29 ม.ค. 2021 เวลา 00:51 • ปรัชญา
15 วิธีออมเงินให้อยู่
ไม่ว่าใครก็อยากมีเงินเหลือเก็บทั้งนั้น แต่พอถึงขั้นลงมือทำ บางครั้งรู้ตัวอีกที ก็เหมือนใช้เงินจนเหลือเงินเก็บนิดเดียวแล้ว
เพื่อสร้างความมั่นคงให้ชีวิต เรามีเทคนิคที่ทำได้ในชีวิตประจำวัน 15 วิธี มานำเสนอ
.
1. ยกเลิกการเป็นสมาชิกที่ไม่ได้ใช้งาน
เช่น พวกฟิตเนสที่สมัครไว้ เพราะอยากหุ่นดี แต่อย่าลืมว่า คุณต้องเสียค่าต่ออายุบัตรทุกครั้งที่หมดอายุ ถ้าไม่ได้ไปจริง ๆ ก็ยกเลิกไปดีกว่า
.
2. ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ
ร้านค้าหลายร้าน มีสิ่งพวกนี้ อย่าเพิ่งมองข้ามมันไป เพราะบางที อาจได้รับเช็คของขวัญ บัตรกำนัลดี ๆ อะไรทำนองนี้ ที่ทำให้ประหยัดได้อีก
3. แบ่งประเภท งบประมาณ ลำดับความสำคัญแต่ละอย่างไป
เพราะมันจะทำให้เราเห็นงบรายจ่ายทั้งหมด หลังหักเงินออม ก็เพราะเมื่อลงมือจริง ๆ หลายครั้งก็จ่ายไม่ได้จริงตามที่หวังหรอก
เพราะมักจะจ่ายให้กับ ‘สิ่งที่ไม่สำคัญ ที่เกิดขึ้นก่อนไง’ เช่น จ่ายให้กับค่าอาหารที่อยากทานก่อน
จนลืมคิดไปว่า มีส่วนที่สำคัญที่จะตามมาในช่วงสิ้นเดือน อย่างค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ เหล่านี้
.
4. รายจ่ายประจำที่ลดได้
ค่าอาหารเป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายที่มากพอสมควร ของชีวิตประจำวันเลยก็ว่าได้ วิธีหนึ่งที่จะลดรายจ่ายก็คือ การประหยัดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ให้มาก
สำหรับการลดรายจ่ายค่าอาหารที่ทำได้ เช่น ทำอาหารทานเอง จะประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการซื้อ หากเป็นครอบครัวที่มีคนหลาย ๆ คน ก็จะประหยัดได้เยอะเชียว
.
5. ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าคุณภาพดี
เป็นสิ่งของชิ้นใหญ่ที่ควรลงทุนเพื่อความสะดวกสบายในภายภาคหน้า และควรตระหนักถึงการประหยัดพลังงานด้วย ไม่ใช่จะซื้ออย่างเดียว
เพราะการประหยัดค่าไฟ ช่วยคืนเงิน ในกระเป๋าได้ไม่น้อยเลย
6. ตั้งต้นด้วยเงินออมไว้
บางคนคิดว่าเงินเก็บคือเงินที่เหลือจากการใช้จ่าย รายได้ลบรายจ่าย เท่ากับเงินออม คิดแบบนี้ซึ่งถูกต้อง แต่มันก็ไม่ใช่แนวคิดตั้งต้นสำหรับคนที่อยากเก็บเงิน
เพราะเราไม่ควรมองเงินออมเป็นเงินเหลือ ควรมองเป็นเงินที่ถูก “จัดหมวดหมู่” เอาไว้ และควรหักเงินออมเก็บเอาไว้ก่อนเสมอ จากนั้น เราค่อยใช้จ่ายตามงบที่มี
7. บันทึกการใช้จ่ายให้เป็นกิจวัตร
บางครั้งเราก็ไม่รู้ตัวว่าใช้เงินไปกับอะไรบ้าง ปัญหานี้แก้ไขได้ด้วยการจดบันทึกรายรับรายจ่ายให้เป็นนิสัย
8. เลือกบัญชีธนาคารดอกเบี้ยดี ๆ
เพื่อสร้างผลตอบแทน แล้วก็ลองเลือกแบบหักบัญชีแบบอัตโนมัติ เท่านี้ก็สามารถสร้างวินัยการออมได้แล้ว จะได้ไม่ต้องกังวลว่า เดือนนี้ออมเงินหรือยัง
ซึ่งวิธีนี้ ง่ายต่อการไปถึงเป้าหมายในการออมที่เราวางไว้
9. อย่าซื้อเสื้อผ้าราคาถูก
วิธีการซื้อเสื้อผ้า ก็คือการเลือกเสื้อผ้าที่ใช้วัสดุคุณภาพดี เพราะหากคุณซื้อเสื้อผ้าราคาถูก เนื้อผ้าไม่ดีแล้ว จะทำให้เสื้อผ้าเหล่านั้นเสื่อมสภาพเร็ว สุดท้ายคุณก็ต้องซื้อใหม่อีก
1
10. ใช้ระบบขนส่งแบบสาธารณะ
การโดยสารด้วยรถสาธารณะ ช่วยให้คุณประหยัด ทั้งยังช่วยประหยัดพลังงาน แทนการขับรถยนต์ส่วนตัวด้วย แล้วคุณก็จะพบว่า มันประหยัดได้กว่าเดิมเยอะ
11. ใช้กฎ 24 ชม. และการเปรียบเทียบ
เวลาที่คุณอยากซื้ออะไรที่ราคาสูง ๆ ลองกลับบ้านไปคิดดูอีกสักหนึ่งวันก่อน ค่อยกลับมาซื้ออีกครั้ง เพราะถึงเวลานั้นเราอาจจะไม่อยากได้มันแล้วก็ได้
คำนวณราคาสิ่งของที่จะซื้อดูก็ได้ เทียบกับจำนวนค่าตอบแทนรายวันของเราจากการทำงาน
สิ่งที่สำคัญเลย คือการ “ไม่เครียด” เพราะถ้าเราเครียด จะยิ่งทำให้คุณใช้เงินเปลือง โดยที่คุณเองก็ไม่รู้ตัว เราต้องค่อย ๆ ทำ ค่อยเป็นค่อยไป แล้วคุณจะพบว่า เรามีเก็บมากขึ้น
.
12. อย่าคิดแค่ประหยัด
การออมเป็นสิ่งที่ดี โดยเราควรตั้งเป้าหมายในการออมระยะสั้น เช่น ออมให้ได้ 300 หรือมากกว่านั้นต่อสัปดาห์
จะทำให้เรารู้สึกว่า มันไม่เหลือบ่ากว่าแรง และมีกำลังใจในการทำ และควรวางแผนการเกษียณให้เร็วที่สุด อย่าคิดแค่ทำงานไปวัน ๆ ควรลงทุนในกองทุนเอาไว้ก็ดี
.
13. หยุดใช้บัตรเครดิต
เพราะความสะดวกของมัน จึงทำให้ใช้เกินงบที่ตั้งไว้มาก จนทำให้เก็บเงินได้ไม่ถึงเป้าสักที เทคนิคง่าย ๆ ในการยับยั้งชั่งใจของเรา คือ
เขียนข้อความเตือนตัวเองบ่อย ๆ บนกระดาษ แปะบนบัตรเครดิต เพื่อเป็นข้อความเตือนใจเรา ให้คิดก่อนซื้อในทุก ๆ ครั้งไงล่ะ
14. ลดรายจ่ายเรื่องเสื้อผ้าหน้าผม
เปลี่ยนสิ่งที่ไม่ใช้แล้วเป็นเงิน เช่น เสื้อผ้าที่กำลังล้นตู้อยู่ บางคนมีเสื้อผ้าเยอะแต่ใส่ไม่หมด ตัดใจแล้วขายต่อบ้างก็ดีนะ
15. อย่าบ้าสะสมอะไร
เพราะมันเป็นของสะสม เป็นของที่มีคุณค่าทางจิตใจ มันก็จริงนะ แต่ยังไงซะ ใครที่เป็นนักสะสม ก็มักจะเต็มไปด้วยรายจ่ายที่ตามมามากมาย
ถ้าคุณไม่หยุดตัวเอง เมื่อมองย้อนกลับมา คุณอาจพบว่า มีของสะสมอยู่มันเต็มบ้านไปหมด แต่เงินในบัญชีกลับว่างเปล่า ไม่เหลือสักบาท
1
โฆษณา