28 ม.ค. 2021 เวลา 02:31 • การศึกษา
“เวลาเขามีความสุขสุดเหวี่ยงแค่ไหน
เวลาเศร้าเขาก็สุดเหวี่ยงเท่านั้น”
คำกล่าวนี้พูดถึงคุณค่าของอารมณ์ปกติค่ะ
คำว่าอุเบกขา อาจจะฟังดูเป็นคำทางศาสนาที่ยากจะเข้าถึง
แต่นักวิจัยต่างชาติเขาพัฒนาทักษะระดับโลกบนพื้นฐานของ
คำว่า อุเบกขา หรือวางใจเป็นกลางนี่เองค่ะ
ทักษะที่จะช่วยให้เรามีอารมณ์เป็นปกติได้มากขึ้น
นี้คือ Emotional Intelligence
เมื่อนำไปใช้เราจะรู้สึกว่า เราเป็นผู้เลือก ไม่ใช่ผู้ถูกเลือก
เราจะมีอิสรภาพทางอารมณ์ เป็นผลให้การงาน การเรียนและความสัมพันธ์เกิดสมดุลมากขึ้นตามไปด้วย
พูดง่ายๆคือสร้างความสมดุลให้ซัก 1 จุดในชีวิตแล้ว (เป็นจุดใหญ่และสำคัญมากซะด้วย) จุดอื่นๆก็จะสมดุลขึ้นตามไปด้วยค่ะ
1
Emotional Intelligence แบ่งออกเป็น 4 ทักษะหลักๆ
1. Self awareness
2. Self regulaltion
3. Social awareness
4. Social regulation
จะเห็นได้ว่า 2 ข้อแรกเกี่ยวข้องกับตัวเอง ส่วน 2ข้อหลังเกี่ยวกับคนอื่นและสิ่งแวดล้อม เป็นทักษะของการรู้อารมณ์ของตัวเองแล้วจัดการอารมณ์ได้ เช่นเดียวกับของผู้อื่น
12
self awareness คือระบุให้ได้ ณ จุดเกิดเหตุว่าฉันรู้สึกอะไรอยู่ เมื่อฉันรู้สึกแบบนี้แล้วร่างกายของฉันตอบสนองอย่างไร และฉันมีเป้าหมายอะไรในวันนี้ อารมณ์ใดที่จะเป็นประโยชน์แก่เป้าหมายของฉัน
1
Self regulation ทักษะในการจัดการอารมณ์ตัวเองให้ปกติ จากแบบทดสอบเรื่อง emotional intelligence บ้างคนมี self awareness สูงแต่ regulation ต่ำก็เป็นได้ คือรู้ว่ารู้สึกอะไรแต่ทำให้กลับมาปกติไม่ได้ ตรงนี้เราต้องให้เวลากับตัวเองที่จะศึกษาและพัฒนาวิธีการจัดการอารมณ์ที่ใช้ได้กับตัวเอง บางคนออกกำลังกาย บางคนนั่งสมาธิ บางคนเรียนหายใจผ่อนคลาย บางคนลุกขึ้นเต้น ประเด็นคือวิธีการเหล่านี้คือเครื่องมือที่ต้องใช้บ่อยๆ เพราะถ้าไม่ซ้อมใช้ ถึงเวลาจริงเครื่องมือก็สนิมขึ้นหมดแล้ว
5
Social awareness คือทักษะในการทำความเข้าใจอารมณ์ของผู้อื่น การมี empathy ความเห็นอกเห็นใจ การสังเกตพฤกรรมและอารมณ์ของผู้อื่น แต่ไม่ใช่เพื่อจับผิดนะคะ แต่เพื่อเข้าใจเขา เคยไหมใครไม่บางทีไม่ถูกชะตากับบางคนเอาซะเลยแต่พอได้ใช้เวลาร่วมกันมากขึ้นกลับชอบเขามากขึ้น เพราะเราเริ่มเข้าใจที่มาที่ไปของเขานั่นเองค่ะ
7
Social regulation ทักษะช่วยจัดการอารมณ์คนรอบข้าง คำวัดจัดการนี้ไม่ใช่ไปบอกให้เพื่อนหยุดร้องไห้นะคะ หรือเข้าไปบอกให้เพื่อนที่ทะเลาะกัน “หยุดเดี๋ยวนี้นะ” แต่เป็นการกระทำด้วยความเข้าใจเขาจริงๆ เช่นเวลาดิฉันมีอาการหงุดหงิด สามีก็จะเดินมาพูดอะไรตลกๆให้เราขำขึ้นมา บางทีก็ลืมหงุดหงิดต่อไปเลย หรือบางที่ที่ดิฉันรู้สึกท้อแท้ สามีก็จะเดิมมาบอกให้มองสิ่งที่เราได้สำเร็จมาสิ ว่ามันเจ๋งแค่ไหน ที่ยกสามีเป็นตัวอย่างเพราะเขามีทักษะ emotional intelligence สูงมากค่ะ
4
ดังนั้นเมื่อเรามีทักษะทั้ง 4 ของ Emotoinal Intelligence แล้วชัดเจนค่ะว่าความสัมพันธ์ก็จะสมูธขึ้นทั้งกับตัวเองและผู้อื่น การดำเนินหน้าที่การงานก็มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ส่วนใครที่อยากเห็นการอธิบายแบบออกรสออกชาติก็เข้าชมได้ในคลิปที่ปอนด์ทำไว้ใน youtube
1
โฆษณา