28 ม.ค. 2021 เวลา 12:38 • ท่องเที่ยว
โพสนี้ขอนำไปรู้จักสถานที่ท่องเที่ยวชวนให้ประหลาดใจในดินแดนเศรษฐีน้ำมัน ซาอุดิอาระเบีย
รู้หรือไม่ที่ ดินแดนแห่งนี้เต็มไปด้วยปล่องภูเขาไฟจำนวนมากบางปล่องก็ดับสนิทแล้วแต่ก็มีบางปล่องสงบแล้วแต่ยังมีพลังอยู่ ด้วยความที่มีจำนวนมากส่วนใหญ่อยู่ทางฝั่งตะวันตกของซาอุดีอาระเบีย ในอดีตมีการปะทุเกิดขึ้นหลายครั้งซึ่งก็มีลาวาไหลออกมาเป็นจำนวนมากกินพื้นเป็นวงกว้าง นอกจากนี้ในทางธรณีวิทยายังทำให้เกิด(lava tubes)อุโมงค์ลาวา หรือ ท่อลาวา เกิดจากเมื่อลาวาไหลหลากมาที่พื้นผิว ผิวส่วนนอกสัมผัสอากาศจึงแข็งตัวกลายเป็นหินอย่างรวดเร็วในขณะที่ภายในยังหนืดจึงสามารถเคลื่อนที่ไปต่อได้ ซึ่งเมื่อเย็นตัวกลายเป็นหิน บางแห่งท่อลาวาอาจพัฒนากลายเป็นโพรงเหมือนกับถ้ำ
ชาวอาหรับเรียกว่า ฮัรร็อต (حرة-Harrats) ความหมายคือ ทุ่งลาวา - ทุ่งภูเขาไฟ (Volcanic field) ในประเทศซาอุดีอาระเบียมีทุ่งลาวาหลายแห่งโดยทุ่งลาวาที่ใหญ่ที่สุดในซาอุดีอาระเบียคือ ฮัรร็อต เราะฮาต(حَرَّة رَهَاط) กินพื้นที่ 2 หมื่นตารางกิโลเมตร
อัลเฟาว์ฮะตุซซับอะ(الفوهات السبع)
แปลเป็นภาษาไทยคือ ปล่องภูเขาไฟทั้งเจ็ด
สถานที่น่าอัศจรรย์แห่งนี้คือ ปากปล่องภูเขาไฟที่เรียงตำแหน่งตรงกันทั้ง 7 นี้ อยู่ในแคว้นฮิญาซ ทางตะวันตกของซาอุดิอาระเบีย
ใกล้ๆกันเราจะพบกับปากปล่องภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดในคาบสมุทรอาหรับคือ( فوهة الوعبة) ป่องภูเขาไฟอัลวะบาอ์มีเส้นผ่านศูนย์กลางของหลุมประมาณ 2 กิโลเมตร ครึ่ง(2500 เมตร)มีความสูงจากพื้นหลุมสู่ปากหลุมกว่า 250 เมตร ตรงกลางหลุมมีแฟลตเกลือ(Salt Flats)ทำให้มองเห็นเป็นวงกลมสีขาวที่กลางหลุม
1
อีกหนึ่งสถานที่ที่เราอยากแนะนำให้รู้จัก หนึ่งในทุ่งลาวาที่มีภูเขาไฟหลายรูปแบบ อยู่ในพื่นที่บริเวณใกล้เคียงกันทำให้เกิดภูมิทัศน์สุดแปลกในซาอุดิอาระเบีย นั้นก็คือ ฮัรร็อตคอยบัร(حرةخبير)
ภูเขาไฟสีขาว::
ญะบัลอับยัฎ(جبل الأبيض - Jabal Abyad) และที่อยู่ใกล้กัน ญะบัลบัยฎออ์(ة جبل البيضاء - jabal Bayda)
คำว่าอับยัฎและบัยฎออ์ทั้งคู่แปลเป็นภาษาไทยก็คือ "สีขาว" เป็นคำคุณศัพท์ในรูปแบบผู้ชายและผู้หญิง การตั้งชื่อนี้อาจมาจากการตีความลักษณะภูเขาของคนสมัยโบราณ
ญะบัลอับยัฎ เป็นภูเขาไฟแบบโดมลาวา
(Lava dome)และเป็นภูเขาไฟที่สูงที่สุดในซาอุดิอาระเบียอีกด้วย
ญะบัลบัยฎออ์เป็นภูเขาไฟแบบกรวยปอย
(tuff cone)
ซึ่งหากมองจากระยะไกลหรือมุมสูงอาจทำให้เข้าใจผิดว่ามีหิมะปกคลุม เป็นลักษณะภูเขาไฟที่พบได้ยาก ทั้งนี้เกิดจาก (felsic rock) หรือหินอัคนีสีอ่อนนั้นเอง ซึ่งตัดกับภูมิทัศน์โดยรอบ
ห่างจากภูเขาไฟสีขาวเพียง 2 กิโลเมตร เราจะพบกับ ภูเขาไฟที่คลายกับ "ภูเขาไฟฟูจิ" ในญี่ปุ่น นั้นก็คือ ญะบัลกิดิร(جبل القدر) แปลเป็นภาษาไทยคือ "ภูเขาแห่งโชคชะตา" ทั้ง2เหมือนกันเพราะเป็นภูเขาไฟแบบกรวยสลับชั้น ถ้าอยากรู้ว่าเหมือนกันยังไงลองดูรูปตอนที่ฟูจิซังไม่มีหิมะปกคลุมยอดเขา
จากบริเวณภูเขาไฟทั้ง 3 ลูกนี้หากมองจากมุมสูงจะเห็นบริเวณโดยรอบเป็นสีดำตัดกับรอบบริเวณภูเขาสีเขาอย่างชัดเจน ทำให้เกิดลักษณะภูมิประเทศที่งดงามแปลกตา ทั้งนี้มาจากลาวาบะซอลต์ที่ไหลจากญะบัลกิดิรกินพื้นที่ของภูเขาสีขาวนั้นเอง
และสถานที่สุดท้ายที่อยากแนะนำเนื่องจากเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ นั้นก็คือภูเขาไฟ ญะบัลมัลซาอ์(جبل الملساء)
สถาที่นี้เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ครั้งหนึ่งเกือบทำลายเมืองมะดีนะตุลมูเนาวะเราะห์
หรือก็เมืองเมดินา หนึ่งในเมืองที่มีความสำคัญต่อคนมุสลิม
นั้นก็คือเหตุการณ์ ภูเขาไฟระเบิด เกิดขึ้น มิถุนายน 1256 อยู่ในช่วงสมัยกษัตร์คนสุดท้ายราชวงศ์อับบาซียะห์นั้นก็คือกาหลิบ มุอตะซิม บิลลาห์ เทียบกับประวัติศาสตร์ไทยตรงกับช่วงก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัยสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์(1238 - 1270)
โดยเหตุการณ์นี้ผู้ปกครองเมืองมาดีนะห์ขณะนั้นคือมุนิฟ บิน ชีฮะห์ (منيف بن شيحة) จากบันทึกเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงขึ้นในวันศุกร์(30 มิถุนายน) ชาวเมืองได้ยินเสียงระเบิดกัมปนาทมาจาก ฮัรร็อตเราะห์ฮาต หลังจากนั้นภูเขาไฟก็ปะทุเป็นระยะเวลา52วัน ท้องฟ้ายามค่ำคืนเปลี่ยนเป็นสีแดงพร้อมกับแสงเรือง ๆ มองเห็นได้ไกลจากเมืองมักกะห์
ลาวาได้เผาทำลายและกลืนกินทุกสิ่งที่ขวางทาง หินละลาย ภูเขาพังทลาย พื่นที่สีเขียวและต้นไม้ที่กำลังเติบโตได้หายไป ผู้คนต่างหวาดกลัวว่าจุดจบของโลกกำลังมาถึงพวกเขา กว่าหนึ่งเดือนที่ควันและเถ้าธุลีบดบังดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ผลกระทบของการปะทุสามารถมองเห็นได้ไกลถึงเมืองดามัสกัสในซีเรีย (ระหว่างนั้นมีการอพยพผู้คนและพยายามที่จะเปลี่ยนเส้นทางลาวาแต่ก็ไร้ผล)
ขณะที่ธารลาวาดังกล่าวใกล้เข้าสู่เมืองมะดีนะห์(ราว8.2กิโลเมตร)เจ้าเมืองและผู้คนก็มารวมตัวกันที่มัสยิดของท่านศาสดาเพื่อวิงวอนขอให้พระเจ้าช่วยเหลือพวกเขา จู่ๆธารลาวาเลี้ยวไปทางเหนืออย่างกะทันหัน แหละนั้นก็ทำให้เมืองมะดีนะห์รอดพ้นจากหายนะครั้งนี้ไปได้โดยธารลาวาไปหยุดที่ปัจจุบันคือบริเวณสนามบินเมืองมะดีนะห์ (หากดูจากกูเกิ้ลเอิร์ธจะเห็นร่องรอยสีดำจากลาวาปรากฏอยู่ชัดเจน)
เกล็ดเล็กน้อย :: ในปีเดียวกันนั้นเองหลังจากรอดจากหายนะไฟลาวาเผาพลาญเมือง แต่กลับเกิดเหตุการณ์ไฟไหม่มัสยิดท่านศาสดา และตามมาด้วยมองโกลบุกอาณาจักรอิสลาม จนในปี1258กรุงแบกแดดก็ถูกทำลายจนราบพนาสูญ
หวังว่าโพสนี้จะได้เห็นสถานที่แปลกใหม่รวมถึงประวัติศาสตร์เล็กๆน้อยๆและความรู้เพิ่มเติมนะครับไว้เจอกันโพสหน้าครับ
ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิง เรียบเรียงจาก
THE LAVA FIELDS OF SAUDI ARABIA AND
THE FORMATION OF THE KISHB LAVA TUBES
โดยDr. John Roobol
The Seven Natural Wonders of Arabia, Part II: Jabal Abyad
โดยARAMCO EXPATS
Volcanoes of Saudi Arabia
โดยVolcano Discovery
ปากป่องภูเขาไฟที่เรียงตรงกันทั้ง 7 ลูก หรือก็คือ
เฟาว์ฮะตุซซับอ์ "الفوهات السبع" อยู่ใน
The Mecca–Medina–Nafud volcanic line
(แนวภูเขาไฟมักกะห์-มะดีนะห์-และนาฟุด)
ป่องภูเขาไฟวะอ์บาฮ์(فوهة الوعبة) เป็นปากป่องภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดในคาบสมุทรอาหรับ
ญะบัลอับยัฎ (جبل الأبيض - Jabal Abyad) อยู่ทางตอนเหนือของนครมะดีนะห์ โดยเป็นภูเขาไฟที่สูงที่สุดในประเทศซาอุดีอาระเบีย
ญะบัลบัยฎออ์ (ة جبل البيضاء - jabal Bayda) อยู่ทางตอนเหนือของนครมะดีนะห์ ในบริเวณฮัรร็อตคอยบัร(ทุ่งลาวาคอยบัร)
ญะบัลกิดิร(جبل القدر) ห่างจากภูเขาสีขาว 2 กิโลเมตรโดยมันมีความคลายกับภูเขาไฟฟูจิ
ภาพเปรียบเทียบภูเขาไฟทั้ง2
ภาพถ่ายจากดาวเทียมโดยนาซ่า เห็นได้ถึงทิวทัศน์ที่แปลกตา บริเวณภูเขาไฟทั้ง 3 ลูก
ภาพอธิบายเหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิดในปี1256 ไฟจากลาวาเกือบทำลายนครมะดีนะห์
โฆษณา