21 ม.ค. 2021 เวลา 08:18 • นิยาย เรื่องสั้น
อิยะกับความหมายที่หายไป
เรื่อง พิพิธภัณฑ์ของพระราชา
บทที่๑ ตอนที่๔ ..รัชกาลที่๗
〰️🌸องก์ที่๑ พระยาจากแดนไกล
ความเดิมตอนที่แล้ว
.
"..ดร.ฟรานซีส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) หรือพระยากัลยาณไมตรี เป็นชาวอเมริกันที่มาทำงานให้กับราชสำนักสยามสมัยรัชกาลที่๖ และ๗ ท่านเป็นฝรั่งที่กินตำแหน่งพระยาจนถึงรัชกาลที่๙.."
ชายหนุ่มผู้เป็นอาอธิบายหลังจากเดินมาสมทบกับหลานและเพื่อนหลานชาวญี่ปุ่น
เขาตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับรูปพระยากัลยาณไมตรีที่ปรากฏบนนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
.
"โอ้..๔รัชกาลเชียวหรือครับอา"เด็กหนุ่มอาโปทำตาโต ด้วยไม่คิดว่าสมัยรัชกาลที่๙ยังมีขุนนางแถมเป็นฝรั่งมังฆ้องด้วยแล้ว
.
"จะพูดอย่างนั้นก็ไม่ได้ซะทีเดียว ท่านเริ่มเข้ามาทำงานในปลายสมัยรัชกาลที่๖ จนกระทั่งพระองค์ท่านสวรรคต ท่านก็กลับอเมริกา ต่อมารัชกาลที่๗ก็ทรงอยากให้ท่านกลับมาช่วยราชการในการเจรจาแก้ไขสนธิสัญญากับนานาชาติบางส่วนที่คงมีอยู่ ซึ่งก่อนหน้านั้นกำหนดระยะเวลาที่จะอยู่ประเทศสยามเอาไว้เพียง ๑ ปี
.
หลังจากเสร็จภาระกิจแล้วท่านก็ได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการของสยามก็ได้กลับไปประเทศสหรัฐอเมริกา ไปเป็นอาจารย์สอนกฎหมายระหว่างประเทศอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเช่นเดิม แต่ยังคงถือว่าเป็นข้าราชการไทยอยู่โดยไม่รับเงินเดือน.."ชายผู้เป็นอาเห็นหลานพยักหน้าตอบรับแสดงความเข้าใจ เขาจึงกล่าวต่อไปว่า
.
"..เดี๋ยวก่อนที่จะไปล่องเรือกันในคืนนี้ อาจะพาไปดูถนนสายหนึ่งอยู่ระหว่างศาลาว่าการกระทรวงกลาโหมและวังสราญรมย์ตรงศาลาว่าการกระทรวงต่างประเทศเดิม มีถนนสายหนึ่งชื่อถนน กัลยาณไมตรี ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านฟรานซีส บี.แซร์ด้วย"
"แสดงว่าท่านต้องทำประโยชน์ให้ไทยมาก ถึงได้รับการยกย่องขนาดนั้น" นาวะเด็กชายชาวญี่ปุ่นกล่าว
.
"ใช่แล้ว..มหาศาลเลย โดยท่านทำหน้าที่ เป็นที่ปรึกษาการต่างประเทศ ขณะนั้นเมืองไทยกำลังต้องการที่จะขอแก้ไขสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีที่ประเทศไทยเคยทำไว้กับหลายๆประเทศ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับอำนาจศาล และการภาษีอากร ซึ่งประเทศไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบอยู่"
.
"..ด้วยขณะนั้นประเทศสยามถูกเอารัดเอาเปรียบโดยสนธิสัญญาเก่าแก่ต่างๆ โดยอ้างถึงความป่าเถื่อนและความล้าหลังของกฎหมาย ทำให้ไม่ยอมให้ชาวต่างชาติขึ้นศาลไทยและไม่ยอมให้เก็บภาษีเกินร้อยละ ๓ ซึ่งแต่เดิมเคยเก็บได้ถึงร้อยละ๑๕ ซึ่งข้อสัญญาดังกล่าวเป็นปัญหาให้กับคนไทยมาช้านาน เพราะไม่อาจทำให้ประเทศสยามก้าวหน้าไปไหนได้ ซึ่งสัญญาที่เป็นปัญหาหนัก ก็คือ “สนธิสัญญาเบาริ่ง” ที่ทำในสมัยรัชกาลที่ ๓ และ “สนธิสัญญาเบอร์นี่” ในรัชกาลที่ ๔ ซึ่งประเทศสยามมีข้อเสียเปรียบ.."
.
"..แต่เราถือว่าโชคดีนะ ในสมัยรัชกาลที่๖ ประเทศสยามได้ตัดสินใจครั้งสำคัญได้ร่วมส่งทหารไปรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑ รวมถึงประกาศสงครามกับประเทศเยอรมัน นับว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องทีเดียวเมื่อชนะสงคราม ประเทศสยามถือโอกาสนี้เจรจายกเลิกสัญญาที่ถูกเอาเปรียบทั้งสองฉบับ โดยมี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์เป็นผู้ทำการเจรจา ซึ่งกว่าจะสำเร็จก็กินเวลานานพอสมควร เพราะการเดินทางในสมัยนั้นยากลำบากมาก .."
.
"..หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ ประเทศสยามจึงเรียกร้องให้มีการ ยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งในขณะนั้น มีเพียงประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้นที่ยอมโดยดีด้วยอาจเป็นเพราะท่านเป็นบุตรเขยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และอีก๑๐ประเทศ ต่อมา โดยประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศสดูจะยุ่งยากเนื่องจากเขาก็รักษาผลประโยชน์เขาอย่างเหนียวแน่น และยากด้วยการเดินทางแต่..ก็สำเร็จนะ.."
ชายผู้เป็นอายิ้มด้วยรู้สึกภูมิใจแทนคนไทยในขณะนั้น
แล้วกล่าวต่อไปว่า
.
“พระยากัลยาณไมตรี”〰️🌸
.
"หมายถึงมิตรภาพอันงดงามที่ทั้ง ๒ ฝ่ายมีต่อกัน เป็นบรรดาศักดิ์ที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระราชทาน"
.
"นอกจากนั้น ดร.แซร์ ยังได้ทูลเกล้า ฯ ถวายร่างรัฐธรรมนูญต่อในหลวงรัชการที่๗ ฉบับหนึ่ง มีอยู่ ๑๒ มาตราแต่ยังไม่ได้นำมาใช้ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง๒๔๗๕เสียก่อน"
.
 "ถึงแม้แต่จะท่านลาออกจากราชการกลับไปสหรัฐอเมริกาแล้วก็ตาม ก็ยังคงติดต่อกับคนไทย และช่วยเหลือในกิจการทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับเมืองไทย โดยดำรงตำแหน่งผู้แทนประเทศสยามประจำศาลอณุญาโตตุลาการณ กรุงแฮกประเทศเนเธอแลนด์ เมื่อพ.ศ.๒๔๗๒"
.
"ในช่วงท้ายของชีวิตท่านก็ได้กลับมาประเทศไทยถึง๒ครั้ง
ครั้งแรกเป็นแขกรับเชิญของรัฐบาลไทยมาร่วมในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษา ในหลวงรัชกาลที่๙ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ และได้รับพระราชทานเหรียญพระบรมนามาภิไธยย่อของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช เหรียญรัตนาภรณ์ชั้นที่๑ "
.
"ครั้งที่สองในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ท่านได้เดินทางมาเยี่ยมเมืองไทยเป็นครั้งสุดท้าย ดูเสมือนจะมาดูเมืองไทยเป็นครั้งสุดท้าย ในโอกาสนี้ท่านและภริยาได้ไปเยี่ยมจังหวัดสงขลา เพื่อเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคาร “กัลยาณไมตรี” ที่โรงเรียนสงขลาวัฒนา
และบริจาคเงินเป็นสาธารณะกุศลด้วย นับว่าเป็นชาวต่างชาติที่สร้างคุณให้กับประเทศไทยมาก"
.
"อาเชื่อว่าสยามเรามีบุญนะที่ได้บุคคลที่มีความจริงใจ
มาช่วยเหลือในยามยาก อาจเป็นด้วยที่ท่านเห็นคนไทยมีความจริงใจ"
.
"นั่นสิครับอา"เด็กทั้งสองคล้อยตาม
.
"เขายังรักประเทศเราได้ แล้วทำไมเราจะมีเหตุผลใดที่จะไม่รักประเทศเราเลย"เด็กหนุ่มชาวญี่ปุ่นพูด
.
"นายเป็นคนไทยตั้งแต่เมื่อไร"อาโปเพื่อนเกลอเย้า
.
"..ก็ตั้งแต่ติดโควิดแล้วกลับบ้านไม่ได้ไง.."
.
"..งั้นก็อยู่ตลอดไปเลยแล้วกัน"
.
"เอางั้นเลย"
.
"อื้อ.."
.
"..อาอิยะไปกินซูชิกัน สงสารคนไกลบ้าน"เด็กหนุ่มอาโปชวนชายหนุ่มผู้เป็นอา
.
"ไปสิ.. เดี๋ยวค่อยกลับมาเก็บงานอีกหน่อย อืม..แวะไปเดินถนนกัลยาณไมตรีด้วยเลย ตึกแถวนั้นคลาสิคดี คงได้รูปสวยๆ.."
.
"ไปครับ คนไทยใจดีที่สุด"นาวะเด็กญี่ปุ่นยิ้มตาหยี
.
เด็กหนุ่มทั้งสองกอดคอกันลงบันไดไปยังทางออกพิพิธภัณฑ์ เย้ากันอย่างร่าเริง
.
ปล่อยให้ผู้เป็นอา ส่ายหน้าอมยิ้มเอ็นดูในความรักกันของทั้งสองเกลอ
.
เขาเหลียวมองรูปภาพชายชาวอเมริกัน ที่ชื่อฟรานซีส บี. แซร์ ก่อนจะลงบันไดไผยังชั้นบ่างของพิพิธภัณฑ์
.
"ขอบคุณแทนคนไทยทั้งชาติขอรับ
ท่านเจ้าคุณ.."
.
.
.
.
ขบถ~ยาตราเล่าเรื่อง
..〰️🌸
~แรงบันดาลใจจากการชมพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
~ผู้เขียนเล่าในฐานะผู้ชมนิทรรศการไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์
..
ส่วนเสริม〰️🌸
โฆษณา