30 ม.ค. 2021 เวลา 14:52 • ยานยนต์
รถชนเพราะ หักหลบรถตัดหน้า ใครผิด?
เนื่องจากวันนี้แอดมิน ได้มีคนใกล้ตัวประสบอุบัติเหตุทางท้องถนน โดยคนใกล้ตัวของแอดมินได้ขับขี่รถยนต์มาตามถนนในเลนซ้าย(ถนน4เลน ฝั่งละ2) ต่อมาได้ถูกรถจักรยานยนต์คันหนึ่ง ขับขี่จากไหล่ทางและตัดเข้ามายังเลนซ้ายที่ รถยนต์ขับอยู่อย่างกระทันหัน ทำให้รถยนต์ที่ขับขี่อยู่ต้องหักหลบรถจักรยานยนต์คันนั้น โดยสามารถหักหลบพ้น แต่รถเสียหลักพลิกคว่ำ ชนเข้ากับต้นไม่บริเวณเกาะกลางถนน จนได้รับบาดเจ็บ ซึ่งในกรณีแบบนี้เป็นที่สงสัยว่า ถ้าไม่ได้เกิดการเฉี่ยวชนกับรถที่ตัดหน้า รถจักรยานยนต์ที่ตัดหน้า จะมีความผิดหรือไม่
ถ้าไม่เกิดการเฉี่ยวชนจะผิดหรือไม่?
ตามกฏหมายไทยได้มีการระบุไว้ใน มาตรา 43 (4) ว่า ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถ โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน ซึ่งถ้าตีความตามตัวกฎหมายข้อนี้ก็หมายความว่า ถ้าผู้ที่ขับขี่รถยนต์โดยประมาท หวาดเสียว อาจจะเกิดอันตรายต่อบุคคลอื่น หรือไม่เกิดขึ้น ก็มีความผิดตามข้อกฎหมายข้างต้นแล้ว หมายความว่า หากไม่เกิดการเฉี่ยวชน แต่การขับขี่รถนั้น เป็นการขับขี่โดยประมาท หรือหวาดเสียว ก็ถือว่าบุคคลนั้นมีความผิด
ตัวอย่าง คำพิพากษาแบบย่อศาลฎีกาที่ 2468/2526
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าขณะที่นาย A ขับรถยนต์มาตามถนนตามปกติ ได้มีผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ออกจากซอยด้านซ้ายมือตัดหน้ารถยนต์โดยกระชั้นชิด นายอุ่นจึงหักหลบ เป็นเหตุให้ชนกับรถยนต์ที่คู่กรณีที่ขับสวนทางมา ศาลฎีกาเห็นว่าตามข้อเท็จจริงที่ได้ความถือไม่ได้ว่านาย A ขับรถด้วยความประมาท เพราะการที่บุคคลขับรถบนท้องถนนตามปกติและมีผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ตัดหน้าในระยะกระชั้นชิดเช่นนั้น ย่อมจะต้องหักรถหลบหรือปฏิบัติเช่นเดียวกับนาย A และย่อมไม่มีโอกาสที่ทันได้คิดหรือตัดสินใจว่าจะหักหลบไปทางซ้ายหรือทางขวา ดังนั้นเหตุที่เกิดจึงมิใช่เพราะความประมาทของนาย A
1
หากเกิดอุบัติเหตุต่อคู่กรณีแล้วจะเรียกค่าเสียหายได้หรือไม่?
หากเป็นการกระทำผิดในทางอาญาแล้ว ก็ถือว่าเป็นการละเมิดในทางแพ่งด้วย จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายต่อบุคคลดังกล่าว
จากคำพิพากษาตัวอย่างข้างต้นนั้นก็จะเห็นว่า หากบุคคลที่ขับรถและถูกตัดหน้าโดยกระชั้นชิดนั้น ย่อมจะต้องหักรถหลบ ผู้ที่ขับขี่รถตัดหน้านั้นจึงมีความผิด ส่วนรถที่ถูกตัดหน้านั้นจะมีความผิดหรือไม่ ต้องพิจารณาปัจจัยอื่นประกอบด้วย อย่างเช่นใช้ความเร็วเกินกำหนดหรือไม่ เป็นต้น
โฆษณา