25 ม.ค. 2021 เวลา 15:33 • หุ้น & เศรษฐกิจ
Audit Failure ของ Carillion บริษัทอสังหาฯ ในอังกฤษ
เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2564 สำนักงานกลต. และ Institute of Directors ( IOD) ได้จัดสัมมนาเรื่อง Fraud Prevention & Detection ทาง FB Live
โดยได้ยกกรณีศึกษาบริษัท Carillion ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในประเทศอังกฤษ ซึ่งการจัดสัมมนาครั้งนี้มีข้อมูลและการเสวนาที่เป็นประโยชน์ โดยอยากให้สมาชิกเข้าไปติดตามกันได้ค่ะ https://www.facebook.com/ThaiIODFan/videos/2827200270850343
สำหรับผู้ที่ไม่มีเวลานั้น แอดขอสรุปคร่าวๆ มาให้ฟังกันนะคะ
Carillion เข้าจดทะเบียนใน London Stock Exchange ในปี 1999 ด้วยทุนจดทะเบียน 163 ล้านปอนด์ โดยทำธุรกิจเกี่ยวกับการรับเหมาก่อสร้าง และได้ประกาศล้มละลายในเดือนมกราคม 2018.... ทำให้พนักงานจำนวน 43,000 คนต้องออกจากงาน เจ้าหนี้ 1500 ล้านปอนด์ประสบปัญหาหนี้สูญ ไม่รวมถึงผู้ลงทุนที่คงจะสูญเงินทั้งจำนวน
เรามาลองดูพัฒนาการของบริษัทนี้กันนะคะ
ภายหลังการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ บริษัทฯ นโยบายการเติบโตโดยวิธี M&A หรือการ Take Over บริษัทอื่นๆ ค่ะ
ในปี 2006 ซื้อ MOWLEM ทำให้มี Goodwill ในงบการเงินจำนวน 430 ล้านปอนด์
ในปี 2008 ซื้อ Alfred McAlpine มี Goodwill จำนวน 630 ล้านปอนด์ โดยในปี 2008 GW คิดเป็น 30% ของสินทรัพย์รวม
ในปี 2011 ซื้อ Eaga มี Goodwill เพิ่มอีก 329 ล้านปอนด์ เพื่อขยายธุรกิจไปยังตะวันออกกลาง โดยสิ้นปี 2011 มี GW รวม 1,431 ล้านปอนด์คิดเป็น 40% ของสินทรัพย์รวม โดยที่ Equity มีเพียง 983 ล้านปอนด์
โดยการซื้อกิจการเป็นการซื้อโดยใช้การกู้เงินทำให้ Debt/Equity Ratio เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ
อย่างไรก็ดี กิจการที่ได้ไปซื้อมาไม่ได้ทำกำไรอย่างที่ตั้งใจไว้ และภาระหนี้สินของบริษัทที่ไปกู้ยืมมา ส่งผลให้บริษัทต้องล้มละลายไป... แต่ในระหว่างทางมีเรื่อง Accounting & Audit Issue ที่น่าสนใจทีเดียวค่ะ
เรามาลองดูทางด้าน Accounting กันก่อน
1. Revenue Recognition Policy - บริษัทมีนโยบายการรับรู้รายได้แบบเร่ง หรือเรียกว่า Aggressive – ฝ่ายบริหารประมาณการต้นทุนต่ำกว่าความเป็นจริง ทำให้มีกำไรในปีแรกๆ แต่พอจบโครงการมีผลขาดทุน ทำให้เกิดผลขาดทุนในปีหลังๆ
2. Revenue Recognition from Trade not Certified บริษัทมีงานเพิ่มจากการก่อสร้าง ลูกค้ายังไม่ได้เซนต์รับทราบ แต่บริษัทก็รับรู้รายได้ดังกล่าวไป่อน
3. Misclassification of Liabilities - จัดประเภทรายการหนี้สินไม่เหมาะสม มีการกู้เงินมาจ่าย Supplier แต่บริษัทจัดประเภทเงินกู้ดังกล่าวเป็นเจ้าหนี้อื่น และจัดประเภทกระแสเงินสดจากการกู้เงินเป็นกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ทำให้ประเมินผลการดำเนินงานผิดพลาด
4. Under Provision – จากการ Reaudit งบการเงินปี 2017 พบว่าสำรองในหลายรายการต่ำไป ประกอบด้วย การด้อยค่าลูกหนี้สัญญาก่อสร้าง 1,045 ล้านปอนด์, Goodwill 134 ล้านปอนด์, Pension 120 ล้านปอนด์ และขาดทุนสะสม 1,019 ล้านปอนด์
ดังนั้น หลังจากการปรับงบการเงินจึงไม่น่าแปลกใจที่บริษัทประกาศล้มละลายในเดือนมกราคม ปี 2018 ค่ะ ทั้งนี้ นอกเหนือจาก Accounting Issues แล้วยังมี Audit Failures ที่น่าใจไม่แพ้กันเลยค่ะ
1. Long Association แปลได้ว่ากิจการเป็นลูกค้าออดิตของสำนักงานสอบบัญชีเป็นเวลายาวนานถึง 19 ปี ซึ่งอาจทำให้เกิดอุปสรรคจากความคุ้นเคย และทำให้ผู้สอบบัญชีขาดความเป็นอิสระได้ อีกทั้งอดีต Financial Director ของบริษัท คือ Mr. Richard Adam ก็เคยเป็นอดีตพนักงานในสำนักงานบัญชีดังกล่าวด้วยเช่นกัน
2. ความรู้ความสามารถของผู้สอบบัญชีในธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง – เนื่องจากเป็นธุรกิจเฉพาะ จึงทำให้เกิดข้อสงสัยว่าผู้สอบบัญชีมีความรู้เพียงพอในการตรวจสอบประมาณการต้นทุนค่าสร้าง รวมถึงการใช้ผลงานผู้เชี่ยวชาญในการประเมินขั้นความสำเร็จของงานอย่างไร ทั้งนี้ รวมถึงการประเมินความเหมาะสมของนโยบายการบัญชีของลูกค้า รวมถึงการพิจารณาการจัดประเภทรายการใน Balance Sheet และงบกระแสเงินสด เป็นต้น
3. การหา Fair Value ของรายการใน Balance Sheet เช่น ลูกหนี้จากการก่อสร้าง Goodwill หรือแม้กระทั่ง Pension liabilities น่าจะมีข้อบกพร่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่มี Goodwill เป็นจำนวนที่สูงขนาดนี้ Auditor ต้องมี Red Flag มากๆ เลยทีเดียว
ดังนั้น เมื่อผู้สอบบัญชีล้มเหลว และมีการ Reaudit ใหม่ ส่งผลให้ต้องมีการ Restate งบการเงิน จนต้องตั้ง Impairment เพิ่มเติมจากการ Reaudit เป็นจำนวนถึง 1200 ล้านปอนด์ ในฝั่งสินทรัพย์ และตั้งสำรองฝั่ง Pension อีก 120 ล้านปอนด์
4. Group Audit - การ Take Over บริษัทในต่างประเทศ ทำให้ผู้สอบบัญชีหลักต้องมั่นใจว่าผู้สอบบัญชีในแต่ละประเทศหรือที่เราเรียกว่า Component Auditor ทำงานได้อย่างเหมาะสม มี Project ก่อสร้างที่เกิดขึ้นจริง
เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจที่กลตและ IOD นำมาฝากพวกเรา เพื่อเป็นข้อเตือนใจในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็น Business Stretegy ของบริษัท การตีมูลค่า Fair Value ณ วันซื้อ หรือกระทั่งการประเมินมูลค่า Goodwill หรือ A/R ทุกๆ สิ้นปี และการประมาณการต้นทุน และการประสานงานระหว่าง Group Auditor และ Component Auditor.... เรียกกันว่าดึงมาตรฐานการรายงานทางการเงิน และมาตรฐานการสอบบัญชีที่ยากๆ มาใช้ครบทุกฉบับเลยค่ะ
กรณีศึกษานี้จึงเปิดมุมมองชาว CPA Society Thailand ได้อย่างดีทีเดียวเลยค่ะ
#cpasocietythailand
ช่องทางติดตาม "CPA Society Thailand"
โฆษณา