25 ม.ค. 2021 เวลา 05:08 • ประวัติศาสตร์
เซอร์ วิลเลี่ยม วอลเลซ ( Sir William Wallace)
"เอกราชที่ต้องแลกด้วยชีวิต
วีรบุรุษแห่งสกอตแลนด์"
เซอร์ วิลเลี่ยม วอลเลซ
- 23 สิงหาคม พ.ศ. 1848 คือวันพิพากษา "วิลเลี่ยม วอลเลซ"  วีรบุรุษของชาวสก๊อตแลนด์ ผู้นำการต่อสู้เพื่ออิสระภาพจากการรุกราน
- การปกครองที่กดขี่ข่มเหงของอังกฤษจนได้รับ เอกราช และถูกยกย่องให้เป็น วีรบุรุษในประวัติศาสตร์ของสก็อตแลนด์ มาจวบจนเท่าทุกวันนี้
- วอเลช เกิดในรัชสมัยของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์โดยปราศจากโอรสมาสืบทอดราชบัลลังก์ “เจ้าหญิงมาการ์เร็ต” ซึ่งเป็นพระราชนัดดาวัยเพียง 4 พรรษา จึงต้องขึ้นครองราชย์
- โดยมีคณะผู้สำเร็จราชการแทน ต่อมา “พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1” แห่งอังกฤษได้มีความพยายามจับคู่เจ้าหญิงกับโอรสของตนโดยอ้างเพื่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างสก็อตแลนด์กับอังกฤษ หากแต่เจ้าหญิงซึ่งในตอนนั้นอายุ 20 พรรษากลับสิ้นพระชนม์เสียก่อน
- เหตุการณ์จึงตามมาด้วยความวุ่นวาย การแก่งแย่ง และการอ้างสิทธิในการครอบครองบัลลังก์
- เนื่องจากสก็อตแลนด์ในยุคนั้น ถึงแม้จะมีกษัตริย์ปกครองตนเอง แต่ถึงอย่างไรก็ยังคงอยู่ภายใต้อาณัติของอังกฤษ
- “พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1” จึงถูกทูลเชิญให้มาร่วมตัดสินว่า ใครคือผู้ที่สมควรได้ครองบัลลังก์ สุดท้ายก็มาลงเอยที่ “จอห์น บาลิออล” เป็นผู้ถูกเลือกให้ขึ้นครองราชย์เป็นคนต่อมา
- แรกๆ บ้านเมืองก็ดูปกติดี แต่ในภายหลัง เพราะความต้องการแผ่อิทธิพล “พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1” ได้เข้ามาแทรกแซงการเมืองการปกครอง
- และนี้ได้เป็นเหตุที่ทำให้ประชาชนชาวสก็อตเดือนร้อน และเป็นชนวนให้เกิดความขัดแย้งรุ่นแรงถึงขั้น พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 ยกทัพเข้าโจมตีและยึดเมืองไปได้ในที่สุด
พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1
- ชาวสก็อตแลนด์ในยุคนั้น ถูกมองผ่านสายตาของอังกฤษว่า ขาดซึ่งความศิวิไลซ์ ด้อยพัฒนา จึงเป็นเหตุให้เกิดการบัญญัติ
“กฏหมายการกลืนชาติ”
- โดยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 อนุญาติให้ขุนนางของอังกฤษสามารถครอบครองที่ดินของชาวสก๊อตได้ และที่ร้ายไปกว่านั้นคือ เจ้าสาวชาวสก๊อตที่แต่งงานวันแรกทุกคน ต้องผ่านการร่วมหลับนอนกับเหล่าขุนนางของชาวอังกฤษเสียก่อน เรื่อง “สิทธิมนุษยชน” เป็นอย่างไร ในตอนนั้นคงไม่ต้องพูดถึง
- แล้วสถานการณ์ก็สร้างวีรบุรุษตามสูตรสำเร็จ "วิลเลี่ยม วอลเลซ" ได้ก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญในยุคนั้น
- เขาคือผู้ปลุกเร้าชาวสก็อตให้ยืนหยัดลุกขึ้นสู้จากการถูกอังกฤษกดขี่ข่มเหง เขาคือผู้ปลุกกระแสความรักชาติให้เกิดแก่ชาวบ้านตาดำๆ ที่ไร้ซึ่งผู้นำโดยแท้จริง
- "ท่านจะทำอย่างไรเพื่อเอกราช จะร่วมรบกับเราไหม ถ้ารบท่านอาจตาย หนีท่านอาจรอด อย่างน้อยก็สักพักหนึ่ง และนอนตายบนเตียง แต่ถ้าท่านพร้อมจะแลกวันเหล่านั้นทั้งหมด กับวันนี้เพื่อโอกาสเดียวเอกราช”
คือหนึ่งในประโยคปลุกเร้าที่ “วิลเลี่ยม วอลเลซ” ใช้และนำมาซึ่งชัยชนะในช่วงเริ่มต้นของการต่อสู้
- ท่ามกลางความแตกแยกของราชวงค์สก็อต และเหล่าขุนนางซึ่งต่างพากันหันไปประจบสอพลอพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 เพื่อความอยู่รอด
- ต่อมาไม่นาน วอลเลซ ก็สามารถปลดปล่อยเมืองกลาสโกว อเบอร์ดีน เพิร์ท สกอน ดันดี และที่ได้รับการกล่าวขานเป็นพิเศษคือ การสู้รบกับทหารอังกฤษที่ สะพานสเตอร์ลิง เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ.1840 ซึ่งเล่ากันว่า กลศึกในคราวนั้น “วิลเลี่ยม วอลเลซ” มีไพร่พลแค่หยิบมือ
- หากแต่สามรถเอาชนะข้าศึกที่มีกำลังพลหมื่นกว่าคน โดยวิธีปล่อยให้ทหารอังกฤษตายใจแล้วเคลื่อนขบวนข้ามสะพานมาจนเกือบหมด จากนั้นจึงจู่โจมโต้กลับอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้ทหารอังกฤษต่างพากันถอยล่นกลับคืน และอัดแน่นกันอยู่กลางสะพานจนหักและร่วงหล่นลงน้ำเสียชีวิตและพ่ายแพ้ในที่สุด
- ผลพวงจากศึกในครั้งนี้ว่ากันว่า สร้างขวัญกำลังใจ ให้ชาวสก็อตลุกฮึดขึ้นสู้เพื่อชาติเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว นอกจากนั้นในการณ์นี้ “วิลเลี่ยม วอลเลซ” ยังได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางระดับ “เซอร์” โดย “พระเจ้าจอห์น บาลิออล” กษัตริย์แห่งสก็อตแลนด์
2
- ซึ่ง ณ ขณะนั้นถูกคุมขังอยู่ที่ลอนดอน แต่ถึงอย่างไรก็ทรงได้มอบหมายให้ “วิลเลี่ยม วอลเลซ” กอบกู้ชาติบ้านเมือง และได้รับการขนานนามว่าเป็น “ผู้พิทักษ์และแม่ทัพใหญ่แห่งสก็อตแลนด์”
- หกเดือนต่อมา การแสดงศักยภาพในการรบด้วยกำลังพลที่มีอยู่ของ “วิลเลี่ยม วอลเลซ” ดำเนินการไปอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายการโจมตีอังกฤษที่ทางตอนเหนือ
- วัตถุประสงค์ก็เพื่อจะแสดงให้เห็นเขี้ยวเล็บของชาวสก็อตแลนด์ว่า ยังมีความแข็งแกร่ง ไม่ใช่ง่ายที่จะมารุกรานเหมือนเมื่อครั้งในอดีต
- “พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1” ทรงกริ้วเป็นอย่างมาก ประกาศตามบดขยี้ข้าศึกชาวสก็อตอย่างเต็มที่ โดยมีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่ตัว “วิลเลี่ยม วอลเลซ”
- ว่ากันว่า “พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1” เล่นแรงถึงขนาด “วิลเลี่ยม วอลเลซ” ต้องล่าถอยไปตั้งหลักพร้อมเข้าหาแนวร่วม(เท่าที่มีอยู่)คือ “โรเบิร์ต บรูซ เอิร์ล” แห่งคาร์ริก และ “จอห์น โคมิน “แห่งบาดอร์นอร์ค ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้องเขยของ “พระเจ้าจอห์น บาลิออล” กษัตริย์แห่งสก็อตแลนด์
- ถึงแม้จะรู้ทั้งรู้ว่าทั้งสองคนนั้นยังคงปรองดอง(เพื่อความอยู่รอด)กับ “พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1” แต่ “วิลเลี่ยม วอลเลซ” ก็หาได้มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่านี้
- สุดท้าย “วิลเลี่ยม วอลเลซ” ก็โดนหักหลังโดยเหล่าขุนนางสก็อตออกอุบายให้ไปพบเพื่อเจรจาเข้าร่วมเพื่อทำการศึก
- 5 สิงหาคม พ.ศ. 1848“วิลเลี่ยม วอลเลซ” ถูกจับและตั้งข้อหาเป็นกบฏต่อราชบัลลังก์อังกฤษ แต่เขา ก็มิได้ก้มหัวและยอมรับข้อกล่าวหาแต่ประการใด
- วิลเลี่ยม วอลเลช ได้กว่าวไว้ว่า
“ข้ามิได้เป็นกบฏต่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด เพราะข้าไม่ได้เป็นข้าแผ่นดินของอังกฤษ กษัตริย์ของข้าคือ พระเจ้าจอห์น บาลิออลแห่งสก็อตแลนด์พระองค์เดียวเท่านั้น”
- ท่ามกลางฝูงชนที่ต่างมาชุมนุมดูการพิพากษา ร่างของ "วิลเลี่ยม วอลเลช'  นอนทอดยาวอยู่บนแทนประหาร ในจำนวนนั้นมีกลุ่มผู้ร่วมอุดมการณ์ซึ่งแฝงตัวอยู่
- รวมไปจนถึงชาวสก๊อตบางส่วนที่มีใจเป็นเสรีชน ต่างภาวนาให้เขายอมรับและร้องขออภัยโทษ เพื่อที่จะได้หลุดพ้นและไม่ต้องทรมานอีกต่อไป
- หากแต่วลีสุดท้ายที่กู่ตะโกนสุดเสียงออกจากปากของ “วิลเลี่ยม วอลเลซ”ก่อนที่คมมีดจะบั่นคอของเขาคือ
"เอกราช"
- ต่อมา ในวันที่ “โรเบิร์ต บรูซ เอิร์ล” แห่งคาร์ริก ซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก “พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1” ให้ขึ้นครองราชย์สก็อตแลนด์
- ต้องจัดทัพเพื่อไปเคารพและรับราชานุมัติสวมมงกุฏเป็นกษัตริย์จากพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด “โรเบิร์ต” ถอดใจกับบัลลังก์เกียรติยศจอมปลอมที่ตนจะได้รับ จึงหันกลับไปยังกองทัพชาวสก็อตที่ตามมา
- และกล่าวว่า “พวกท่านเคยหลั่งเลือดร่วมกับวอลเลซ มาหลั่งเลือดกับข้าเถอะ…” เท่านั้นละครับ เหล่ากองทัพสก็อตต่างพร้อมใจตะโกนตอบรับ “วอลเลซ วอลเลซ วอลเลซ…” กันกึงก้อง
- แล้วเหล่าทหารหาญของชาวสก็อตก็ลุกฮือขึ้นสู้อีกครั้งอย่างถวายชีวิต จนได้รับ “เอกราช” สมใจในเวลาต่อมา
รูปปั้น วิลเลี่ยม วอลเลซ
โฆษณา