22 ม.ค. 2021 เวลา 14:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เปรียบเทียบการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
ด้วยกระแสไฟฟ้าแบบ AC หรือ DC ดี บทความนี้มีคำตอบ
ชาร์จด้วยกระแสไฟฟ้า AC หรือ DC
คงปฏิเสธไม่ได้ว่ามีหลายคนวางแผนจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน เนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น แต่หากคิดจะซื้อมาเพื่อเดินเที่ยวในระยะทางไกลแล้ว
คงต้องคิดหนัก เพราะอะไรนะหรือ คำตอบก็คือ ระยะเวลาการชาร์จที่ยาวนานนั่นเอง
ในปัจจุบันเทคโนโลยีการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบ่งออกเป็น 2 เทคโนโลยี คือ การชาร์จด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ AC และการชาร์จด้วยไฟฟ้ากระแสตรง DC
มาเริ่มที่การชาร์จด้วยกระแสไฟฟ้า AC นั้นจะมีกำลังไฟฟ้าต่อการชาร์จอยู่ที่ 2.4 - 22 kW (อ่านว่ากิโลวัตต์) ยกตัวอย่าง หากคุณใช้ Tesla Model S 100D
ซึ่งมันมีความจุแบตเตอรี่ 100 kWh (อ่านว่ากิโลวัตต์อาวว์)
มันจะใช้เวลาชาร์จไฟจนเต็มทั้งสิ้น
100kWh/22 kW = 4.5 ชั่วโมง นานใช่ไหมครับ
ต่อมาพระเอกของเรา การชาร์จด้วยกระแสไฟฟ้า DC
ในปัจจุบันหัวชาร์จแบบ DC มีมาตรฐานมากมาย (รูปล่าง) ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่ากำลังไฟฟ้าในการชาร์จมีค่าสูงกว่าของฝั่ง AC มาก คือมีค่าตั้งแต่ 120 - 400 kW ยกตัวอย่างเช่น
หากคุณใช้ Tesla คันเดิม คุณจะใช้เวลาชาร์จไฟจนเต็มทั้งสิ้น100kWh/135kW=45 นาที เร็วขึ้นเยอะใช่ไหมครับ
มาตรฐานหัวชาร์จแบบ DC Fast Change
ยิ่งไปกว่านั้นการพัฒนาเทคโนโลยีแท่นชาร์จอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดเทคโนโลยี DC Fast Change โดยตารางด้านล่างแสดงระยะเวลาการชาร์จด้วยกระแสไฟฟ้า DC
ที่มีความเร็วสูงมาก เช่น แท่นชาร์จยี่ห้อ ABB รุ่น Tera HP ใช้เวลาเพียง 10 นาที ในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อที่จะทำให้รถวิ่งได้ถึง 320 กิโลเมตร
เปรียบเทียบระยะเวลาชาร์จให้วิ่ง 320 กิโลเมตร
และแน่นอนครับมีข้อดีก็ต้องมีข้อเสีย
ข้อเสียของการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าด้วยกระแสไฟแบบ DC พอที่จะสรุปได้ดังนี้ครับ
1. กำลังไฟฟ้าสูญเสียในเครื่องชาร์จกับแบตเตอรี่ที่สูง
(กระแสยิ่งสูง loss ยิ่งสูง) ค่าไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น
2. การชาร์จด้วย DC Fast Change จะใช้ไม่ได้เมื่อ
แบตเตอรี่มีค่าตั้งแต่ 80% ขึ้นไป
3. ราคาค่าไฟฟ้าชาร์จแพงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ
การชาร์จแบบ AC (เอกชน)
4. ขนาดสายชาร์จที่ใหญ่ขึ้น น้ำหนักมากขึ้น
ทำให้พกพาลำบาก
5. อายุการใช้งานแบตเตอรี่สั้นลง
(ตาม c rate ที่เพิ่มขึ้นจากการใช้กระแสสูงชาร์จ)
โฆษณา