Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
พบหมอจิน
•
ติดตาม
2 ก.พ. 2021 เวลา 07:31 • สุขภาพ
🚑ระบบเครือข่ายการส่งต่อ ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอก🚑
อาการเจ็บหน้าอก เป็นอาการที่ทำให้ผู้ป่วยรีบมาพบแพทย์ทันที ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มักกังวลว่าตนเองอาจเป็นโรคหัวใจก็ได้ ดังนั้นเมื่อมาถึงโรงพยาบาล หมอจึงซักประวัติว่า
🫀ขณะเจ็บหน้าอกกำลังทำอะไรอยู่
🫀เจ็บหน้าอกนานเท่าใด
🫀 มีการเจ็บร้าวไปที่ไหนบ้าง
🫀ใช้ยาอะไรบ้างขนาดเจ็บหน้าอก
และหลังจากได้รับการตรวจร่างกายอย่างละเอียดแล้วแพทย์จึงจะลงความเห็นว่า อาการเจ็บหน้าอกนั้นจัดอยู่ในกลุ่มใด
อาการเจ็บหน้าสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มคือ
1️⃣ การเจ็บหน้าอกแบบเฉียบพลัน ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute coronary syndrome หรือ STEMI)
2️⃣เจ็บหน้าอกซึ่งมีสาเหตุมาจากหลอดเลือดหัวใจตีบ Stable angina
3️⃣เจ็บหน้าอกที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคหัวใจแต่อย่างใด แต่อาจมีสาเหตุมาจากโรคกรดไหลย้อนหรือการอักเสบของกระดูกหน้าอก เป็นต้น
ถ้าผู้ป่วยที่อยู่ในชนบทท่ีห่างไกลความเจริญ มีอาการเจ็บหน้าอกเจ็บแน่นหน้าอก จำเป็นที่จะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลใกล้บ้านก่อน แต่มีโรงพยาบาลในชนบทหลายแห่งไม่สามารถให้การรักษาอาการเจ็บหน้าอกจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้
แต่เป็นที่ทราบกันดีว่า ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน มักเป็นการเจ็บป่วยที่นำไปสู่การเสียชีวิตที่สำคัญทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วย จึงนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบัน
แต่อาการเจ็บหน้าอกไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคหัวใจเพียงอย่างเดียว อย่างท่ีกล่าวไว้ข้างต้น เพื่อให้เกิดการจัดระบบในการดูแลผู้ป่วยร่วมกัน ของโรงพยาบาลชุมชนที่ห่างไกลกับอายุรแพทย์โรคหัวใจ จึงได้มีการวางมาตรการคัดกรองผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกอย่างละเอียด
ถ้ามีอาการเจ็บหน้าอกมาภายใน 24 ชั่วโมงผู้ป่วยจะได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 12 ลีดและตรวจวัดค่าโทรโปรนิน_ที (Troponin-T) ในเลือดทันที
เมื่อผลการตรวจทั้งสองชนิดปกติผู้ป่วยจะได้รับอนุญาตให้กลับบ้านได้ แต่ถ้าคลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติและค่าโทรโปรนิน_ที ต่ำกว่า 50 ng/l แสดงว่าผู้ป่วยยังมีความเสี่ยงต่อภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันอยู่ ผู้ป่วยจะได้รับอนุญาตให้นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลต่อไปอีกเพื่อตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและค่าโทรโปรนิน_ที เป็นระยะๆ ในอีก4-6 ชั่วโมง ต่อมา
แต่ถ้าผลการตรวจชนิดใดชนิดหนึ่งผิดปกติจากการตรวจซ้ำ ผู้ป่วยจะได้รับการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลที่มีอายุรแพทย์โรคหัวใจตามระบบต่อไป
ถ้าพบคลื่นไฟฟ้าหัวใจเกิดใหม่ผิดปกติมีลักษณะเป็นคลื่นเอสทียกขึ้น (ST elevation) หรือมีการนำคลื่นไฟฟ้าหัวใจติดขัดทางด้านซ้าย (Left bundle branch block) ให้สงสัยไว้ก่อนว่าผู้ป่วยอาจอยู่ในภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ซึ่งแพทย์โรงพยาบาลชุมชนจะปรึกษากับอายุรแพทย์โรคหัวใจทันที ในการใช้ยา💊ละลายลิมเลือดสเตรปโตไคเนส (Streptokinase)
สำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีข้อห้ามใช้ยาชนิดนี้โดยมีการตรวจติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และสัญญาณชีพทางไกลของผู้ป่วยร่วมกันระหว่าง โรงพยาบาลชุมชนกับอายุรแพทย์โรคหัวใจจนทำให้เกิดความปลอดภัยและความพึงพอใจต่อผู้ป่วยและญาติ และยังเป็นการสร้างขวัญ กำลังใจให้กับแพทย์ 👨⚕️พยาบาล 👩🏭และบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนอีกด้วย
หลังจากพ้นขีดอันตรายแล้วผู้ป่วยจะเข้าสู่ระบบเครือข่ายการส่งต่อไปยัง โรงพยาบาลในเครือข่ายสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน ศูนย์ประสานงานการรับส่งต่อผู้ป่วยอายุรแพทย์โรคหัวใจ ศูนย์สวนหัวใจและหลอดเลือดเพื่อการรักษาด้วยการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน หรือการผ่าตัดหลอดเลือดต่อไป
มีการใช้ยา💊วาร์ฟาริน (Warfarin) ซึ่งเป็นยาละลายลิมีเลือดซึ่งไปอุดตันหลอดเลือดโคโรนารี่ที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ 🫀และระบบเครือข่ายการส่งต่อ โดยมีการเจาะเลือดดูค่าการแข็งตัวของเลือด (PT and INR) ด้วยเครื่องตรวจโคแอคกูโรมิเตอร์ (Coagulometers) เป็นระยะๆ เพื่อเป็นตัวช่วยในการปรับขนาดของยาว่าเฟอรินให้เหมาะสม
แต่มีโรงพยาบาลชุมชนหลายแห่งยังไม่สามารถมีเครื่องตรวจดูค่าการแข็งตัวของเลือดได้จึงได้มีความพยายามที่จะจัดตั้งคลินิกว่าเฟอรินในโรงพยาบาลชุมชนต่างๆ ให้มากขึ้นเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเครือข่ายให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
1 บันทึก
1
23
1
1
23
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย