24 ม.ค. 2021 เวลา 01:30 • การศึกษา
สถานที่ที่บั้นปลายชีวิตของทองมีคนเข้าใจ
#ถึงจะทองแต่ตัวไม่ทอง ตอนที่:2
...
SMITHSONIANMAGAZINE
พิพิธภัณสัตว์น้ำแห่งหนึ่งในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส รับเลี้ยงปลาทองตาดำๆ จำนวนมาก จากผู้คนที่ไม่ต้องการพวกมันแล้ว
แทนที่น้อนๆ จะถูกทิ้งขว้างตามแหล่งน้ำ หรือโยนให้ปลาอื่นกิน แม้กระทั่งถูกฆ่า พวกมันกลายเป็นจุดเด่นในพิพิธภัณฑ์ ที่คนที่มาเยือนทุกคนไม่ควรพลาด
แท้งค์ยักษ์ขนาด 4 หมื่นลิตรเป็นที่สิงสถิตย์ของปลาทองจำนวนมหาศาล ที่ทุกคนที่ไปเยือนพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำปารีส (Paris Aquarium) จะต้องสะดุดตา ในสีสันและความน่ารัก
ภายในมีปลาทองหลากหลายสายพันธุ์อยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขภายใต้การดูแลอย่างดีจากเจ้าหน้าที่
connexionfrance
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำปารีสถือเป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำที่ใหญ่ที่สุดในปารีส และนอกจากจะรับเลี้ยงแล้ว ยังรับฝากปลาทองสำหรับคนที่ต้องการไปเที่ยวในวันหยุดยาว
แม้ปลาทองจะไม่ใช่ปลาแปลกประหลาดอะไร และพิพิธภัณฑ์ส่วนมากก็ไม่เลี้ยงปลาทองโชว์เพราะพวกมันไม่มีอะไรพิเศษ แต่สำหรับที่นี่พวกมันมีคนรัก และมีความสุข
ปลาทองทุกตัวที่มาพักที่นี่จะได้รับการตรวจสุขภาพอย่างดี ว่าพวกมันนำเชื้อโรคหรือปรสิตแฝงมาด้วยไหม โดยจะมีการกักตัวเพื่อดูอาการเป็นเวลา 1 เดือน หากพบว่ามีโรคก็จะทำการรักษาจนหาย ก่อนจะปล่อยไปรวมกับเพื่อนร่วมแท้งค์
Joel Saget August 17, 2018
บางตัวที่แรกเข้ามาอยู่ที่นี่ก็อ่อนแอจนเกือบเอาชีวิตไม่รอด กล่าวโดย Celine Bezault ผู้ดูแลแสนใจดีที่รับผิดชอบแท้งค์ปลาทองยักษ์แห่งนี้
ไม่น่าแปลกใจที่มีผู้แวะเวียนมาใช้บริการอุปการะปลาทองที่นี่ตกเดือนละ 50 คน จนมีปลาทองในแท้งค์แล้วร่วมๆ 1000+ ตัว และโดยมากจะเป็นปลาทองธรรมดา จำพวกหางปลาทูสีส้มๆ ทั่วๆ ไป รองลงมาคือจำพวกริวกิ้น
เนื่องจากพวกมันเป็นสัตว์สังคม การที่ได้อยู่ในที่ขนาดใหญ่ยักษ์และมีเพื่อนฝูงมากมาย ทำให้ที่นี่เป็นสถานที่ๆ เหมือนสวรรค์ของพวกมัน
นักเลี้ยงมากมายจากลาปลาที่รักด้วยน้ำตา ด้วยความห่วงกังวลต่างๆ นานา และบางคนก็โล่งอกที่ได้กำจัดในสิ่งที่พวกเข้าไม่ต้องการให้พ้นจากบ่วงชีวิต บางคนที่โล่งใจที่จะไม่ต้องซื้ออาหารให้อีก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เมื่อพวกมันมาถึงที่นี่แล้ว ถือว่าดียิ่งกว่าเลี้ยงไว้เองที่บ้านอีก
อย่าหาว่าน้อนตัวเล็ก เมื่อมีอาหาร มีน้ำที่มีคุณภาพดีเยี่ยม มีอากาศเพียงพอ มีบริเวณกว้างขวาง พวกมันก็เริ่มจะพัฒนาร่าง ขยายตัวจนไม่น่าเชื่อ บางตัวสามารถใหญ่ได้ถึง 30 cm. และนี่เป็นเรื่องปกติมาก สำหรับปลาทุกตัวที่ได้เริ่มชีวิตใหม่ที่นี่
Joel Saget, AFP August 17, 2018
Eduardo Da Forno ผู้จัดการของพิพิธภัณ์ กล่าวว่า คนมากมากที่พาปลามาฝากที่นี่ ส่วนมากจะเป็นกลุ่มพ่อแม่ที่ซื้อปลาให้ลูกเลี้ยงจากงานเทศกาลรื่นเริงต่างๆ หรือได้จากการจับรางวัล หรือเกมช้อนปลา แต่ขาดความรู้ในเรื่องการดูแล พวกเขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่าต้องเลี้ยงในภาชนะแบบไหน หรือน้ำอะไร ปลาพวกนี้จึงต้องมาลงเอยที่นี่ โดยนักเลี้ยงปลาที่ดีควรคำนึงถึงขนาดของปลาที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต และ อายุของปลาที่ยืนยาวถึง30 ปี
พิพิธภัณฑ์ได้อุทิศแท้งค์ใหญ่ 3 แท้งค์ ที่มีปลาทอง และปลาร่วมตู้อื่นๆ อย่าง ปลาคาร์ฟ และ ปลาสเตอร์เจียน เป็นต้น โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะทำการเลี้ยงต่อไปเพื่อให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงปลาที่ถูกต้องในประชาชนได้รับรู้
ปลาทอง เลี้ยงแล้วอย่าทิ้งขว้างลงแหล่งน้ำนะคะ เป็นสัตว์ที่เป็นเอเลี่ยนสปีชี่ส์ เบียดเบียนสัตว์ในแหล่งน้ำท้องถิ่น ทำให้สัตว์น้ำท้องถิ่นลดจำนวนหรืออาจถึงขั้นสูญพันธุ์
รณรงค์ ให้ทุกๆ ท่านที่คิดเลี้ยงปลา อย่านำปลาต่างถิ่นปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติค่ะ
เรียบเรียงโดย โลกสีฟ้าป. ปลาตัวจิ๋ว
วันที่: 24/01/64
FB page:
อ้างอิง/ references

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา