27 ม.ค. 2021 เวลา 10:50 • ธุรกิจ
ทำไมคนจีน ถึงชอบ ทำงานหนัก และทำงานล่วงเวลา ?
จากข่าวการเสียชีวิตของพนักงานบริษัทชื่อดังของจีนอย่าง Pinduoduo
และพนักงานโรงงานในเมืองเชินเจิ้นของบริษัท Foxconn
ที่ทำงานล่วงเวลาหนักจนเสียชีวิต
1
ซึ่งในประเทศจีนเองเรื่องนี้ก็ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่เลยทีเดียว
โดยสังคมออนไลน์ของจีนอย่าง Sina Weibo ก็มีประเด็นถกเถียงเรื่องของ การเสียชีวิตเพราะทำงานหนัก ในกรณีของบริษัท Pinduoduo มากกว่า 260 ล้านครั้ง หรือ เหตุการณ์การประท้วงของกลุ่มนักศึกษาจากกรณีของบริษัท Foxconn ก็อีกเช่นกัน
แล้วอะไรที่ทำให้คนจีน ยึดติดกับความคิดในการทำงานหนักจนถึงชีวิต ?
บทความนี้ THE BRIEFCASE จะอธิบายให้ฟัง
3
เรื่องนี้คงต้องเริ่มจาก วัฒนธรรมการทำงานหนักของประเทศจีน ที่มีชื่อว่า “996”
หรือการทำงานตั้งแต่เวลา 9.00 น. จนถึง 21.00 น. เป็นเวลา 6 วันต่อสัปดาห์
รวมถึงการทำงานล่วงเวลา แบบไม่ได้รับค่าจ้าง
4
ซึ่งก็สะท้อนไปถึงวิสัยทัศน์ และพฤติกรรมของตัวผู้นำองค์กร
1
จากตัวอย่างที่น่าสนใจ ของบริษัทใหญ่สัญชาติจีน เช่น
- ผู้นำบริษัทโทรศัพท์มือถือ Huawei อย่าง “เหริ่น เจิ้งเฟย” ที่มีเตียงนอนอยู่ในห้องทำงาน เพื่อที่เขาจะได้พร้อมนอน หากต้องหักโหมงานหนัก
2
-“หม่า ฮั่วเถิง” หัวเรือของบริษัท Tencent ที่ยังคงส่งและตอบอีเมล์ ในช่วงเวลา ตี 2 ของทุกๆวัน
-“ริชาร์ด หลิว” ซีอีโอจากบริษัท JD ที่ออกมาประกาศว่า พนักงานที่ไม่ทุ่มเทให้กับการทำงานในรูปแบบ 996 ถือว่าไม่ใช่พนักงานที่มีคุณภาพ
1
- “แจ็ค หม่า” จากบริษัท Alibaba ก็ยังเคยกล่าวว่า เขาสนับสนุนวัฒนธรรม “996” เพราะหากคุณทำงานแบบ 996 ได้ คุณก็จะพบความสุขที่ยิ่งใหญ่
5
แล้วถ้าถามว่า เกิดกรณีที่มีผู้เสียชีวิตแบบนี้ จะทำให้คนจีนเลิกทำงานหนักได้ไหม ?
คำตอบที่เราอาจสะท้อนได้ ในตอนนี้คือ “คงไม่มีทางเป็นไปได้”
เพราะ การทำงานหนัก กลายเป็นความเชื่อแห่งความสำเร็จ ของคนจีนไปซะแล้ว
1
ที่เห็นได้ชัดเจนคือ แม้ว่าเวลาจะผ่านไปเกือบ 10 ปี จากกรณีพนักงานเสียชีวิตของบริษัท Foxconn ในปี 2010 แต่ดูเหมือนว่า สังคมการทำงานของประเทศจีนในตอนนี้เอง ก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้แต่อย่างใด
พวกเขากลับมองว่า เรื่องนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ และไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติ
หรือ อาจพูดได้ว่า ความเคยชินกับการทำงานหนัก และล่วงเวลา แบบไม่ได้ค่าจ้างเพิ่ม
ได้ถูกฝังเอาไว้จนกลายเป็นบรรทัดฐาน ของบริษัทสัญชาติจีนไปเสียเรียบร้อย
แต่อย่างไรก็ดี วัฒนธรรมการทำงานหนักเหล่านี้ ไม่ได้ส่งผลกระทบแต่ด้านลบเพียงอย่างเดียว
เพราะ เหล่าบริษัทชั้นนำสัญชาติจีน ที่มีวัฒนธรรมแบบนี้ กลับกลายเป็นบริษัทชั้นนำของโลก ทั้งสิ้น
และอีกสิ่งหนึ่งที่ยังพอเป็นกำลังใจให้กับพนักงานชาวจีนได้คือ “วัฒนธรรมในการฉลองความสำเร็จ”
ถึงแม้ว่าพวกเขาจะต้องแลกมาด้วยการทำงานหนักแบบถวายชีวิต
แต่หาสิ่งที่พวกเขาทำนั้น ประสบความสำเร็จ
เหล่าผู้นำองค์กร ก็จะพาพนักงานออกไปฉลองอย่างเต็มที่เช่นกัน
1
อ่านถึงตรงนี้ เราคงพอจะเห็นภาพคร่าวๆแล้วว่า
การทำงานอย่างหนักหน่วง และล่วงเวลา แบบคนจีน เป็นปัจจัยสำคัญหนึ่ง
ที่สร้างความได้เปรียบให้กับบริษัทอยู่ตลอดเวลา
เพราะไม่ใช่ว่า ทุกประเทศบนโลกใบนี้ จะมีความเคยชินกับวัฒนธรรมการทำงานแบบนี้
แล้วรู้ไหมว่า วัฒนธรรมของการทำงานหนักแบบนี้ ไม่ได้มีเพียงแค่ในประเทศจีนอย่างเดียว
แต่ประเทศญี่ปุ่นเอง ก็ยังมีรูปแบบของการทำงานหนักจนตายเหมือนกัน โดยเรียกว่า “คาโรชิ”
1
แต่การบริหารสำหรับประเทศญี่ปุ่นแตกต่างจากจีน
เพราะในสมัยรัฐบาล ชินโซ อาเบะ ได้มีมาตรการผลักดันให้คนญี่ปุ่น ลาพักร้อนมากขึ้น และมีการขอความช่วยเหลือจากฝั่งผู้ประกอบการ ให้มีการปรับระบบการทำงานที่ยืดหยุ่น แทนการทำงานล่วงเวลา
กลับมาที่ประเทศไทยของเรา อาจถือได้ว่าเป็นความโชคดีที่วัฒนธรรมการทำงานของเรา ไม่ได้เน้นความหนักหน่วง จนถึงแก่ชีวิตในรูปแบบนั้น
ปิดท้ายด้วย เทคนิคดีๆ ที่จะทำให้การทำงานของเรา มีประสิทธิภาพมากขึ้น
1.จงทำงานหนัก ให้กับสิ่งที่เรารัก อย่างมีความสุข
อย่ามองว่า เราทำงานหนักเพื่อให้ได้ผลตอบแทนเพียงอย่างเดียว แต่เราต้องรัก ที่จะทำมันด้วย
1
2.จัดสมดุลเวลาการทำงาน และเวลาส่วนตัว
เพราะหากเราไม่จัดการแบ่งเวลาให้ดี เราอาจจะเสียทั้งสุขภาพส่วนตัว และชีวิตครอบครัว
3.ลดความคาดหวัง และเลิกกดดันตัวเอง
ยิ่งเราได้รับคำชม หรือ ทำผลงานได้ยอดเยี่ยม
ในครั้งต่อๆไป เราก็จะมีความกดดันตัวเองเพิ่มขึ้นโดยที่ไม่รู้ตัว
เพราะฉะนั้น จงทำงานวันนี้ให้ดีที่สุด และอย่าเพิ่มความคาดหวังให้กับตัวเอง
หวังว่าเรื่องราวนี้ คงเป็นสิ่งเตือนใจ สะท้อนให้เรามองกลับมาที่ตัวเองกันมากขึ้น
3
โฆษณา