1 ก.พ. 2021 เวลา 02:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ฟองสบู่ vs Reflexivity theory ของจอร์จ โซรอส ดูยังไงว่าสินทรัพย์ไหนฟองสบู่เเล้ว
1
ตามปกติของวัฎจักรเศรษฐกิจย่อมเป็นปกติอยู่เเล้วที่สภาวะมูลค่าสินทรัพย์ทุกชนิด จะต้องมีการเพิ่มขึ้นเเละลดลง หรือที่เราเรียกกันว่า Boom and Bust Cycle จึงไม่น่าจะใช่เรื่องเเปลกใจที่คุณจะเห็น วัฎจักรเศรษฐกิจในหลายๆครั้ง
1
เเต่ถ้าหากระดับราคาของสินค้าบางอย่างอยู่สูงกว่ามูลค่าที่เเท้จริง(intrinsic value)อย่างมาก เเละรวดเร็วจนเกินไป หรือที่เราเรียกว่า ฟองสบู่ เเละย่อมไม่เเปลกที่การกลับเข้าสู่ราคาที่ควรจะเป็น หรือที่เรียกกันว่า Correction ของตลาด (การปรับฐาน) ซึ่งจะมีทั้งครั้งใหญ่(ฟองสบู่เเตก)เเละครั้งเล็กอยู่เเล้ว ซึ่งก็ไม่ได้เคยเกิดขึ้นเเค่ครั้งเดียวในอดีต หากเเต่ มนุษย์ได้ผ่านเหตุการณ์เหล่านี้มาเเล้วนับครั้งไม่ถ้วน อันมีเหตุมาจากความโลภของมนุษย์เองล้วนๆ
5
เเต่ก็มีอีกทฤษฎีหนึ่งของผู้จัดการกองทุนที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่ง บอกไว้ว่า การตกลงเเละเข้าใจผิดร่วมกันของคนหมู่ใหญ่ๆ ย่อมนำไปสร้างความเป็นจริงได้ เพราะมนุษย์มักได้รับข้อมูลที่ ไม่จริง(Fallibility) เเละ ผลสืบเนื่อง (Reflexivity) โดยผู้จัดการกองทุนที่เป็นเจ้าของทฤษฎีนี้คือ George Soros ถ้าเป็นเช่นนั้นเเล้วก็หมายความว่า การเติบโตที่เร็วไปของระดับราคาอาจจะทำให้มูลค่าที่เเท้จริงเติบโตตามได้ ถ้าอย่างนั้นเเล้ว ฟองสบู่ก็จะไม่เเตก?
3
เเล้วคุณจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่คุณเห็นเป็น ฟองสบู่ หรือ reflexivityที่อาจทำให้พื้นฐานตามราคาได้ทัน?
2
ซึ่งถ้ามาย้อนมองในปัจจุบัน มีหลายสินทรัพย์ที่ราคาพุ่งขึ้นมาอย่างน่าตกใจ เเละ พื้นฐานธุรกิจนั้นๆก็ไม่ได้วิ่งเเรงเท่าราคา เพราะฉะนั้นการที่คุณจะเเยกเเยะสิ่งต่างๆได้ชัดเจนคุณก็ต้องเข้าใจขั้นตอนของมันก่อน
ฟองสบู่(Bubble)ในทางเศรษฐศาสตร์ก็คือสภาวะที่ระดับราคาของสินทรัพย์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เเละ สูงมาก ซึ่งเเซงหน้าพิ้นฐานของสินทรัพย์นั้นไปเเล้ว ซึ่งอาจจะนำไปสู่ผลลัพธ์ของฟองสบู่เเตกถ้าผู้คนหมดความเชื่อมั่น
3
โดยวัฎจักรฟองสบู่เป็นดังนี้....
1.การเเทนที่(displacement)
การเกิดเเนวความคิดใหม่ๆเกี่ยวกับสินทรัพย์นั้นๆ ไม่ว่าจะเป็น รูปเเบบใหม่ กิจการดีขึ้น หรือ มีเทคโนโลยีใหม่ หรือ อาจจะความเชื่อใหม่ๆ
สิ่งนี่ย่อมทำให้สินทรัพย์ได้รับความสนใจ
4
2.การเติบโต (Boom)
เมื่อมีคนมาสนใจ ระดับราคาของสินทรัพย์ย่อมเติบโต
3.มั่นใจหรือสบายใจ (Euphoria)
ระดับราคาวิ่งอย่างไม่หยุดยั้ง โดยไม่สนใจความไม่เเน่นอนต่างๆเลย เเละ ตลาดเชื่อมั่นในสิ่งนั้นๆมาก
4.ทำกำไร (Profit taking)
เริ่มมีคนขายทำกำไรอย่างเป็นกอบเป็นกำ รายใหญ่เริ่มขายออกมา
1
5.ตื่นกลัว (Panic)
เมื่อทุกคนเห็นระดับราคาลงมา ภาพที่เคยเชื่อย่อมสั่นคลอน เเละเมื่อมีหนึ่งคนเชื่อ ตลาดย่อมได้รับผลกระทบ เเละ ท้ายที่สุด เกิดเป็น ฟองสบู่เเตกคือการที่ระดับราคาร่วงอย่างรุนเเรง ดังจะได้เห็นมาในประวัติศาสตร์ชาติเราหลายๆครั้ง เช่น ฟองสบู่ทิวลิป วิกฤติดอทคอม วิกฤติหนี้บ้านของสหรัฐ เเละอื่นๆอีกมาก
2
เเล้วทางฝั่งของทฤษฎี Reflexivity ของSorosหละ จะเป็นยังไง
ทฤษฎีที่โซรอสตั้งขึ้นนั้น เป็นตัวที่ทำให้เขาหาเงินจาก เเนวความคิดนี่อย่างมากมาย ซึ่งเเนวความคิดนี้ อยู่บนพื้นฐานว่า เราไม่สามารถ รับรู้ข้อมูลครบทุกด้าน เเละ ข้อเท็จจริง อย่าง100% เเละพิสูจน์มันได้เหมือนหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ที่ว่า โลกกลม เเละ เมื่อโดนพิสูจน์ว่าเเบน เพียงครั้งเดียวก็เพียงพอจะทำลายความเชื่อนั้นๆ
เเต่โซรอสบอกว่าในวิทยาศาสตร์สังคมไม่เป็นเช่นนั่น เราจะถูกบอดเบือน เเละ ไม่ครบถ้วน ซึ่งเขาเรียกมันว่า Fallity เเละ เมื่อมันมีหลายๆคนเชื่อสิ่งนั้นจะสะท้อนภาพของความเชื่อนั้น เรียกว่า Reflexivity ซึ่งสามารถ สะท้อนได้ทั้งภาพที่ดีเเละร้าย
หมายความว่า เมื่อราคาของสินทรัพย์นำพื้นฐาน ก็อาจจะทำให้พื้นฐานของสิ่งๆนั้นเติบโตมาทัน อย่างเช่น ราคาหุ้นนำพื้นฐานบริษัท เพราะความเชื่อว่ามันจะดี คนในบริษัทก็จะตั้งใจทำงานเเละทำให้กำไรเติบโต ราคาก็จะทันกับกำไร
หรือถ้าคนเชื่อว่าสินทรัพย์นั้นไม่ดี สุดท้ายคนก็อาจจะไม่ซื้อสินค้านั้น เเละกำไรลดลงตาม ราคาหุ้นก็จะตกไปเรื่อยๆ
10
ซึ่งคุณจะเห็นได้ว่า ท้ายที่สุดเเล้ว ทฤษฎีของโซรอสไม่ได้เเยกขาดออกจากกับ ความเป็น ฟองสบู่ หากเเต่ นำมาช่วยในการวิเคราะห์ว่า ความเชื่อของตลาดสามารถพาพื้นฐานสินทรัพย์ไปได้จริงไหม ถ้าหากไม่ คุณก็ควรรับรู้สัญญาณนั้นก่อน เพื่อคุณจะได้อยู่ในช่วง Profit taking ก่อนที่ความรับรู้(Fallity) จะเกิดเเล้วในไปสู่ผลสืบเนื่อง(Reflexivity) เเล้วทำให้เกิดฟองสบู่ หรือ ถ้าส่วนใหญ่เชื่อว่ากิจการจะดีเเล้วราคาวิ่งขึ้นไป พื้นฐานของกิจการนั้นตามไปเเค่ไหน ถ้าตามไปมากพอก็มีเเนวโน้มว่าราคาจะสูงขึ้นเรื่อยๆ
5
ทั้งนี้ทังนั้นบทความนี้ทำมาเพื่อเเสดงมุมมองหลายๆมุมให้กับนักลงทุนทุกคน เพราะในยุคที่เต็มไปด้วยความไม่เเน่นอน การได้เห็นมุมมองจากหลายๆคนย่อมเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่ดี เเละ ไม่มั่นใจบางอย่างมากจนเกินไป ตอนนี้อาจจะเป็นฟองสบู่เเล้วหรือไม่ ไม่มีใครรู้เเต่ฟองสบู่จะรู้เมื่อมันเเตกเท่านั้น
2
ขอให้มีความสุขกับการลงทุนนะครับ
เเอดตฤณ
โฆษณา