22 ม.ค. 2021 เวลา 06:19 • หุ้น & เศรษฐกิจ
5 นิสัยแย่ ๆ ทางการเงิน ที่ควรเลิกทำต้อนรับปีใหม่นี้!
เมื่อก้าวเข้าสู่ปีใหม่ หลายคนคงเริ่มตั้งเป้าหมายประจำปี New Year's resolution
ทุกๆปีเราก็ต้องมาคิดว่าจะทำอะไรดี ทั้งเรื่องความสัมพันธ์กับคนรอบตัว สุขภาพ การทำงานการเรียน การใช้ชีวิต หรือเรื่องการเงิน เพื่อเป็นเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนชีวิตให้ดียิ่งขึ้น
และพัฒนาตัวเองสู่ความสำเร็จ
แต่ก่อนจะตั้งเป้าหมายเรื่องการเงิน เรามาปรับเปลี่ยน 5 นิสัยแย่ ๆ ทางการเงิน
ก่อนเริ่มต้นเป้าหมาย New Year's resolution เพื่อรักษาเป้าหมายทางการเงิน ให้สามารถเกิดขึ้นจริงและประสบความสำเร็จกันก่อนดีกว่า
1. เลิกวางแผนการเงินแบบคร่าว ๆ
1
หลายคนตั้งเป้าหมายการเงิน วางแผนทางการเงินว่าสิ้นปีนี้ต้องลงทุน 500,000 บาท หรือ
ปีนี้ต้องออมเงิน 100,000 บาท ให้สำเร็จ ซึ่งเป็นการตั้งเป้าหมายแบบคร่าว ๆ แต่ขาด
วิธีการที่ชัดเจน
หากสิ้นปีนี้ต้องลงทุน 500,000 บาท ลองเปลี่ยนเป็น ลงทุนเพื่อดาวน์บ้าน 400,000 บาท (บ้านราคา 2,000,000 บาท ดาวน์ 20%) ระยะเวลาประมาณ 3 ปี
หรือลงทุนในทรัพย์สิน ประเภท เงินฝาก ตราสารหนี้ ตราสารทุน จัดพอร์ตให้เหมาะสมใน
ระยะ 1-3 ปี (ควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการลงทุน) เงินลงทุนมาจาก
เงินเดือน 50,000 บาท หักลงทุน 20% ต่อเดือน เท่ากับ 10,000 บาทต่อเดือน ภายใน 3 ปีเท่ากับ 360,000 บาท คาดหวังผลตอบแทน 40,000 บาท เป็นการวางแผนการเงินที่ลงราย
ละเอียด ทำให้เห็นภาพชัดเจน สามารถประเมินความเป็นไปได้และทำสำเร็จได้จริง
2. เลิกใช้ก่อนเก็บ
1
เงินเดือนเข้าทีไร มีเรื่องให้ต้องใช้จ่ายก่อนตลอด รู้ตัวอีกทีก็ไม่มีเงินเหลือเก็บแล้ว
จากนี้ลองเปลี่ยนมาใช้สูตรออมเงินอย่างมีประสิทธิภาพด้วยสมการดังนี้
เงินเดือน - ออมเงิน - ค่าใช้จ่ายจำเป็น = เงินใช้จ่ายต่อเดือน
3
เมื่อได้รับเงินเดือน 25,000 บาท หักเงินออมประมาณ 10% ถึง 20%
(2,500 – 5,000 บาท) หักค่าใช้จ่ายจำเป็นเช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าบ้าน ค่ารถ ค่าเดินทาง ค่าอาหาร และอื่น ๆ ประมาณ 40% ถึง 60% (10,000 – 15,000 บาท)
จะเหลือเงินใช้จ่ายสำหรับความบันเทิง ซื้อสิ่งของฟุ่มเฟือยประมาณ 20 ถึง 30%
(5,000 – 7,500 บาท)
3. เลิกลงทุนโดยไม่ศึกษาหาความรู้
อยากใช้เงินทำงาน อยากต่อยอดเงินออมที่มีให้งอกเงย หลายคนจึงเลือกที่จะนำเงินไปลงทุน ซึ่งก็ดูเหมือนมาถูกทางแล้ว แต่ข้อควรระวังก็คือการลงทุนตามคนอื่นโดยคาดหวังผลตอบแทนสูง ในผลิตภัณฑ์ทางการเงินอย่าง หุ้น กองทุน และอื่น ๆ ทั้งที่ยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับ
เงื่อนไขรายละเอียดการลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีต ความเสี่ยง ผลตอบแทนในอดีต เป้าหมายการลงทุนคืออะไร สไตล์การลงทุนคืออะไร ซึ่งจะนำมาสู่การขาดทุน หรือหนักไปกว่า
นั้นคือโดนมิจฉาชีพหลอก บางครั้งการฝากเงิน รับดอกเบี้ย 1% โดยไม่ทำอะไรเลย
อาจจะเป็นเรื่องที่ดีกว่าการลงทุนโดยไม่ศึกษาหาความรู้
2
4. เลิกใช้จ่ายเกินตัว
เข้าตำรา รายได้ต่ำแต่รสนิยมสูง มักใช้จ่ายไปกับสินค้าฟุ่มเฟือย สินค้าออกใหม่เช่น
กระเป๋า รองเท้า เสื้อผ้า อุปกรณ์ไอที รวมทั้งการท่องเที่ยว โดยไม่แบ่งสัดส่วนการใช้จ่าย
ให้ชัดเจน ก่อให้เกิดหนี้สินบัตรเครดิต ได้เวลาตั้งสติ ควบคุมอารมณ์ ถามตัวเองให้ชัดว่า
จำเป็นไหม เหตุผลคืออะไร และแบ่งสัดส่วนให้ชัดเจน เช่น 20 ถึง 30%
ของเงินเดือนให้แบ่งไว้ใช้จ่ายตามใจ
3
5. เลิกก่อหนี้สินเกินตัว
การเป็นหนี้เกิดจากพฤติกรรมการบริโภค นิสัยใช้เงินเกินตัว ด้วยการยืมเงินในอนาคตมาใช้
เราจะต้องเสียดอกเบี้ยให้บัตรเครดิตประมาณ 20% ต่อปี เพราะฉะนั้นอย่าปล่อยให้หนี้ทับถม จนต้องเอาเงินจากบัญชีออมเงินมาใช้ หรือกู้เงินครอบครัวคนใกล้ชิด ควรเริ่มประเมินความ
สามารถในการจ่ายหนี้ เช่น ทำบันทึกรายรับรายจ่าย ว่ามีเงินเพียงพอในการจ่ายดอกเบี้ยบัตรเครดิตหรือไม่ และเรียนรู้วิธีการใช้บัตรเครดิตอย่างมีประโยชน์
1
ชอบ "กดถูกใจ" ใช่ "กดแชร์"
แล้วพบกับบทความดี ๆ จาก SkillLane อีกมากมาย
กดติดตามไว้ได้เลย!
โฆษณา