25 ม.ค. 2021 เวลา 15:09 • การศึกษา
#Gamification ตอนที่11
เวลาพูดถึงประโยชน์เกมมิฟิเคชั่น (Gamification) นั้น ปรกติเราจะมองกันว่า ก็เพื่อความสนุก หรือ เพื่อจูงใจให้คนอยากมาทำกิจกรรมของเรา ไม่ว่าจะมาสนุกกับการอบรมเรียนรู้ หรือ ในการทำงานบางอย่าง
แต่จริงแล้วอยากจะบอกว่า ความสนุก นี้ไม่ใช่เจตนาหลักของการใช้เกมมิฟิเคชั่นครับ
เพราะถ้าเราอยากให้กิจกรรมเราสนุก หรือ น่าสนใจ เราอาจใช้วิธีอื่นได้อีกมากมาย เช่น จ้างดารามาร่วมโปรโมทกิจกรรม ทำประชาสัมพันธ์ จัดอีเวนท์พิเศษ หรือกระทั่งแจกรางวัลผู้เข้าร่วม
นอกจากถ้าเราได้ถามตัวเองย้อนขึ้นไปอีกขั้นว่า ถ้ากิจกรรมมันดีอยู่แล้ว ทำไมเราต้องใส่เทคนิคของเกม (Gamify) เข้าไปเพื่อสร้างความสนุกด้วย
ดังนั้นเราต้องตอบตัวเองและเข้าใจก่อนว่า เกมมิฟิเคชั่นต่างจากวิธีอื่นตรงไหน เกมมิฟิเคชั่นช่วยด้านไหนกันแน่ และ เมื่อไหร่เราถึงควรจะใช้เกมมิฟิเคชั่น
เกมมิฟิเคชั่น ดียังไงกันแน่?
จุดเด่นของการออกแบบเกมต่างๆ คือ จิตวิทยาของการจูงใจให้คนเต็มใจมาเล่น (เพราะ เราไม่สามารถบังคับให้คนมาเล่นเกมเราได้) เล่นแล้วรู้สึกติด รู้สึกหงุดหงิดเวลาไม่ได้เล่น อยากกลับมาเล่นซ้ำๆ จนกระทั่งยอมเสียเงินและเสียเวลาเพื่อเล่นเกมเรา
แปลง่ายๆคือ เกมสามารถจูงใจให้เราเต็มใจ “ทำพฤติกรรม” บางอย่างได้ครับ เช่น เต็มใจยอมเสียเงินเติมเกม เต็มใจกลับมาเล่นเกมซ้ำๆ เต็มใจที่จะกลับเข้าในเกม เพื่อรูดนิ้วบนจอไปมาเป็นร้อยๆพันๆรอบ
นั่นคือ จริงแล้วเกมมิฟิเคชั่น คือการใช้เทคนิคทางจิตวิทยาจากเกม เพื่อมาสร้างแรงจูงใจ ให้คนรู้สึกเต็มใจ “ทำพฤติกรรม” บางอย่างนั่นครับ
ความสนุก คือต้นทางไปสู่พฤติกรรมที่เราต้องการ
ตัวอย่างเช่นเรามีระบบ Training Online อยู่ ซึ่งเราก็อยากให้พนักงานใช้เวลาว่าง มาเรียนรู้เพิ่มเติม แต่โปรโมทก็แล้ว บังคับก็แล้ว แต่พนักงานไม่ยอมเข้ามาทำ
ทั้งนี้ก็อาจเพราะ การนั่งเรียนมันน่าเบื่อ
เราเลยเลือกใส่เทคนิคเกมมิฟิเคชั่นเข้าไป เพื่อให้คนเรียน ได้รู้สนุกกับการอบรม ไม่เบื่อที่เวลานั่งเรียนออนไลน์ตัวคนเดียวเป็นชั่วโมง และ ยังอยากกลับมาเรียนซ้ำๆ
สรุป ประโยชน์ของเกมมิฟิเคชั่น คือ การสร้าง “พฤติกรรมที่พึงประสงค์ (Desired Behaviour) ให้เกิดขึ้นครับ
ส่วนจิตวิทยาในเกม และ เทคนิคการในการจูงใจ มันมีอะไรบ้าง ต้องทำอะไร เทคนิคไหนเหมาะกับกรณีไหน จะมาเล่าให้ฟังในตอนต่อๆไปครับ
โฆษณา