23 ม.ค. 2021 เวลา 10:50 • การเกษตร
เรื่องของจุลินทรีย์
จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photosynthetic bacteria:PSB)...ตอนที่ 2
การทำหัวเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
เตรียมน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ
ขั้นตอนการเตรียมน้ำ
นำน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ห้วย หนอง คลองบึง ซึ่งจะมีจุลินทรีย์อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ (แต่ไม่ควรใช่น้ำประปาเพราะไม่มีจุลินทรีย์หรือมีก็จะมีในปริมาณน้อยมาก เอามาเพาะเลี้ยงแล้วอาจไม่สำเร็จ) นำน้ำกรอกใส่ขวด ควรเป็นขวดที่ทำจากวัสดุโปร่งแสง ไม่ทึบ ไม่ต้องกรอกให้เต็ม เว้นที่ว่างไว้เล็กน้อย
ส่วนผสม
ส่วนผสมการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
1.ไข่ 2 ฟอง
2. น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
3. ผงชูรส 2 ช้อนโต๊ะ
ทั้งหมดนี้สามารถทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงได้ประมาณ 6-7 ขวด (ใช้ขวดขนาด 1.5 ลิตร) สามารถลดหรือเพิ่มปริมาณส่วนผสมได้ตามสัดส่วน เช่น ไข่:น้ำปลา:ผงชูรส เป็น 1 ฟอง :1 ชต. :1 ชต.
นำส่วนผสมมารวมกัน
นำส่วนผสมมารวมกัน โดยตอกไข่ใส่ในภาชนะที่เตรียมไว้ ตีไข่ให้เข้ากัน จากนั้นเติมน้ำปลาลงไปตามด้วยผงชูรส แล้วคนให้เข้ากัน ส่วนผสมนี้เราจะใช้สำหรับเป็นอาหารของจุลินทรีย์ เมื่อจุลินทรีย์ได้รับอาหารก็จะขยายจำนวนเพิ่มมากขึ้น
นำส่วนผสมที่รวมกันแล้ว ตักใส่ในขวดที่ใส่น้ำไว้แล้ว โดยใส่ส่วนผสมประมาณ 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 ขวด หลังจากนั้นปิดฝาและเขย่าขวดให้ส่วนผสมกระจายให้ทั่วขวด เราสามารถนำเปลือกไข่มาบี้ให้ละเอียด แล้วใส่ผสมลงในขวดได้ โดยแบ่งใส่ขวดละเท่าๆกัน
นำขวดน้ำที่ผสมกันเรียบร้อยแล้วมาวางให้โดนแดด ให้คอยเขย่าขวดเพื่อให้ส่วนผสมกระจายทั่วถึงวันละ 1-2 ครั้ง วางไว้ในที่มีแดดตลอดวัน
ผลการทดลอง
10 ม.ค. วันแรก หลังจากนำส่วนผสมใส่ในน้ำที่เตรียมไว้
16 ม.ค. หลังจากผ่านไป 6 วัน
6 วันผ่านไปยังมองเห็นความเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก แต่เมื่อเปิดฝาดูจะมีเสียงแก๊สดังออกมา
23 ม.ค. ผ่านไป 13 วัน
13 วันผ่านไป มีบางขวดที่เริ่มมองเห็นความเปลี่ยนแปลงคือสีจะเริ่มเป็นสีชมพูอ่อนๆ บางขวดจะดูแฟ่บลง เนื่องจากมีแก๊สเกิดขึ้น นั่นแสดงว่าจุลินทรีย์มีการกินอาหารเยอะขึ้น สังเกตขวดหมายเลข 1 จะเริ่มมีสีชมพูอ่อนๆ
31 ม.ค.
7 ก.พ. ขวดที่เป็นเริ่มมีสีแดงชัดเจนขึ้น
20 ก.พ. มีสีแดงเกือบทุกขวด
3 เม.ย. สีแดงเข้มขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงเพิ่มเติม ตามลิงก์ด้านล่าง
โฆษณา