป็นครั้งแรกว่า Serienmörder ในภาษาเยอรมันในคดีฆาตกรรมต่อเนื่องนาม ปีเตอร์ เคอร์เทน (Peter Kürten)
ชายผู้ถูกเรียกขานว่า แวมไพร์แห่งดุสเซลดอร์ฟ
4
ปีเตอร์ เคอร์เทน "The Vampire of Düsseldorf"
โดยนิยามของฆาตกรต่อเนื่องนั้นมีความแตกต่างกันบ้างในรายละเอียดเล็กน้อย
แต่โดยหลักแล้ว คนที่จะถูกเรียกว่าฆาตกรต่อเนื่องจะต้อง ฆาตกรรมเหยื่อตั้งแต่
2 รายขึ้นไป โดยผู้กระทำคนเดียวกันหรือกลุ่มเดียวกัน
เป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระ มีการเว้นช่วงพักระหว่างการก่อเหตุ
แต่ไม่พิจารณาระยะเวลาในการเว้นช่วงก่อเหตุว่าต้องนานเท่าใด
และไม่คำนึงว่าจะมีมูลเหตุชักจูงใจจากแรงกระตุ้นทางเพศ ทางจิต เศรษฐกิจ
ความรัก หรือความสงสาร
3
ริชาร์ด รามิเรซ "The Night Stalker"
ฆาตกรต่อเนื่องบางรายจะมีรูปแบบในการเลือกเหยื่อและวิธีการลงมือก่อเหตุอย่างเห็นได้ชัดอย่างเช่น Jack the Ripper ก็จะเลือกลงมือกับเหยื่อที่เป็นโสเภณี
หรืออย่าง Ted Bundy จะเลือกเหยื่อที่เป็นนักศึกษาและมีลักษณะภายนอก
ที่คล้ายกับคนรักเก่าของเขา อย่างไรก็ตามฆาตกรต่อเนื่องบางราย
ก็ไม่ได้มีแพทเทิร์นในการลงมือเป็นรูปแบบตายตัว
3
ธีโอดอร์ โรเบิร์ต บันดี้ "Ted Bundy"
มีความพยายามอย่างต่อเนื่องยาวนานในการค้นคว้าศึกษาถึงสาเหตุของการกำเนิดฆาตกรต่อเนื่อง ด้วยความร่วมมือจากทั้งแพทย์ จิตแพทย์ นักอาชญาวิทยา และผู้เชี่ยวชาญในด้านสาขาต่าง ๆ ทำให้ในปัจจุบันเราได้ทราบว่า นอกจากปัญหาสังคม ปมในวัยเด็กแล้ว ความผิดปกติทางสมองอาจเป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญในประเด็นนี้
5
เอ็ดเวิร์ด ธีโอดอร์ กีน "The Butcher of Plainfield"
จากการศึกษาข้อมูลภาพสแกนสมองด้วยการสแกน MRI ของทีมวิจัย
นำโดย เคนท์ คีล (Kent Kiehl) นักประสาทวิทยาได้พบข้อมูลที่น่าสนใจว่า
สมองของนักโทษที่ก่อคดีฆาตกรรมมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับ
นักโทษที่ติดคุกเพราะก่อคดีอื่นๆ ยิ่งไปกว่านั้นทีมวิจัยยังได้พบอีกว่า
เมื่อเปรียบเทียบระหว่างฆาตกรที่ก่อเหตุฆาตกรรมธรรมดา กับฆาตกร
ที่ลงมืออย่างโหดร้ายหรือฆาตกรต่อเนื่อง ลักษณะสมองของพวกเขา
แตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญ
3
ภาพสแกนตัดขวาง ส่วนหนึ่งของงานวิจัย UChicago neuroscientist กิจกรรมในสมองของนักโทษคดีฆาตกรรมเปรียบเทียบกับนักโทษคดีความรุนแรงอื่นๆ Image courtesy of Sajous-Turner et al.
ประการแรกเลย สมองกลีบหน้าผากส่วนหน้า (Prefrontal Cortex) ซึ่งเป็นสมองส่วนที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการคิด วิเคราะห์ วางแผน
ฆาตกรต่อเนื่องจะมีขนาดของสมองส่วนนี้ที่เล็กกว่าปกติ
และตอบสนองต่อการควบคุมแรงกระตุ้นทางอารมณ์ทำงานน้อยกว่าปกติ
อาจเกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิดหรือเกิดจากการที่สมองได้รับความเสียหายจากการถูกทำร้ายหรือได้รับอุบัติเหตุ
6
สมองกลีบหน้าผากส่วนหน้า (Prefrontal Cortex) https://www.thescienceofpsychotherapy.com/prefrontal-cortex/
อย่างกรณีของ Donta Page ฆาตกรที่ก่อเหตุฆาตกรรมเหยื่ออย่างโหดเหี้ยม เมื่อสืบประวัติย้อนกลับไปพบว่าในวัยเด็ก Donta มักจะถูกแม่ทำร้ายจับตัวเขาเขย่า
อย่างรุนแรงอยู่บ่อยครั้ง จนเป็นเหตุให้สมองของเขาได้รับความเสียหาย
ส่งผลให้เกิด อาการฟีวส์ขาด อารมณ์หุนหันพลันแล่นได้ง่าย และตอบโต้
สถานการณ์ด้วยความรุนแรงเกินกว่าเหตุ จนนำไปสู่การก่อคดีอุกฉกรรจ์
Donta Page
จากภาพผลการสแกนสมองของ Donta Page โดยสีแดงแสดงถึงอัตราการ
เผาผลาญกลูโคสยิ่งมีสีแดงมาก = สมองทำงานมาก
ซึ่งทีมวิจัยพบว่า สมองกลีบหน้าผากส่วนหน้าของ Donta นั้นมีการตอบสนอง
ต่อการควบคุมแรงกระตุ้นน้อยมากเมื่อเทียบกับสมองคนปกติ
(ซ้าย)ภาพสมองของดอนต้า เพจ เปรียบเทียบกับ(ขวา)สมองของคนปกติ (Images courtesy of Adrian Raine)
ประการต่อมา ความผิดปกติของสมองส่วนกลีบขมับ (temporal lobe) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์โกรธ เเละ ความต้องการทางเพศ
ทำให้ฆาตกรต่อเนื่องที่มีปัญหารสมองส่วนนี้จะมีแนวโน้มป่วยเป็นโรคกามวิปริต
หรือความผิดปกติทางเพศ เช่น ต้องการเพศสัมพันธ์ที่รุนแรงมากเกินไป
รู้สึกถูกกระตุ้นอารมณ์ทางเพศเมื่อได้ทำร้ายคนอื่น หรือก่อเหตุฆาตกรรม
2
สมองส่วนกลีบขมับ (temporal lobe) Creative Commons Attribution-Share Alike 2.1 Japan license.
อย่างเช่น Richard Ramirez ที่เกิดอุบัติเหตุกระทบกระเทือนสมองในวัยเด็ก
ประกอบกับถูกเลี้ยงดูมาในสภาพแวดล้อมและครอบครัวที่ใช้ความรุนแรง
จนเติบโตมาเป็นปีศาจอาชญากร Night Stalker
2
ภายถ่ายเด็กชายริชาร์ด รามิเรซในวัยเด็ก
นอกจากนั้นทีมวิจัยยังพบว่าฆาตกรต่อเนื่องจะมีสมองส่วนอมิกดาลา (amygdala)
มีขนาดเล็กหรือทำงานน้อยผิดปกติ ซึ่งAmygdala นั้นเป็นสมองส่วนที่มีขนาดเล็กที่มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก แปลว่าอัลมอนด์ มีบทบาทสำคัญ ในด้านระบบความจำและควบคุมการตอบสนองทางอารมณ์ เช่น ความโกรธ ความกลัว และความรุนแรง
4
ภาพสมองส่วนอมิกดาลา
หากใครที่เจ้าเม็ดจิ๋วนี้ทำงานผิดปกติ จะทำให้ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ต่ำ ไม่เข้าใจการแสดงออกซึงอารมณ์ของคนรอบตัว ไร้ซึ่งความเห็นอกเห็นใจใดๆ
ฆาตกรจะไม่เข้าใจว่าการทำร้าย ทรมานเหยื่อคือการทำให้ผู้อื่นเจ็บปวด และไม่รู้สึกสำนึกผิดในการกระทำใดๆของตน
3
หนึ่งในฆาตกรต่อเนื่องผู้โด่งดังที่อมิกดาลาบกพร่อง
ก็คือ ปีเตอร์ ซัตคลิฟฟ์ (Peter Sutcliffe) ฉายา Yorkshire Ripper
ชายผู้มีภาพลักษณ์ภายนอกที่ดูสุขุม อ่อนโยนเอื้ออาทร แต่ภายในกลับซุกซ่อน
มัจจุราชที่ก่อคดีสังหารโสเภณีต่อเนื่องไปกว่า 13 ราย
5
ปีเตอร์ ซัตคลิฟย์ "Yorkshire Ripper "
ความสำเร็จจากการศึกษาสมองในครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งก้าวแห่งการพัฒนาอาชญาวิทยา ทำให้เราเข้าใจมากยิ่งขึ้นว่า ฆาตกรต่อเนื่อง และอาชญากรทั้งหลายเกิดจากอะไร เมื่อเรารู้ถึงสาเหตุก็จะนำไปสู่การแก้ไขที่ต้นเหตุ สร้างสังคมที่ปลอดภัยแก่เราและลูกหลานในอนาคตต่อไป
1
ป.ล. จากการวิจัยพบว่ามีหลายคนที่แม้จะป่วยด้วยความผิดปกติทางสมอง แต่หากคนเหล่านั้นเติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่ดี ได้รับความรับความอบอุ่นจากครอบครัวและสังคม กลับพบว่าเส้นทางชีวิตของพวกเขาก็ดำเนินไปได้ดีเช่นเดียวกับคนทั่วไป
ซึ่งนั่นยิ่งตอกย้ำในสิ่งที่ผมเชื่อว่า
3
ไปฟังเรื่องราวประวัติความเป็นมาเป็นไปของฆาตกรต่อเนื่องกันต่อแบบเจาะลึก
ที่ THE COMMON THREAD แค่กดลิงค์นี้ได้เลยครับ
โฆษณา