ประวัติชีวิตที่น่าทึ่ง !! ของอองซาน ซูจี ผู้ผ่านชีวิตทั้งขึ้นและลงต่อเนื่องมาหลายครั้ง
1
จากเหตุการณ์วันนี้ 1 กุมภาพันธ์ 2564 มีข่าวยืนยันจากสำนักข่าวต่างประเทศหลายแห่งว่า ทางกองทัพของเมียนมา ได้เข้าควบคุมตัวผู้นำทางพฤตินัยของประเทศคือ นางอองซาน ซูจี ไว้แล้วนั้น
5
จึงทำให้เกิดกระแสความสนใจ เกี่ยวกับเรื่อง
นางอองซาน ซูจี กลับเข้ามาอยู่ในสายตาของประชาคมโลกอีกครั้งหนึ่ง
2
เราลองมาดูประวัติชีวิตของเธอ ทั้งเรื่องครอบครัว
การศึกษา และการเมือง ว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง
อองซาน ซูจี ปัจจุบันนี้ อายุ 76 ปีแล้ว
เกิดเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2488
2
คุณพ่อ-คุณแม่
เป็นลูกสาวของนายพลอูอองซาน ซึ่งเป็นวีรบุรุษอิสรภาพของพม่า ทำการต่อสู้เรียกร้องอิสรภาพจากอังกฤษ และญี่ปุ่น
โดยก่อนที่ประเทศจะได้รับอิสรภาพในวันที่ 4 มกราคม 2491 นายพลอองซานก็ถูกลอบสังหารเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2491 ในขณะที่ซูจีอายุได้เพียงสองขวบ
6
ในปี 2503 แม่ของนางอองซานซูจี (ดอว์ขิ่นจี) ไปทำงานเป็นทูตที่ประเทศอินเดีย ซูจีจึงได้เข้ารับการศึกษาอยู่ที่โรงเรียนมัธยมของอินเดีย
ในปี 2507-2510 ซูจีได้เข้าเรียน ปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัย Oxford มหาวิทยาลัยชื่อดังของโลกในสาขาปรัชญาการเมืองและเศรษฐศาสตร์ ซึ่งมีผู้นำและนายกรัฐมนตรีของหลายประเทศทั่วโลกจบในสาขานี้เช่นกัน
1
และได้พบรักกับไมเคิล อลิซ หลังจากนั้นเมื่อจบการศึกษาแล้วก็ไปทำงานอยู่ที่องค์การสหประชาชาติที่นิวยอร์ก ช่วงที่มีเลขาธิการเป็นชาวพม่าชื่อนายอูถั่น
1
ในปี 2515 ได้แต่งงาน และไปอยู่ที่ภูฏาน มีลูกสองคนคือ อเล็กซานเดอร์( ชื่อพม่า มิ้นชานอ่อง)เกิดในปี 2516 และลูกชายคนเล็กชื่อคิม (ชื่อพม่า เถ่งลิน)เกิดปี 2520
3
ปี 2516-2520 ครอบครัวได้ย้ายกลับไปอยู่ที่อังกฤษ
2
2528-2529 ได้เดินทางไปทำงานวิจัยที่ประเทศญี่ปุ่น
ปี 2530 ได้เดินทางกลับมาอยู่ที่อังกฤษ โดยสามีทำงานเป็นนักวิจัย ส่วนตนเองได้เรียนปริญญาเอกที่ London School of Oriental and African Studies
ปี 2531 เป็นจุดหักเหสำคัญที่สุดในชีวิตเธอ ในขณะที่ซูจีอายุได้ 43 ปี ได้ตัดสินใจเดินทางกลับพม่า เพื่อดูแลแม่ที่ป่วยหนัก
1
ในช่วงนั้นเอง เป็นช่วงที่เกิดเหตุการณ์เศรษฐกิจตกต่ำ มีการเมืองที่ขัดแย้งวุ่นวาย และมีนักศึกษาประชาชนออกมาประท้วงกันเป็นจำนวนมาก
23 กรกฎาคม 2531 นายพลเนวินซึ่งเป็นผู้นำในขณะนั้นได้ลาออก หลังจากที่ครองอำนาจมาต่อเนื่องยาวนานถึง 26 ปี
3
เหตุการณ์ใหญ่มากและสำคัญมากในประวัติศาสตร์ของพม่าได้เกิดขึ้น ในวันที่ 8/8/88 คือ 8 สิงหาคม 2531 หรือค.ศ. 1988 มีคนมาชุมนุมหลายแสนคน และเกิดการสลายการชุมนุม มีผู้เสียชีวิตไปกว่า 3000 คน
ซูจีได้เริ่มดำเนินการทางการเมือง โดยเขียนจดหมายเปิดผนึก เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2531
ตามด้วยการปราศรัยต่อหน้าประชาชนกว่า 500,000 คน ที่มหาเจดีย์ชะเวดากอง ในวันที่ 26 สิงหาคม 2531
1
และในปีเดียวกันนั้นเอง ทางกองทัพพม่าได้จัดตั้ง
สลอร์ค(SLORC) ขึ้น
ส่วนนางซูจี ได้จัดตั้งพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยหรือเอ็นแอลดีขึ้น(NLD) เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2531 และดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรค ถือว่าเข้าสู่การดำเนินการทางการเมืองอย่างเต็มตัว
2
27 ธันวาคม 2531 คุณแม่ได้เสียชีวิตลง
20 กรกฎาคม 2532 ทางการพม่าได้ประกาศกฎอัยการศึก และทำการกักบริเวณนางซูจีอยู่ในบ้านเป็นเวลาสามปี
1
27 พฤษภาคม 2533 แม้นางซูจีจะถูกกักบริเวณอยู่ที่บ้าน แต่พรรคเอ็นแอลดีของเธอก็ชนะเลือกตั้งได้ครองเสียงในสภามากกว่า 82%
3
อย่างไรก็ตาม SLORC ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งครั้งนี้ และได้เสนอให้นางซูจีเดินทางไปที่อังกฤษ แต่นางไม่ยอม จึงขยายระยะเวลาการกักบริเวณจากสามปีเป็นห้าปี และในที่สุดขยับเป็นหกปี
10
14 ตุลาคม 2534 ในขณะที่นางซูจีถูกกักบริเวณอยู่ที่กรุงร่างกุ้งนั้น เธอได้รับการประกาศชื่อ เป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ นับเป็นสตรีคนแรกของทวีปเอเชียที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้
2
แต่เธอไม่สามารถไปรับรางวัลได้ สามีและลูกทั้งสองจึงเดินทางไปรับแทน (ต่อมาภายหลัง อีกกว่า 21 ปี นางจึงได้ไปกล่าวปราศรัยที่กรุงออสโลเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2555)
2
10 กรกฎาคม 2538 หลังจากถูกกักบริเวณที่บ้านเป็นเวลาหกปี เธอก็ได้รับอิสรภาพ
เมื่อได้รับอิสรภาพแล้ว นางซูจีได้ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองอีก เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม ให้กับประชาชน
จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์สำคัญคือ เดือนกรกฎาคม 2541 เธอถูกขัดขวางไม่ให้เดินทางออกนอกกรุงร่างกุ้ง จึงประท้วงนั่งอยู่ในรถนานถึงห้าวัน
1
27 มีนาคม 2542 เหตุการณ์เศร้าสลดก็ได้เกิดขึ้นเมื่อสามีชาวอังกฤษของนางซูจี ซึ่งป่วยเป็นมะเร็งและได้ขอทำวีซ่าเข้าประเทศพม่าเพื่อมาพบกับนางซูจี และทางการพม่าไม่อนุญาตให้เข้ามา(โดยอ้างว่าไม่มีสถานพยาบาลที่จะให้การดูแลได้)
2
แต่ยืนเงื่อนไข ให้นางซูจีเดินทางไปพบกับสามีที่อังกฤษแทน เธอตัดสินใจครั้งสำคัญคือ ไม่ไป เพราะเกรงว่าเมื่อออกนอกประเทศไปแล้ว จะไม่ได้รับ
การอนุญาตให้กลับมาอีก สุดท้ายสามีก็เสียชีวิตไปโดยที่นางไม่ได้ดูใจ
6
21 กันยายน 2543 เธอถูกกักบริเวณอีกเป็นครั้งที่สอง
2
พฤษภาคม 2545 ได้รับอิสระจากการกักบริเวณครั้งที่สอง
พฤษภาคม 2546 เธอถูกกักบริเวณอีกเป็นครั้งที่สาม
2
ได้มีคำตัดสินในปี 2552 ให้จำคุกที่เรือนจำอินเส่ง ข้อหาละเมิดการกักตัว มีโทษจำคุกสามปี ลดเหลือ 18 เดือน ทางการพม่าไม่ส่งเข้าเรือนจำ แต่ให้ไปกักตัวที่บ้านแทน
1
พฤษภาคม 2555 เธอได้เดินทางมาเมืองไทย
การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2558 เป็นการเลือกตั้งโดยรัฐบาลพลเรือนเป็นครั้งแรกในรอบ 55 ปี และพรรคของเธอก็ประสบชัยชนะอีกครั้งหนึ่ง
2
แต่นางซูจีไม่สามารถเป็นประธานาธิบดีได้ เนื่องจากรัฐธรรมนูนได้กำหนดไว้ว่า ผู้ที่มีสามีหรือมีลูกเป็นคนต่างด้าว จะไม่สามารถดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้
8
เป็นการต่อสู้ทางการเมือง ที่สืบเนื่องยาวนานมาถึงปัจจุบัน จนมีการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่งเมื่อพฤศจิกายน 2563 พรรคของนางซูจีก็ชนะการเลือกตั้งครองเสียงมากกว่า 83%
2
และมีข่าวขัดแย้งกับทางกองทัพมาโดยตลอด ในที่สุด วันนี้ก็มีการเข้าควบคุมตัวนางซูจี พร้อมผู้บริหารระดับสูงของพรรคเอ็นแอลดี
1
ผู้ที่เคยต่อสู้ในทางการเมืองมาอย่างยาวนาน ด้วยสันติวิธีและไม่รุนแรง อาทิเช่น
มาร์ติน ลูเธอร์คิง ของประเทศสหรัฐอเมริกา
มหาตมะคานธี ของประเทศอินเดีย
และเนลสัน แมนเดลล่า ของประเทศแอฟริกาใต้
โฆษณา