25 ม.ค. 2021 เวลา 16:34 • ประวัติศาสตร์
Emile Durkheim and Social History
Emile Durkheim and the Historical Thought of Marc Bloch1
อีกหนึ่งจุดแบ่งสำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์ คือ แนวทางการศึกษาและงานของ Marc Bloch ผู้ซึ่งได้รับอิทธิลจากแนวคิดของนักสังคมวิทยาแนวโครงสร้างคนสำคัญอย่าง Emile Durkheim นั่นเป็นเหตุที่ทำให้งานของ Bloch มีจุดเด่นและได้ใช้เป็นจุดแบ่งระหว่างแนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์ที่สำคัญ  เนื่องจากแนวคิดของ Bloch จะมีอิทธิพลต่อนักประวัติศาสตร์ Annale school2
สำหรับ Bloch ที่ได้รับอิทธิพลจาก Durkheim จะให้ความสำคัญกับโครงสร้างทางสังคม (social structure) โดยเชื่อว่า โดยเชื่อว่าโครงสร้างทางสังคมนั้นมีอิทธิพลต่อตัวปัจเจกและสถาบันทางสังคม  เขาจะไม่ให้ความสำคัญกับการศึกษาประวัติศาสตร์โดยเน้นที่การศึกษาความคิดของคนนสังคมแบบที่พวก historicist ทำ นั่นเพราะเขาเชื่อว่ามันได้รับอิทธิพลมาจากโครงสร้างสังคมด้วยเช่นกัน3 โดย Bloch จะเริ่มต้นศึกษากลุ่มทางสังคมและถกเถียงถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกชนและองค์รวม  และเชื่อว่าสังคมจะมีอิทธิพลต่อสถาบันและระบบความเชื่อและแนวคิดของมัน  ทำให้ต้องศึกษาสังคมก่อนเป็นสิ่งแรก4
Bloch วิจารณ์การศึกษาที่มุ่งเน้นทำให้เป็นวิทยาศาตร์และการพยายามแบ่งแยกสาขาวิชา โดยเขามีความเชื่อเช่นเดียวกับ Durkheim ว่าสาขาวิชาต่างๆ สามารถศึกษาร่วมกันให้เกิดประโยชน์ได้  อย่างไรก็ตาม Durkheim ก็ยังคงตระหนักถึงความแตกต่างของวิธีการศึกษา5
งานศึกษาประวัติศาสตร์ยุโรปยุคกลางของ Bloch มีความโดดเด่นเป็นอย่างมาก  ด้วยแนวคิดที่ได้รับอิทธิพลจากทางสังคมวิทยา  โดยเฉพาะสังคมวิทยาโครงสร้างนิยมจาก Durkheim ทำให้งานของเขามีความโดดเด่นจากการศึกษาก่อนหน้าที่เน้นศึกษาเกี่ยวกับกษัตริย์และราชวงศ์เป็นตัวขับเคลื่อนประวัติศาสตร์   ทว่างานของ Bloch จะเน้นที่การศึกษาในส่วนของสังคมโดยเฉพาะ  การใช้หลักฐานของ Bloch ก็มีความหลากหลายไม่ได้เน้นแต่เพียงเอกสารทางราชการอย่างเดียว  ทว่าเน้นการสอบสวนพยาน  และสิ่งที่โดดเด่นอีกอย่างหนึ่งในงานของ Bloch คือ การใช้แนวทางการศึกษาเปรียบเทียบ
Durkheim และ Bloch จะระวังการอธิบายความเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ด้วย Man เพราะเชื่อว่ามัน flexible อีกทั้งยังอยู่ภายใต้อิทธิพลของโครงสร้างทางสังคม การเกิดปัจเจก (individual) ก็เกิดจากสังคมผ่านการ socialization และ social interaction
พัฒนาการของ social solidarity ตามแนวคิดของ Durkheim เชื่อว่าสังคมบรรพกาลสมาชิกจะมีความคิดและความเชื่อเหมือนๆ กันซึ่งทำให้พวกเขาเกิดแรงยึดเหนี่ยวทางสังคมซึ่งกันและกัน  เรียกว่าเป็น mechanical solidarity  ซึ่งก็สัมพันธ์กับกฎหมายที่เป็นแบบ repressive sanctions  ส่วนในสังคมสมัยใหม่การแบ่งงานกันทำจะเป็นแรงยึดเหนี่ยวทางสังคมของสมาชิก  ซึ่งเรียกว่า organic solidarity ซึ่งมีผลต่อกฎหมายของสังคมที่เป็นแบบ restitutive sanction  ซึ่ง Durkheim ก็ได้ใช้แนวคิดดังกล่าวในการอธิบายพัฒนาการทางสังคมจากบรรพกาลสู่สมัยใหม่  ส่วน Bloch ได้ใช้แนวคิดดังกล่าวเป็นหลักในการอธิบายสังคมยุคกลางของฝรั่งเศสในช่วงที่ก่อให้เกิดการ specialization
การประสานกันระหว่างโครงสร้างทางสังคมกับแรงยึดเหนี่ยวทางสังคมถูกเรียกว่าเป็น conscience collective ซึ่งเป็นรูปแบบของการก่อตัวของบุคลิกลักษณะ  ค่านิยม  และพฤติกรรม  โดยเป็นเสมือนความคิดและความรู้สึกร่วมของคนในสังคม  ซึ่ง Bloch ได้รับเอาแนวคิดดังกล่าวเข้ามาใช้ในงานประวัติศาสตร์ของเขาด้วย  ทำให้เขาสนใจศึกษาความคิด  ความรู้สึก  และตำนานเพื่อให้ได้รับรู้ถึงอารมณ์  ความรู้สึก  ความคิด  รวมถึงการกระทำร่วมของคนในสังคม  ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของ social systems และ social institution
ประเด็นที่ Bloch ถูกวิจารณ์ คือ เขาไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างปัจเจกกับสังคมที่เขานำเสนอว่าสังคมมีอิทธิพลต่อปัจเจก เขาไม่ได้แสดงว่าปัจเจกแชร์ความรู้สึกและความเชื่อจากสังคมอย่างไร  ต่างจาก Durkheim ที่ให้ความตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่าง socialization กับ individual personality
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ทั้ง Durkheim และ Bloch ถูกตั้งคำถามอย่างมากก็คือ ละเลยความสำคัญของปัจเจก  ลดสภาพให้เหลือเพียงสิ่งที่ถูกครอบงำโดยโครงสร้างสังคม  ไม่ให้ความสำคัญกับความคิดและการตัดสินใจของปัจเจก  โดยเชื่อว่าเป็นอิทธิพลที่มาจากสังคมเพียงอย่างเดียว6
แนวคิดและงานของทั้ง Durkheim และ Bloch มีคุณประโยชน์ในด้านการศึกษาโครงาสร้างสังคมอย่างเป็นองค์รวม  โดยเน้นที่ความสัมพันธ์ทางสังคม  การจัดการทางสังคมอันจะส่งผลต่อสถาบันและรูปแบบพฤติกรรมของคนในสังคม  โดยแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงแรงผลักดันจากความจริงทางสังคมที่มาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรและความเปลี่ยนแปลงทางสังคม  การอธิบายความแตกต่างของสังคมบรรพกาลกับสังคมสมัยใหม่ผ่านทางโครงสร้างของสังคมและเชื่อมโยงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงจากสังคมบรรพกาลไปสู่สังคมสมัยใหม่  ที่สำคัญคือ ทั้งสองมองว่าปัจเจกบุคคลและสถาบันของพวกเขาเป็นผลมาจากชีวิตทางสังคม (social life)7
Social Structure and Collective Consciousness: from The Division of Labor in Society8
การจะอธิบาย social solidarity ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความเป็นนามธรรมสูงนี้ได้  Durkheim จึงใช้ "กฎหมาย" ซึ่งมองเห็นเป็นรูปธรรมมากกว่ามาอธิบายความเปลี่ยนแปลงของ social solidarity  ดังนั้น กฎหมายจึงเป็นเสมือนสัญลักษณ์ที่เห็นได้ชัดเจนถึงความแตกต่างระหว่างสังคมบรรพกาลกับสังคมสมัยใหม่  ซึ่งทั้งสองสังคมนี้มี social solidarity ที่แตกต่างกัน9  ทว่าจากแนวคิดของ Durkheim ที่เชื่อว่า ความจริงทางสังคม (social facts) ประกอบด้วยส่วนที่เป็นโครงสร้าง (structures)และส่วนที่เป็นพลัง (forces)  โดยในส่วนของโครงสร้างทางสังคมก็จะแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนของกฎหมายและส่วนขององค์การบริหาร10
ในงานเรื่อง division of labor นี้  Durkheim แสดงให้เห็นว่ากฎหมายและแรงยึดเหนี่ยวทางสังคม (social solidarity) มีความสอดคล้องกัน  กล่าวคือ แรงยึดเหนี่ยวทางสังคมรูปแบบหนึ่งจะนำไปสู่รูปแบบกฎหมายหนึ่ง  และเมื่อแรงยึดเหนี่ยวทางสังคมเปลี่ยนแปลงไปก็จะทำให้กฎหมายเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย  โดยประเด็นสำคัญของ Durkheim ในงานนี้คือ เขาพยายามอธิบายให้เห็นว่า division of labor ในสังคมนั้นได้ก่อให้เกิดแรงยึดเหนี่ยวทางสังคมสมัยใหม่  ก็ย่อมส่งผลต่อกฎหมายตามไปด้วย
ในสังคมบรรพกาล เช่น กลุ่มชนเผ่าที่ล่าสัตว์หาของป่า สมาชิกในสังคมจะผูกพันกันด้วยแรงยึดเหนี่ยวทางสังคมอย่างหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นจากความเหมือนกันของพวกเขา  เนื่องจากสมาชิกทุกคนในกลุ่มต่างก็มีหน้าที่เดียวกัน  ลักษณะดังกล่าวเรียกว่า mechanical solidarity  สมาชิกในสังคมมีแรงยึดเหนี่ยวทางสังคมจากความเหมือนกัน  ทำให้ต่างก็มีความสำนึกร่วมกัน  ความผูกพันที่เกิดขึ้นก็เป็นลักษณะเครือญาติ  แรงยึดเหนี่ยวทางสังคมดังกล่าวนี้ ส่งผลเชื่อมโยงต่อโครงสร้างทางสังคมที่เห็นได้ชัดเจนคือ กฎหมาย  ลักษณะกฎหมายในสังคมเช่นนี้จะถือว่าผู้กระทำความผิดนั้นทำความผิดต่อสังคมส่วนร่วมทั้งหมด  การลงโทษจึงมุ่งที่จะให้ผู้กระทำผิดได้รับผลตอบแทนแบบตาต่อตาฟันต่อฟัน
ส่วนในสังคมสมัยใหม่  ผู้คนที่มีการแบ่งงานกันทำ  เมื่อเป็นเช่นนั้นสมาชิกของสังคมจะต้องพึ่งพาอาศัยกัน  ไม่เหมือนสังคมบรรพกาลที่สามารถพึ่งตนเองได้  การแบ่งงานกันทำดังกล่าวก่อให้เกิดความแตกต่างระหว่างสมาชิกในสังคม  ซึ่งความแตกต่างนี้เองที่เป็นแรงยึดเหนี่ยวของสังคมสมัยใหม่  ที่เรียกว่า organic solidarity ซึ่งแรงยึดเหนี่ยวดังกล่าวก็ส่งผลต่อระบบกฎหมาย คือ กฎหมายจะไม่ได้มุ่งตอบแทนผู้กระทำผิดและจะมุ่งแก้ไขสิ่งที่ได้กระทำผิดพลาดไป
การเปลี่ยนแปลงจากสังคมบรรพกาลไปสู่สังคมสมัยใหม่ที่ division of labor กลายเป็นแรงยึดเหนี่ยวทางสังคมสมัยใหม่  แต่ประเด็นสำคัญคือ การเกิดขึ้นของ division of labor  ซึ่ง Durkheim อธิบายว่า เกิดจากการเพิ่มจำนวนประชากรมากขึ้น  ทำให้ต้องเกิดการแบ่งอาชีพกันทำเพื่อที่จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไม่ขัดแย้งกัน
1
อย่างที่ได้กล่าวไปตอนต้นว่า ความจริงทางสังคมประกอบด้วยส่วนที่เป็นโครงสร้างและส่วนที่เป็นพลัง  ซึ่งส่วนที่เป็นพลัง Durkheim อธิบายว่าเป็นส่วนของความเชื่อทางศาสนาและวัฒนธรรม  ซึ่งการจะเชื่อมโยงโครงสร้างกับพลังได้นั้นจะต้องมี สำนึกร่วมทางสังคม (social consciousness)  ซึ่งก็คือ ความเชื่อและความรู้สึกที่คนในสังคมมีร่วมกัน  โดยในงาน division of labor นี้ Durkheim อธิบายสำนึกร่วมทางสังคมในสมัยบรรพกาลว่าเกิดจากความผูกพันธ์ทางเครือญาติ  เนื่องจากสมาชิกในสังคมมีจำนวนน้อยและต่างก็มีความผูกพันกันทางสายเลือด  ส่วนสำนึกร่วมของสังคมสมัยใหม่นั้นเป็นสำนึกเรื่องของเขตแดนที่ผูกมัดความเชื่อและความรู้สึกของคนในสังคมสมัยใหม่เอาไว้ด้วยกัน
โฆษณา