Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
St.nurse By พี่นุช
•
ติดตาม
29 ม.ค. 2021 เวลา 15:21 • ไลฟ์สไตล์
พยาบาลจบใหม่ต้องปรับตัวอะไรบ้าง?
บรรยากาศปฐมนิเทศน้องใหม่
1.ความรับผิดชอบ
เรียนจบ สอบใบประกอบวิชาชีพผ่าน เป็น “พยาบาลวิชาชีพเต็มตัว”
ซึ่งมาพร้อมกับความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่
ช่วงแรกเป็นอะไรที่รู้สึกกดดันที่สุด....
เพราะด้วยความที่เราเป็นมือใหม่ ทำหัตถการก็ยังไม่เก่ง
เปิดเส้นแทงน้ำเกลือก็ยังงึกๆงักๆ ไหนจะเรื่องยา เรื่องโรคที่ยังไม่แม่นอีก
ถ้าทำอะไรผิด เราก็ผิดเต็มๆ
แต่! อย่าเพิ่งตกใจนะ ส่วนใหญ่แล้ว...ถ้าเราจบใหม่
เราจะมีพี่เทค คอยดูแลช่วยเหลือเรา และให้คำปรึกษา
ถ้าใครเจอพี่ที่ใจดี และพร้อมที่จะช่วยเหลือ ก็ถือว่าโชคดีมากๆๆ
ซึ่งส่วนใหญ่ ไม่ค่อยเจอพี่เทคที่ใจร้ายหรอก (มั้งงง) 555
....มากสุดก็แค่ดุแต่หวังดีน้า....
2.เพื่อนร่วมงาน
ที่ทำงานใหม่ สังคมใหม่ๆ น้องๆจะได้รู้จักกับรุ่นพี่พยาบาลประจำแผนก
มีทั้งพี่ๆสายโหด สายชิล สายนางฟ้า
แต่ละคนจะมีคาเรกเตอร์เป็นของตัวเอง พี่ๆทุกคนก็สามารถให้คำปรึกษาได้หมด
แต่อย่างว่า...คนเราก็มีหลายประเภท มีทั้งคนดีและไม่ดี อยู่ที่เราต้องรู้จักอยู่ให้เป็น…
คำแนะนำก็คือ...การเป็นน้องใหม่ที่น่ารักของพี่ๆ รู้จักช่วยเหลือ เรียนรู้ รู้จักสังเกต
อะไรที่ผิดพลาดก็เรียนรู้และปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น
ถ้าน้องๆทำตัวน่ารัก ขยัน พี่ๆในแผนกก็เมตตา เอ็นดู อยากช่วยเหลือ
การทำงานพยาบาล ยิ่งทำงานเป็นทีม ทุกอย่างจะราบรื่น
หากน้องอินดี้ ไม่สนใจใคร พี่ๆก็ไม่สนใจเราเช่นกัน
อย่าหาว่าไม่เตือนน้า....
นอกจากนี้ยังมีวิชาชีพอื่นๆ โดยเฉพาะหมอ ที่เราจะได้ติดต่อบ่อยๆ
ไม่ว่าจะเป็นการราวน์เคส รายงานอาการคนไข้ หรือช่วยเข้าหัตถการ
จำได้เลยว่าตอนทำงานแรกๆกลัวหมอมาก ตอนนี้ก็ยังกลัวนะ
โดยเฉพาะเวลาเข้าทำงานที่ใหม่ๆ
คุณหมอก็มีทั้งสายชิล และสายโหด ก็เหมือนคนทั่วไปแหละ
คุณหมอชอบสอนความรู้ และชอบซื้อขนมมาฝากพี่ๆพยาบาล
เดี๋ยวน้องมาทำงาน ก็จะเห็นว่าแพทย์ประจำแผนกสนิทกับพี่ๆพยาบาลกัน
3.รุ่นพี่ขอแลกเวร
เป็นธรรมดามากๆๆๆที่เด็กใหม่อย่างเรา จะโดนรุ่นพี่พยาบาลขอแลกเวรบ่อยๆ
เพราะด้วยความที่เรายังเป็นน้องใหม่ ก็เลยมักจะไม่ค่อยกล้าปฏิเสธรุ่นพี่
รุ่นพี่ส่วนใหญ่เลยขอแลกเวร หรือให้เรามาขึ้นเวรแทนให้
ซึ่งถ้าใครขยันทำงานหาเงิน ก็เข้าทางเลย …
แต่ถ้าใครที่ไม่ชอบการขึ้นเวร ก็จะอึดอัดหน่อยนะ
เพราะเราก็ไม่ค่อยกล้าปฏิเสธ
4.การทำกิจกรรม
เวลาที่มีกิจกรรมต่างๆในโรงพยาบาลที่ต้องไปแสดง หรือ แต่งตัวอะไรก็ตาม
เช่น เชียร์ลีดเดอร์ งานกีฬาสี
ส่วนใหญ่ เรานี้แหละที่เป็นเด็กใหม่ จะต้องไปกัน...
ซึ่งก็เป็นกิจกรรมที่ทำให้เราได้รู้จักกับเพื่อนๆ และวิชาชีพอื่นๆด้วย
5.การปรับตัวเป็น Incharge
สมัยที่พี่นุชจบใหม่ พี่นุชเข้าใจว่าคนที่เป็นพยาบาล Incharge
จะต้องมีประสบการณ์การทำงานหลายปี
แต่จริงๆแล้วสถานการณ์หน้างานก็ต้องบีบให้เราทำให้ได้ เพราะ คนขาด
แม้เราจะทำงานผ่านไปไม่ถึงปี แต่น้องก็ต้องฝึกเป็นให้ได้ นี้คือ
ความยากอย่างหนึ่ง สำหรับเด็กจบใหม่
(อายุงานเกือบๆปี เรียกเด็กจบใหม่ไหมอะ 555)
Incharge ก็คือ หัวหน้าเวร ที่ต้องตัดสินใจว่าจะทำอะไร จะแก้ปัญหาอย่างไร
จำได้เลยว่า... ตอนที่ถูกฝึกเป็น Incharge CCU ครั้งแรก
เครียดมากๆๆๆ (ก. ล้านตัววว)
การเป็น Incharge... เราไม่ได้แก้ไขปัญหาเฉพาะคนไข้เท่านั้น
แต่มีหลายๆอย่างที่เราต้องแก้ เช่น ถ้าญาติคนไข้ไม่พอใจ เราจะทำยังไง?
สิทธิรักษาคนไข้ไม่ได้ เราจะทำยังไง?
ซึ่งตรงนี้แหละที่ประสบการณ์มันจะช่วยสอนเรา...
จะเล่าเหตุการณ์ที่ตัวเองเป็น Incharge ให้ฟัง...
ซึ่งตอนนั้นอายุงานพยาบาลประมาณ 1 ปีกว่า...
แต่ก็ยังรู้สึกว่าตัวเองมีความรู้หลายๆอย่างไม่เพียงพอ...
วันนั้นเป็นวันที่เหมือนจะเงียบสงบ ช่วงเวลาราวๆ ตี 2
คนไข้พากันหลับหมดแล้ว
ขณะที่ Monitor EKG
ก็สังเกตเห็น EKG ของคนไข้ ค่อยๆยืดออก Pulse ค่อยๆตกลง
ตอนนั้นแอบตกใจนะ เลยรีบเข้าไปดูคนไข้ คลำ Pulse ไม่พบ
ตอนนั้นรีบตั้งสติ และรีบบอกน้องผู้ช่วยพยาบาลให้ลากเครื่อง Defib มาติดคนไข้
อีกคนขึ้น CPR ส่วนพี่พยาบาลอีกคนเป็น Med
และพี่นุชก็รีบโทรตามแพทย์เวร
...เป็นครั้งแรกที่รู้สึกตื่นเต้นมาก... และได้เรียนรู้ว่า การมีสติ คือ สิ่งที่สำคัญมากๆๆ....
สิ่งที่อยากจะฝากน้องๆคือ...
การดูรุ่นพี่เป็นต้นแบบ ถ้าถามพี่นุชว่า... อยู่ดีๆก็ทำเองเป็นเลยไหม?
ขอตอบเลยว่าไม่
พี่นุชอาศัยสังเกตเวลาที่พี่ๆเขาทำนู้นนี้นั้นเวลาเกิดเหตุต่างๆ
และพี่ๆก็คอยแนะนำว่าควรทำอย่างไรเวลาเกิดเหตุการณ์นั้นๆ
ครั้งแรกของเราอาจจะไม่ Perfect หรอก
แต่ครั้งต่อๆไป มันจะดีขึ้นเรื่อยๆ….
พี่นุชขอเป็นกำลังใจให้น้องๆ ที่จะจบใหม่ ปีนี้นะคะ
ด้วยรัก พี่นุช
ภาพตอนปฐมนิเทศน้องใหม่
2 บันทึก
6
4
2
6
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย