26 ม.ค. 2021 เวลา 15:43 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ทำไม ต้องติดมิเตอร์ แยก ให้รถยนต์ไฟฟ้า
จากการคาดการณ์ของสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) คาดว่าในปี 2579 ประเทศไทยจะมียานยนต์ไฟฟ้าถึง 1.2 ล้านคัน และหากมีตัวกระตุ้นที่ดีพออาจจะมีสูงถึง 2.28 ล้านคัน ดังนั้นการใช้ไฟฟ้าอาจเพิ่มสูงขึ้นราวๆ 1,851 MW/ปี จากรถยนต์ไฟฟ้า ทำให้ PEA เริ่มขยับตัวมากขึ้นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
กลับมาที่คำถาม ทำไมต้องติดมิเตอร์แยก ระหว่าง บ้านกับรถยนต์ไฟฟ้า ด้วย ???? คำตอบคือ แบตเตอรี่ที่มีขนาดใหญ่ถึง 75 kWh (อ้างอิงจาก Tesla) ทำให้กระแสขณะชาร์จไฟอาจสูงถึง 50 แอมป์ และแน่นอนว่าขนาดสายไฟฟ้าและมิเตอร์ที่บ้านอาจจะเล็กเกินไปแล้ว และต้องได้ปรับปรุงระบบไฟฟ้าภายในบ้านอย่างแน่นอนซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง
ดังนั้นปัญหานี้เลยถูกแก้ไขด้วยมาตรการติดมิเตอร์รถยนต์ไฟฟ้าแยกออกจากบ้าน อย่างไรก็ตามข้อดีของการติดมิเตอร์แยกนั้นมีมากกว่าที่คิด ซึ่งพอที่จะสรุปได้ดังนี้
ข้อดี
1. ประหยัดเงินจากการปรับปรุงระบบไฟฟ้าภายในบ้าน
2. สามารถดูข้อมูลการใช้ไฟฟ้าของรถยนต์ไฟฟ้าได้ชัดเจน
3. แยกบิลจ่ายค่าไฟฟ้าได้
4. มีมาตรฐานการติดตั้งเครื่องอัดประจุของการไฟฟ้าอ้างอิง ปลอดภัยมากขึ้น
ข้อเสีย
1. แบบมาตรฐานการติดตั้งตู้อัดประจุต้องเป็นไปตามมาตรฐานของ PEA กำหนดเท่านั้น
2. เสียค่าติดตั้งมิเตอร์ (ไม่แพง)
3. อัตราค่าไฟฟ้าจะเป็นแบบเดียวกันกับตัวบ้าน เลือกไม่ได้
4. มาตรฐานการชาร์จประจุอนุญาติให้เป็นชนิด 2 และ 3 เท่านั้น
ส่วนรายละเอียดสอบถามทางการไฟฟ้าใกล้บ้านท่านได้เลยครับ
ที่มา www.pea.co.th
โฆษณา