29 ม.ค. 2021 เวลา 13:13 • ปรัชญา
ใครที่ชอบผัดวันประกันพรุ่งต้องตั้งใจอ่าน
เพราะสิ่งที่ผมจะแชร์ให้ฟังต่อไปนี้คือดีมากๆข้อมูลนี้ส่งตรงมาจากญี่ปุ่น สามารถจำและนำไปปรับใช้ได้จริง
1
ผมได้มีโอกาสอ่านหนังสือของผู้เขียนชาวญี่ปุ่น คุณ ซะซะกิ โชโกะ เป็นนักเขียนแนวจิตวิทยา ผู้มีความเชี่ยวชาญในด้านจิตวิยาการรู้คิดโดยหัวข้อที่คุณ ซะซะกิ พูดถึงคือ วิธีการที่ทำให้เราเลิกเป็นคนผัดวันประกันพรุ่ง (ขอเลื่อนเวลาออกไปครั้งแล้วครั้งเล่า, เลื่อนเวลาไปเรื่อย ๆ โดยที่ไม่เริ่มต้นทำอะไรสักอย่างสักที )
โดยคุณซะซะกิ ได้แนะนำ 55 เทคนิคในการเลิกเป็นคนผัดวันประกันพรุ่ง แต่ผมได้หยิบยก5เทคนิคที่น่าสนใจมาแชร์ให้ฟัง เพราะถ้าเล่าหมดเดี๋ยวหนังสือแกจะขายไม่ออก555
เพราะฉะนั้นใครที่ยังมีนิสัยชอบเลื่อนวันไปเรื่อยๆ และชอบคิดว่าพรุ่งนี้ค่อยทำน่า ยังมีเวลาอีกเยอะ ตั้งใจฟังครับ
1. อย่าคาดหวังว่าตัวเองในอนาคตจะลงมือทำ
ต้องบอกว่าคำพูดติดปากของเหล่านี้คือ “เดี๋ยวก่อน เดี๋ยวค่อยทำ” “เอาไว้วันหลัง” แต่หลังจากที่คุณพูดจบ ไม่นานคุณก็จะลืม ไม่สนใจ และแน่นอนสิ่งเหล่านั้นก็ยังไม่เกิดขึ้น โดย นักจิตวิทยาชื่อดังจากฮาวาร์ด แดเนียล กิลเบิร์ต
ได้กล่าวไว้ว่า “จินตนาการของคนเรามักจะสวยหรูกว่าความเป็นจริง” พูดง่ายๆคือ จิตปรุงแต่งของเราชอบคิดว่า ตัวเราในอนาคตจะเก่งและยอดเยี่ยมกว่าตัวเราในปัจจุบัน ลองสังเกตตัวเองดูครับว่า เราเคยเป็นมั้ย? เราเคยคิดมั้ยว่าอีก5ปีเราจะต้องรวย ต้องเก่ง ต้องดูดี แต่ในความเป็นจริงแล้วมันไม่มีทางเป็นแบบนั้นแน่นอน หากคุณแค่ใช้สมองคิดแต่สองมือที่คุณมียังหยุดนิ่ง ทำไมถึงเป็นแบบนี้เพราะถึงแม้ว่าเราจะไม่ลงมือทำแต่ทำไมเราชอบฝันหวาน? เพราะว่าจิตใจของมนุษย์พยายามปกป้องตัวเองโดยการคิดว่า อนาคตต้องดีกว่าปัจจุบัน เพื่อหล่อเลี้ยงให้เรามีชีวิตอยู่ต่อไปด้วยความสุข ให้มีความหวังใจในอนาคต ดังนั้นอย่าให้จิตหลอกเราว่าตัวเราในอนาคตจะทำมัน อย่าปล่อยใจไปกับธรรมชาติในเรื่องนี้ คิดแล้วต้องลงมือทำเลย อย่ามีคำว่าเดี๋ยว เพราะเมื่อไหร่ที่เราพูดคำว่าเดี๋ยว ครั้งที่ร้อยก็จะโผล่มาแน่นอน
1
2. อย่าหลงกลสมองแบบคิดรวบยอด
สมองของคนเราถ้าคุณไม่ได้ IQ สูงมากๆ โอกาสที่จะจดจำเรื่องเล็กๆมีน้อยมาก สมองจึงชอบ “รวมยอด” สิ่งต่างๆเข้าด้วยกันให้เป็นหนังม้วนเดียว
เช่น เวลาเราจะเขียนหนังสือ สมองเรามักจะไม่คิดว่า ต้องเริ่มต้นด้วย ชื่อหนังสือ คำนำ สารบัญ เนื้อหาแยกย่อยเป็นบทๆ พิสูจน์อักษร ติดต่อโรงพิมพ์ หาแหล่งจัดจำหน่าย ทำการตลาด บลาๆ ในหัวมีเพียงแค่ “อยากเขียนหนังสือ”
ต่อให้มีความยุ่งยากและซับซ้อนแค่ไหนก็ตามภาพแรกที่เราได้จากสมองคือ การรวบยอด พอถึงเวลาลงมือทำจริงกลับรู้สึกว่ามันสลับซับซ้อนมากๆ จึงเป็นเหตุ ให้เราไม่ลงมือทำ!! ดังนั้น อย่าพอใจกับความตื่นเต้นที่สมองรวบยอดมาให้ เราต้องเขียนสิ่งที่ต้องทำออกมาก่อน เพื่อแยกย่อยในส่วนต่างๆ แล้วเริ่มลงมือทำสิ่งเล็กๆเรานั้นให้เสร็จทีละขั้นตอน
2
3. ใช้สายตาของคนอื่นให้เป็นประโยชน์
ฟังดูอาจจะรู้สึกแปลกๆแต่มันช่วยได้จริงๆ เวลาอยู่คนเดียวแล้วจะทำอะไรกลับรู้สึกว่ามันต้องใช้พลังงานมากๆๆกว่าจะทำได้ ตรงกันข้ามเวลาไปติวหนังสือกับเพื่อนข้างนอกบ้านกลับได้อะไรที่มากกว่าและไม่ต้องใช้ความพยามที่มาก นั่นคือผลของการใช้อิทธิพลจากสายตาคนอื่นที่กำลังจ้องมองเราอยู่ เราเรียกมันว่า “ฮอว์ธอร์น เอฟเฟค” เป็นการถูกกระตุ้นจากสายตาคนรอบข้างเพื่อควบคุมพฤติกรรมของตัวเอง ยกตัวอย่างง่ายๆ เวลาทำงานที่บริษัทถ้าเราไม่ขยับไม่ทำงาน เพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้าก็จะมองและคิดว่าเราไม่ทำงานหรือขี้เกียจเป็นต้น ดังนั้นใช้สายตาของคนทั่วไปเป็นแรงจูงใจในการลงมือทำ
1
4. อย่าเริ่มต้นจากศูนย์
สมองเราไม่ชอบคำว่ายากและซับซ้อน ยิ่งคุณทำสิ่งที่อยู่ตรงหน้าให้ง่ายมากเท่าไหร่โอกาสที่จะผัดวันประกันพรุ่งก็มีน้อยลง เมื่อคุณคิดที่จะเปลี่ยนตัวเอง จงใช้ความสำเร็จของคนอื่นมาปูทางเข้าบ้านของคุณ หยิบยกไอเดีย โมเดลต่างๆของคนที่ประสบความสำเร็จแล้วมาใช้เป็นรากฐานของสิ่งที่คุณจะทำ ไม่ได้สนับสนุนให้ลอกเลียนแบบ แต่ให้เป็นไอเดียในการสร้างสรรค์ผลงาน การทำแบบนี้จะช่วยประหยัดเวลาและทำให้มีแรงกระตุ้นในการลงมือทำมากกว่า “เริ่มต้นจากไม่มีอะไรเลย” ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณอยากจะพัฒนาตัวเองอย่าคิดเองเข้าเพจดีๆอย่าง RichlyQuotes และนำข้อมูลดีๆที่แอดสรุปมาให้แล้วนำไปปรับใช้จะดีมากๆ (ฮา)
1
5. หลอกสมองด้วยพฤติกรรม
หลายๆคนคงเคยได้ยินมาว่า การหัวเราะจะทำให้คนเรารู้สึกสนุกมีความสุขขึ้นมาโดยอัตโนมัติ หรือพูดง่ายๆคือ บางครั้งพฤติกรรมก็สามารถชักจูงสมองได้ เช่นเวลาที่ทำงานอยู่แต่ง่วงมากๆๆ คุณลองเบิกตาให้กว้างขึ้น ทำหน้าสดใส แล้วเดินไปส่องกระจก คุณจะรู้สึกสดชื่นขึ้นอย่างหน้าประหลาดใจเลยทีเดียว นั่นเป็นเพราะสมองจะรับรู้สภาพร่างกายของตัวเองผ่านการมองเห็น ยกตัวอย่างถ้าคุณโดนมีดบาท แต่คุณไม่ได้สนใจมันและยังคงทำงานต่อไปเรื่อยๆ ความเจ็บจะลดลงแต่ถ้าคุณไปโฟกัสดูแผลดูเลือดออกมา ความเจ็บจะยิ่งมากขึ้น สมองอยู่ในกะโหลกมันจำเป็นต้องอาศัยการรับรู้จาก สัมผัสทั้งห้าของร่างกายเรา เพื่อรับรู้ความเป็นอยู่ภายนอก ไม่ว่าจะเป็น รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ซึ่งสิ่งที่สมองรับรู้มากที่สุดคือ การมองเห็น ดังนั้นเราต้องหลอกสมองของเราให้มีความกระตือรือร้น100% เพื่อให้สมองเปลี่ยนเคมีในร่างกายเราและพร้อมลงมือทำโดยทันที
หวังว่า5เทคนิคเหล่านี้จะช่วยทำให้ทุกคนเลิกเป็นคนผัดวันประกันพรุ่งครับ
และหากใครที่อยากจะหาอ่านเพิ่มเติมทั้งหมด 55 เทคนิค สามารถดูได้จากหนังสือที่มีชื่อว่า เทคนิคเปลี่ยนคุณให้เป็นคนไม่ผัดวันประกันพรุ่งและลงมือทำทันที (แปลไทย)
หรือกดสั่งซื้อง่ายๆทีลิ้งนี้
▪️▪️▪️▪️▪️▪️▪️▪️▪️▪️▪️▪️▪️
📲 ช่องทางติดต่ออื่นๆ
โฆษณา