1 ก.พ. 2021 เวลา 07:31 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์
Acting coach คืออะไร
คิดมานานแล้วว่าอยากรีวิวอาชีพตัวเอง แต่รู้ว่าตัวเองยังไม่กล้าแกร่งพอ ในขณะเดียวกันก็คิดได้ว่า Acting coach ตัวจ้อยอย่างเรา ก็ขอเขียนเท่าที่เรารู้.... ถูกผิดประการใดอภัยมา ณ ที่นี้เลย
ภาษาไทยใช้คำว่า ผู้ฝึกสอนการแสดง หรือเราเรียกกันง่ายๆ ว่าครูสอนการแสดง
แต่เป็นครูสอนการแสดง เฉพาะละครหรือหนังเรื่องนั้นๆ
ตำแหน่งหน้าที่ของเรา มี อยู่ 2 ที่ คือ
1. ในการ Workshop นักแสดง อยู่ในช่วงเตรียมตัวก่อนถ่าย
2. อยู่ในกองถ่ายระหว่างการถ่ายทำ เพื่อช่วยโค้ชนักแสดงให้เล่นได้ในทันที
ความแตกต่างของการโค้ชตอน Workshop คือ หน้าที่ของเราต้องคุยกับ ผู้กำกับ หรือในบางครั้งก็เลยไปถึงประชุมกับโปรดิวเซอร์ ว่าจริงๆแล้วเรื่องราว และตัวละครเป็นยังไงกันแน่ อะไรที่การแสดงจะเติมเต็มบทให้ออกมาเป็นภาพที่ผู้กำกับต้องการได้บาง และอะไรที่ผู้กำกับกังวลเกี่ยวกับในการถ่ายทำ
รวมไปถึง ในแง่การคุยกับโปรดิวเซอร์คือ ความกระหายอยากที่ปรับลุคของนักแสดงที่ทางค่ายเลือกมา ให้แตกต่างจากการเล่นในเรื่องอื่นๆ
เมื่อคุยกันจบ เราก็จะออกแบบการเวิร์คชอบให้นักแสดง ตั้งแต่คาแรคเตอร์ การตีความบท อารมณ์ Emotion ต่างๆ
ความน่าสนุกคือ หลายคนคงเคยเห็นนักแสดงเล่นไม่ดีกันใช่มั๊ย?
ทำไมกันนะ ในเมื่อมี Acting Coach?
มี 3 ปัจจัย ที่พอจะนึกออก 1. งบประมาณ 2. เวลาและคิวของทุกคน 3. การเลือกนักแสดงจากปัจจัยชื่อเสียงและหน้าตา
การจะทำหนังหรือละครเรื่องนึงมีปัจจัยหลายปัจจัยมากๆ ที่เป็นเงื่อนไขในการทำงาน และหน้าที่ของเรา คือ นำเงื่อนไขดังกล่าวมาแล้วหาทางออกทางแก้ให้ถึงที่สุด
กระบวนการเวิร์คชอบ คือ การสำรวจ ปรับจูนกัน ของผู้กำกับและนักแสดง
ในบางครั้งสิ่งที่เราได้จากในห้องเวิร์คชอบ มันว้าวเกินว่าแค่อ่านบท
...เป็นระหว่างทางที่สนุกมากๆเลยนะ
ในบางครั้ง Acting coach ต้องออกกองด้วย การทำงานหน้ากองนี่แหละ การกลั่นทุกทฤษฎีออกมาให้นักแสดงปฏิบัติเร็วที่สุด กลโกง สูตรลัดต่างๆ ต้องถูกเอามาใช้ เพราะฉะนั้น เครื่องมือของ Acting Coach สำคัญมากเลยนะ
ความน่ารักของกองคือ เวลาเราเดินไปไหนมาไหน คนกองจะเรียกเราว่า "ครูๆ"
ยังจำครั้งแรกสมัยเด็กกว่านี้ที่ออกกองได้ ....เขินๆเหมือนกัน
1.ศาสตร์ของการแสดงบนโลกมีเยอะมากๆๆๆ และโค้ชอย่างเราก็ควรจะรู้
มีครั้งนึงเราได้ทำงานกับนักแสดงละครเวทีที่เราเองชอบไปดูงานพี่เค้าบ่อยๆ แล้วเดินไปถามว่า "พี่ใช้เทคนิคนี้ใช่มั๊ยคะ?" สีหน้าเค้าตกใจแล้วถามว่ารู้ได้ยังไง เรายิ้มให้แล้วบอกว่า "ใช้เลยพี่ ทีนี้ขอปรับตรงนี้นิดนึง เพราะขนาดภาพมันแคบ"
1
Acting Coach ต้องเป็นตาแทนนักแสดงด้วย
เพราะเราคือคนที่เห็นภาพรวมจากมอร์นิเตอร์ ไม่นับการทำงานกับดาราในการถ่ายโฆษณา ที่เราต้องดูมุม ดูความสวยงามและความมั่นใจให้เค้า
2.หน้าที่ในกองถ่ายอย่างนึง อาจจะเฉพาะเราคนเดียวนะ คือที่พึ่งทางใจของนักแสดง
เนื่องจากเราเป็นนักแสดงเองด้วย การที่ไปนั่งหน้า Set แล้วมีคนให้ทำแบบนั้นแบบนี้ บางทีนักแสดงก็สับสน เหมือนเดินในทางมืดๆที่ไม่รู้ว่าทางไหนคือทางที่ใช่ มีหลายอย่างให้เรากังวล
คนหน้ามอร์น่ะ... เห็นภาพรวม
แต่นักแสดงน่ะ....ไม่ได้เห็นอะไรเลย
ฉะนั้นบางครั้งเราต้องเรียนรู้ศาสตร์จิตวิทยาเอาไว้ด้วย เพื่อเป็นที่พึ่งทางใจของนักแสดง ว่ามาทางนี้แหละ...เดินมาเลยน้อง!!
หรืออย่างที่สุดคือ เป็นกาวประสานใจระหว่างผู้กำกับกับนักแสดง
นักแสดงอย่างเราบางคน บอบบาง อ่อนไหวทางใจมากนะ เจอคำพูดตรงๆของผู้กำกับไป บางทีคือใจสั่นเลยแหละ
ในขณะเดียวกันเวลาเรากำกับเอง เราเข้าใจหัวอกผู้กำกับนะ....ทำไมไม่ได้ซักทีวะ!! จะถ่ายทันมั๊ย!!! จะมีฟุตตัดม้ายยยย!!!! มีหลายเรื่องที่ผู้กำกับกรีดร้องในใจแต่บอกใครไม่ได้
3. ทำงานประสานกับ ผู้ช่วย ทีมกล้อง ทีมเสียง
กลโกงเวลาแสดง บางทีเราก็บิ้วท์ มันในซีนนั่นแหละ แต่เราต้องหูไวตาไว ว่าตอนนี้พูดได้มั๊ย เสียงที่เราพูดจะทับกับนักแสดงหรือเปล่า ทักษะการสังเกตุต้องไวมากๆนะ
เวลาบิ้วท์ก่อนเข้าซีน เมื่อนักแสดงอารมณ์ได้แล้ว ขณะที่ปากบิ้วท์ แต่ตาต้องประสานส่งซิกให้พี่กล้องว่า "พร้อมแล้วพี่ๆ" เพื่อพร้อมรับกล้องทันที
4. นอกจากจะบิ้วท์ให้คนร้องไห้แล้ว เราต้องฮีลใจเค้าคืนด้วยนะ ถือเป็นความรับผิดชอบทางสังคมอย่างหนึ่งของเรา
เมื่อหนังออน คงเหมือนคนกองทุกคน ที่เวลาได้เห็นงานของตัวเอง ต่อให้มันจะหนักแต่มันก็ภูมิใจ
มากไปกว่านั้น เวลาที่นักแสดงได้รับรางวัล นักแสดงนำ หรือ อะไรก็ตาม มันก็เป็นโมเม็นต์ที่ภูมิใจมากๆเลยแหละ กระหยิ่มยิ้มตามประสาคนหลังมอนิเตอร์
ความท้าทายของอาชีพคือ เราไม่คิดว่ามันจะมีคำว่าเก่งที่สุด เพราะในทุกๆงาน ทุกๆกอง ต่างมีโจทย์ใหม่เป็นของตัวเอง และเราก็เหมือนได้พัฒนาไปพร้อมๆกับงานที่ทำ ยิ่งทำยิ่งท้าทาย ด้วยคำว่า หลุดกรอบจากงานเดิมๆของตัวเอง
#บันทึกเอาไว้
ฝากติดตามเพจ https://web.facebook.com/Kruprangcafe
ฟัง Podcast ได้ใน spotify
โฆษณา