คนที่มีเงินส่วนใหญ่จะไม่ถือเงินไว้เฉยๆ
7 วิธีกับการใช้เงินดูดเงิน
.
- (1) โลกนี้มี “เงินเฟ้อ” ถือเงินไว้เฉย ๆ
ค่าเงินก็ลดลงโดยเฉลี่ยได้ประมาณ 2% ต่อปี
.
ในฐานะผู้บริโภคเงินเฟ้อนั้นจะทำให้เราซื้อของได้น้อยลงด้วยจำนวนเงินเท่าเดิม เพราะเงินเฟ้อถูกยกให้เป็นความเสี่ยงสำคัญเรื่องหนึ่ง สำหรับการลงทุนในสินทรัพย์แทบจะทุกประเภท
.
ปัจจุบัน ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดเป้าหมายของเงินเฟ้อ ไว้ที่ 2.5% (± 1.5%) หรือให้อยู่ในกรอบ 1-4%
.
- (2) มี “ถังน้ำหลายใบ” ย่อมช่วยลดความเสี่ยงได้ดีกว่า
.
ป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน ไม่ควรมีรายได้เพียงช่องทางเดียว แม้บริษัทใหญ่แค่ไหนก็ล้มได้ การมีรายได้หลายทางจะช่วยลดความเสี่ยงเหมือนกับการมีถังน้ำสำรองหลาย ๆ ใบช่วยกักเก็บน้ำใช้ในยามวิกฤต
.
- (3) หาเงินเก่งไม่สำคัญ..ว่า “เก็บเงินเก่งแค่ไหน”
.
ยิ่งรายได้สูง รายจ่ายมักขยับตาม จงมีเงินเก็บไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน อย่ารอให้ฉุกเฉินก่อนค่อยออมเงิน เพราะถึงวันนั้น มันอาจไม่ทันแล้ว โดยปกติจะแนะนำให้สำรองเงินฉุกเฉินไว้ที่ประมาณ 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน
.
- (4) “เงินต่อเงิน” รู้จักลงทุน เริ่มก่อนก็ได้ก่อน
.
ให้เงินทำงานแทนเรา ซึ่งเงินนั้นอาจเป็นเงินที่เราแบ่งเก็บไว้ทุกเดือน
เช่น มีเงินเดือน 20,000 บาท ทำงาน 20 วันต่อเดือน แสดงว่ามีรายได้เฉลี่ย 1,000 บาทต่อวัน ถ้าเลือกเก็บเงินเดือนละ 1,000 บาท (5% จากรายได้) เวลา 5 ปี จะมีเงินเก็บ 60,000 บาท แต่ถ้าเปลี่ยนนำเงินสะสมไว้ในที่ที่ให้ผลตอบแทนสูงขึ้น เช่น ผลตอบแทน 2% เงินของเราจะเติบโตขึ้นเป็น 63,047 บาท เพิ่มขึ้นตั้ง 3,047 บาท โดยเงินช่วยเราทำงานถึง 3 วัน เลยทีเดียว
.
- (5) “บัตรเครดิตไม่ใช่ผู้ร้าย” ขอเพียงใช้ให้เป็น
.
มีทั้งโปรโมชั่นดี ๆ จ่ายครบตรงตามเวลา อย่ารูดบัตร ถ้าไม่มีเงินสดในกระเป๋าตังจะจ่ายค่าสินค้านั้นอยู่แล้ว ซื้อเฉพาะของจำเป็นที่มีเงินจ่าย ถ้าฝ่าฝืนก็ขอให้ยกเลิกบัตรเครดิตทิ้งทั้งหมด เพราะมีความเสี่ยงสูงมากที่จะสร้างหนี้เสียได้ในอนาคต
.
- (6) อสังหาริมทรัพย์ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว หุ้นก็เช่นกัน เรื่องที่น่ากลัวที่สุดของข้อนี้ คือ “การลงทุนแบบไม่เข้าใจมากกว่า”
.
จำเป็นต้อง “รู้จักตัวเอง” ก่อนการลงทุนเสมอ ว่ามี “เป้าหมาย” คืออะไร จากนั้นค่อยมาพิจารณา “เงื่อนไข” ในการลงทุนต่าง ๆ เช่น เรารับความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด รู้จัก “เครื่องมือในการลงทุน” ว่าจะเลือกการลงทุนประเภทไหน ทั้งหุ้นสามัญ หุ้นกู้ พันธบัตร กองทุน หรือแม้กระทั่งทองคำ และอื่น ๆ
เมื่อรู้จักเครื่องมือต่าง ๆ แล้ว ก็ต้อง “รู้จักจังหวะลงทุน” ดั่งคำที่กำกับว่า การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุนเสมอ
.
- (7) “การวางแผนเกษียณ” คือ หน้าที่ของทุกคน
.
ตอนแก่ต้องอยู่ด้วยเงินตัวเองได้ อย่าหวังพึ่งคนอื่น เราทุกคนเกิดมาไม่พร้อมคู่มือชีวิต การเลือกวางแผนชีวิตจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และวัยเกษียณนั่นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น อย่าลืมเตรียมพร้อมด้านการเงินกับเวลาที่กำลังจะมาถึง
.
เสริมทักษะเรื่องการเงินวันละนิด เก็บทยอยความรู้อย่างละหน่อย ในด้านการเงิน การเรียนรู้ไม่ได้หมายความถึง การมีความรู้เพียงอย่างเดียว.. แต่การเรียนรู้เกิดจากการได้รับ “ประสบการณ์”บางอย่าง เพราะการเรียนรู้ ไม่ใช่แค่มีความรู้ แต่คือการลงมือทำ… กับ 7 ข้อเสริมทักษะความรู้ด้านการเงิน
.
เรียบเรียงโดย เพจ ไปให้ถึง100ล้าน
ผู้เขียน Firstji
.
#Money&investment
#ไปให้ถึง100ล้าน
#SERVgroup
#Firstji
.
ชอบอ่านอะไรพวกนี้ ประเด็นดีๆ แบบสั้นๆ อ่านง่ายๆ
การเงิน ธุรกิจ การลงทุน
มีอีกช่องทางที่จะมีพรีเมียมคอนเทนต์ลงให้ประจำที่
.