29 ม.ค. 2021 เวลา 11:11 • การศึกษา
❤️第三课: บทที่ 3❤️
วรรณยุกต์ในภาษาจีนมีทั้งหมด 4 เสียง โดยใช้เครื่องหมาย แทนเสียงแต่ละเสียง ซึ่งเครื่องหมายเหล่านี้จะเอาไปไว้บนสระหลัก เวลาสะกด
เสียงหนึ่ง (➖) คือ 'เสียงสามัญ' ในภาษาไทย
ลักษณะ: ขีดเป็นเส้นตรง
การออกเสียง: พูดธรรมดาแต่จะลากเสียงยาวๆหน่อย
bā อ่านว่า 'ปา'
mā อ่านว่า 'มา'
1
เสียงสอง (🖋) คือ 'เสียงจัตวา' ในภาษาไทย
ลักษณะ: ขีดจากล่างซ้ายเฉียงขึ้นบนขวา
การออกเสียง: ให้ลากเสียงขึ้นสูงหน่อย
bá อ่านว่า 'ป๋า'
má อ่านว่า 'ม๋า'
1
เสียงสาม (✔️) คือ 'เสียงไม้เอก' ในภาษาไทย
ลักษณะ: คล้ายเครื่องหมายถูก
การออกเสียง: กดเสียงต่ำก่อนแล้วค่อยลากสูงตอนหลัง
bǎ อ่านว่า 'ป่า'
mǎ อ่านว่า 'หม่า'
1
เสียงสี่ (✒️) คือ 'เสียงไม้โท' ในภาษาไทย
ลักษณะ: ขีดจากบนซ้ายเฉียงลงล่างขวา
การออกเสียง: เหมือนลงน้ำหนักเสียง พยายามออกเสียงให้สั้น กระชับ ไม่ลากยาว
bà อ่านว่า 'ป้า'
mà อ่านว่า 'ม่า'
1
💟เสียงเบา💟
คือ เสียงที่ 'ไม่มี' วรรณยุกต์กำกับบนตัวสระ เวลาออกเสียงจะเบาและสั้นมาก
เช่น 吧 (ba) อ่านว่า 'ปะ' แปลว่า 'เถอะ'
มักจะตามหลังเสียงหนึ่ง เสียงสอง เสียงสามและเสียงสี่
ตัวอย่างเช่น...
爸爸 (bàba) อ่านว่า 'ป้าปะ' แปลว่า 'พ่อ'
妈妈 (màma) อ่านว่า 'ม่าม่ะ' แปลว่า 'แม่'
东西 (dōngxi) อ่านว่า 'ตงสิ' แปลว่า 'สิ่งของ'
耳朵 (ěrduo) อ่านว่า 'เอ่อร์ตัว' แปลว่า 'หู'
头发 (tóufa) อ่านว่า 'โถวฟะ' แปลว่า 'ผม'
1
⭐️กด react สักนิด กด share สักหน่อยเป็นกำลังใจให้หน่อยนะคะ มีคำถาม comment ไว้ได้เลยนะค่า
ขอบคุณค่ะ❤️

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา