Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
พบหมอจิน
•
ติดตาม
29 ม.ค. 2021 เวลา 08:49 • สุขภาพ
🍀. รักษาอย่างไรเมื่อเป็นไตวาย. 🍀
พรประภาอายุ 78 ปี ป่วยเป็นโรคหัวใจมานาน 15 ปีแล้ว วันนี้มาพบหมอด้วยอาการโรคไข้หวัดใหญ่ เธอมีอาการไอ หอบ เหนื่อย มาประมาณ 1 สัปดาห์ ลูกสาวจึงพาเธอมาพบหมอ ขณะนำตัวส่งโรงพยาบาล เธอมีอาการไอและหอบเหนื่อยมาก หมดสติไป แพทย์จึงรีบรับตัวไว้รักษาในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก
แพทย์ตรวจพบว่าเธออยู่ในภาวะหัวใจและไตวาย จึงทำการรักษาด้วยการล้างไตจากเครื่องไตเทียม ซึ่งเรียกว่าการฟอกเลือด โดยนำเลือดจากเส้นเลือดที่เตรียมไว้ผ่านเข้ามาในตัวกรองของเสียของเครื่องไตเทียม เลือดซึ่งถูกกรองแล้วจะไหลกลับเข้าร่างกายทางเส้นเลือดอีกเส้นหนึ่ง
การล้างไตเป็นการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ช่วยรักษาสมดุลของกรด ด่าง เกลือแร่ และนำ้ในร่างกาย พรประภาได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ใช้เวลาฟอกไตครั้งละ 4-5 ชั่วโมง
ปกติแล้วไตทำงานตลอดเวลา ไม่เคยหยุด โดยไตทำงานสัปดาห์ละ 168 ชั่วโมง ซึ่งการล้างไตไม่สามารถทดแทนการทำงานของไตได้ 100 เปอร์เซ็นต์ การที่ต้องล้างไต ทำให้ไตทำงานได้เพียง 8-12 ชั่วโมง เท่านั้น เวลาที่เหลืออีกมากกว่า 150 ชั่วโมง ยังคงเป็นช่วงเวลาที่ของเสียค้างสะสมอยู่ภายในร่างกาย
คนไข้ถามหมอว่า “มีคนบอกว่าล้างไตแล้ว ไม่ต้องควบคุมอาหารอีกต่อไป เพราะเรามีเครื่องมือคอยช่วยขจัดของเสียออกจากร่างกายอยู่แล้ว จริงมั้ยคะ”
หมออธิบายว่า คนที่เป็นไตวาย เมือได้รับการรักษาด้วยการล้างไต ทำให้เข้าใจว่าสามารถรับประทานอาหารได้ทุกชนิด ไม่ต้องควบคุมอาหารอีกต่อไป คิดว่ามีเครื่องมือมาช่วยขจัดของเสียออกไปจากร่างกายแล้ว เป็นความเข้าใจผิดมาก เนื่องจากการล้างไต ไม่สามารถทดแทนการทำงานของไตได้ 100 เปอร์เซ็นต์ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ทำงานแทนไตได้เพียงสัปดาห์ละ 8-12 ชั่วโมง เท่านั้น
หลังจากการฟอกไต ยังคงมีของเสียตกค้างอยู่ในร่างกาย จึงจำเป็นต้องควบคุมอาหาร นำ้ เกลือแร่ และระหว่างการฟอกเลือดจะมีการสูญเสียโปรตีน กรดอะมิโนที่จำเป็นไปด้วย แต่ไม่จำเป็นต้องจำกัดอาหารโปรตีนประเภทเนื้อสัตว์เหมือนกับขณะที่ยังไม่ได้ล้างไต
คนไข้ควรรับประทานอาหารโปรตีนคุณภาพสูง มีไขมันน้อย เช่น เนื้อปลา 🐠 ไข่ขาว🥚 โดยหมอจะขอตรวจปริมาณโปรตีนในเลือดที่เรียกว่า อัลบูมิน(Albumin) เป็นระยะๆ นอกจากนั้น ควรรับประทานข้าว🌾 ที่ผ่านการขัดสีแล้ว เพื่อให้ร่างกายได้รับสารฟอสฟอรัสน้อยลง พยายามจำกัดอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น เมล็ดพืช ถั่ว 🥜 เมล็ดฟักทอง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ นม 🥛ผลิตภัณฑ์จากนม ไข่แดง เนื่องจากคนที่เป็นไตวายเรื้อรังมักมีการสะสมสารฟอสฟอรัสในร่างกายมาก จนมีระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์ และวิตามินดี ทำให้กระดูกผุ กล้ามเนื้ออ่อนแรง
หมอจะให้ยาที่สามารถจับกับฟอสเฟต (ฟอสฟอรัส) ร่วมไปด้วย และต้องจำกัดการกินเกลือแกง🧂ไม่ให้เกินวันละ 1 ช้อนชา จำกัดการบริโภคนำ้ปลาและซีอิ๊วไม่ให้เกินวันละ 3/4 ช้อนชา
ให้รับประทานผลไม้🍎🍒🍉 ได้เฉพาะช่วงเช้าของวันฟอกเลือดเท่านั้น เพื่อไม่ให้มีสารโพแทสเซียมในเลือดสูงผิดปกติ จนทำให้หัวใจหยุดเต้น นอกจากนั้นเพื่อไม่ให้มีนำ้หนักเกินจนทำให้บวมและมีความดันเลือดสูงขึ้น ขอแนะนำให้ดื่มน้ำ🥛เท่ากับปริมาณปัสสาวะในแต่ละวัน บวกกับอีก 500 ซีซี แต่ถ้าไม่มีปัสสาวะเลยหรือปัสสาวะน้อยมาก ให้ดื่มน้ำได้ไม่เกินวันละ 500 ซีซี โดยปริมาณนำ้เหล่านี้จะรวมถึงนำ้เปล่า 🍷 เครื่องดื่ม และอาหารทุกชนิดที่เป็นของเหลว
ถ้ารู้สึกกระหายน้ำให้จิบนำ้ทีละน้อย หรืออมนำ้แข็งให้ค่อยๆละลาย ถ้านำ้หนักตัวมากแสดงว่านำ้เกิน โดยปกติแล้ว คนที่ได้รับการฟอกเลือดจะมีนำ้หนักขึ้นไม่เกินวันละ 1 กิโลกรัม ในวันที่ฟอกเลือด ถ้าพบว่านำ้หนักเกินจะต้องดึงนำ้ส่วนเกินออกไป จนอาจทำให้เกิดตะคริวและความดันเลือดตกได้
พรประภาเข้ารับการตรวจเลือดเป็นประจำสม่ำเสมอ หมอแนะนำให้เธอไปคุยกับนักโภชนาการถึงวิธีการปฏิบัติตัว การรับประทานอาหาร เธอมีอาการดีขึ้นตามลำดับ แต่ยังต้องไปล้างไตสัปดาห์ละ 3 ครั้ง เป็นประจำสม่ำเสมอตลอดไป จนกว่าจะต้องเปลี่ยนไตใหม่เมื่อมีโอกาส
บันทึก
1
1
10
1
1
10
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย