28 ม.ค. 2021 เวลา 04:49 • หนังสือ
การอยู่กับตนเอง
เนื่องจากวันนี้เป็นวันพระ(วันมาฆบูชาขึ้น15คำ่เดือน3)เป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์ 1,250 รูปมารวมกันโดยมิได้นัดหมายและพระพุทธเจ้าทรงตรัสแก่พระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายมารวมกันตรงหน้า ด้วยแสดงหลักธรรม โอวาทปราฎิโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์เหล่านั้น ซึ่งเป็นทั้งหลักการอุดมการณ์และวิธีการปฏิบัติที่ นำไปใช้ได้ทุกสังคม มีเนื้อหา โดยสรุปคือให้ละความชั่วทุกชนิด ทำความดี ให้ถึงพร้อมและทำจิตใจให้ผ่องใส
แสดงโอวาทปาติโมกข์
ประวัติของวันมาฆบูชา
พระพุทธเจ้า หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ ๙ เดือนขณะนั้นเมื่อเสร็จพุทธกิจแสดงธรรมที่ถ้ำสุกรขาตาแล้ว เสด็จมาประทับที่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ เดือนมาฆะหรือเดือน ๓ในเวลาบ่ายพระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้า มาประชุม พร้อมกัน ณ ที่ประทับของพระพุทธเจ้า นับเป็นเหตุอัศจรรย์ ที่มีองค์ประกอบสำคัญ ๔ ประการ เรียกว่าว่า วัน จาตุรงคสันนิบาต
คำว่า "จาตุรงค สันนิบาต" แยกศัพท์ได้ดังนี้ คือ
"จาตุร" แปลว่า ๔
"องค์" แปลว่า ส่วน
"สันนิบาต" แปลว่า ประชุม
ฉะนั้นจาตุรงคสันนิบาตจึง หมายความว่า "การประชุมด้วยองค์ ๔" กล่าวคือมีเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นพร้อมกันในวันนี้ คือ
1.เป็นวันที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันที่เวฬุวันวิหาร
ในกรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย
2.พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วน เป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" คือเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจาก
พระพุทธเจ้าทั้งสิ้น
3.พระภิกษุสงฆ์ทุกองค์ที่ได้ มาประชุมในครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นผุ้ได้บรรลุพระอรหันต์แล้วทุก ๆองค์
4.เป็นวันที่พระจันทร์เต็ม ดวงกำลังเสวยมาฆฤกษ
ด้วยกาลเวลาที่ล่วงมาแล้วหลังจากพระพุทธเจ้าทรงดับขันปรินิพานจนถึงปัจจุบันพระภิกษุสงฆ์ยังมีการสวดพระปาติโมกข์ของทุกวัน(ขึ้น15คำ่กับแรม15คำ่ของทุกเดือนทั้งเข้าพรรษาและออกพรรษา)อยู่เพื่อให้พระภิกษุระลึกรู้ถึงสิ่งที่ควรปฎิบัติและไม่ควรปฎิบัติ
การมีสมาธิและความเพียรอยู่กับปัจจุบัน
ตัวอย่างสิ่งที่พระภิกษุสงฆ์ควรปฎิบัติ
นิสสัย ๔
นิสสัย​ 4 คือ เครื่องอาศัยของบรรพชิต หรือ สิ่งที่บรรพชิตพึงปฏิบัติ เพื่อการยังชีพ ประกอบด้วย
1. เที่ยวบิณฑบาต คือ ให้ภิกษุเลี้ยงชีพด้วยการบิณฑบาต โดยอาศัยชาวบ้านเป็นอยู่ โดยปัจจัยที่ได้จากการบิณฑบาตนั้นถือว่าเป็นปัจจัยที่บริสุทธิ์
2. นุ่งห่มผ้าบังสุกุล คือ การนุ่งห่มผ้าที่หาเจ้าของมิได้ เช่นผ้าตามกองขยะที่ชาวบ้านทิ้ง หรือ ผ้าห่อศพ ภิกษุในสมัยพุทธกาลจะเก็บมาย้อมเย็บเป็น จีวร สบง ไว้นุ่งห่ม
3. อยู่โคนไม้ เนื่องจาก ในสมัยพุทธกาล ผู้ที่บวชเป็นบรรพชิต เมื่อทิ้งบ้านเรือนมาออกบวชก็มักจะอาศัยอยู่ในป่า แม้แต่พระพุทธองค์ก็มิได้ยกเว้น ต่อมาภายหลังจึงมีผู้ศรัทธาสร้างกุฏิถวาย
4. ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า คือ การฉันยารักษาโรคด้วยยาดองน้ำมูตร(ปัสสาวะ) ซึ่งในปัจจุบันได้มีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่า ปัสสาวะ ประกอบไปด้วย น้ำบริสุทธิ์ 95% ยูเรีย 2.5% และอื่นๆ อีก 2.5% แม้จะไม่มีโทษร้ายแรง แต่ก็ไม่ได้มีประโยชน์
ส่งท้ายด้วยข้อคิดคติธรรมมะ
ว่า จะรู้ได้ต้องเป็นที่ปฎิบัติด้วยตนเอง
โฆษณา