2 ก.พ. 2021 เวลา 00:23 • การศึกษา
Cardano (ADA) คือเหรียญอะไร ?
ADA TOKEN
Cardano คืออะไร ?
Cardano คือ แพลตฟอร์มสมาร์ทคอนแทรคท์ที่ถูกสร้างขึ้นในปี 2015 เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงและพัฒนา Cryptocurrency ให้มีรูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิม
ทางผู้พัฒนากล่าวว่า Cardano เป็นบล็อกเชนเจเนอเรชันที่ 3 ที่ระบุและแก้ไขปัญหาหลักๆ ที่เกิดขึ้นในบล็อกเชนยุคก่อนๆ
ซึ่งประกอบไปด้วย ความสามารถในการเพิ่มขยาย (Scalability), ความสามารถในการทำงานร่วมกัน (Interoperability) และ ความยั่งยืน (Sustainability) ผ่านสถาปัตยกรรมแบบเป็นลำดับชั้น (layered architecture)
1
โดยปกติแล้ว White paper ทั่วไปจะประกอบไปด้วยโค้ด (Code) เป็นหลัก ซึ่งจะแตกต่างจากของ Cardano ตรงที่มันจะประกอบไปด้วย แนวคิดของหลักการดีไซน์, การดำเนินงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด และ เปิดโอกาสให้ผู้คนสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆได้
1
ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็น Cryptocurrency ตัวแรกๆเลยที่สร้างขึ้นมาจากแนวคิดปรัชญาที่อิงหลักการทางวิทยาศาสตร์และประกอบไปด้วยงานวิจัยทางวิชาการจากผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายเข้าด้วยกัน
ด้วยเหตุนี้เอง ทีมงานผู้พัฒนา Cardano จึงมั่นใจได้ว่า ผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นฝ่ายวิจัยหรือวิศวกรรมจะได้อ่าน ทบทวน และมีความเห็นที่ตรงกันต่อผลลัพธ์ที่สามารถเป็นไปได้
เลเยอร์ทั้งสองชั้นของ Cardano คืออะไร?
บล็อกเชนของ Cardano ถูกพัฒนาบนเลเยอร์ 2 ชั้น ชั้นแรกคือสมุดบัญชีที่เอาไว้จดบันทึกมูลค่าของบัญชีนั้นๆ ชั้นที่สองคือ การบันทึกเหตุผลในการทำธุรกรรมนั้นๆ
2
Cardano Settlement Layer (CSL) - CSL ทำหน้าที่บันทึกมูลค่าของบัญชี โดยมีไอเดียที่พัฒนามาจากบล็อกเชนของ Bitcoin โดยจะใช้ คอนเซนซัสอัลกอริทึม แบบ proof-of-stake ในการสร้างบล็อกใหม่และยืนยันการทำธุรกรรม
1
Cardano Computation Layer (CCL) - CCL ประกอบไปข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการทำธุรกรรม เนื่องจากเลเยอร์ชั้นนี้ไม่ได้เชื่อมต่อกับ CSL ผู้ใช้งานจึงสามารถกำหนดเงื่อนไขได้เองเมื่อทำการประเมินการทำธุรกรรม
เดดาลัสวอลเล็ท (Daedalus Wallet) คืออะไร ?
4
เดดาลัส คือ วอลเล็ทแบบโอเพนซอร์สที่สร้างขึ้นโดยทีมงานของ Cardano โดยจุดประสงค์ของมันคือเป็นวอลเล็ทที่เก็บ Cryptocurrency ได้หลายสกุลเงิน และผู้ใช้งานสามารถแลกเปลี่ยน Cryptocurrency ที่ระบบรองรับได้อย่างอิสระ
2
จุดกำเนิดของ Cardano และบล็อคเชนเจเนอเรชันที่ 3
1
Charles Hoskinson หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum เป็นผู้ริเริ่มคิดค้น Cardano เขาเชื่อว่าผู้คนยังมีความต้องการบล็อกเชนเจเนอเรชันที่ 3 เพื่อที่จะแก้ไขจุดอ่อนของเทคโนโลยีบล็อกเชนยุคก่อนหน้า
1
Bitcoin เป็นตัวแทนของบล็อกเชนยุคแรก มันช่วยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมระหว่างกลุ่มผู้คน แต่มันมีข้อจำกัดในการทำธุรกรรมทางการเงินบางประเภทอีกทั้งยังไม่สามารถสร้างเงื่อนไขลงบนการทำธุรกรรมนั้นๆได้ Ethereum ซึ่งเป็นบล็อกเชนเจเนอเรชันที่ 2
1
ได้แก้ไขปัญหาที่ข้างต้นด้วยการสร้างสมาร์ทคอนแทรคท์ (smart contract) อย่างไรก็ตาม นาย Charles ได้อธิบายว่า Ethereum และ Bitcoin ไม่มีคุณสมบัติที่ดีพอสำหรับการปรับเพิ่มขยาย (Scalability) ยิ่งไปกว่านั้นเองระบบการกำกับดูแลก็ไม่ดีเท่าที่ควรจากการที่เกิดฟอร์ค (fork) ขึ้น เช่น Bitcoin Cash และ Ethereum Classic
1
เป้าหมายการปรับเพิ่มขยายของ Cardano (Cardano’s Scalability Goal)
การเพิ่มขยาย (Scalability) สามารถแยกได้เป็น 3 ส่วนดังนี้:
1
1. จำนวนธุรกรรมต่อหนึ่งวินาที - Bitcoin สามารถจัดการได้ 7 ธุรกรรมต่อหนึ่งวินาที ส่วน Ethereum สามารถทำได้ 15 - 20 ธุรกรรม ต่อหนึ่งวินาที
ซึ่งในการที่จะเป็นระบบการชำระเงินที่รองรับได้ทั้งโลกจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับบล็อกเชนที่จะต้องรองรับและจัดการการทำธุรกรรมปริมาณมากได้
การแก้ปัญหาของ Cardano:
2
โปรโทคอลโอโรโบรอส (Ouroboros Protocol) อ้างอิงจาก proof-of-stake ที่สามารถเพิ่มจำนวนการจัดการธุรกรรมต่อวินาทีได้มากกว่า proof-of-work
2
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Proof-of-Work vs. Proof-of-Stake ได้ที่นี่
2
2. เครือข่ายแบนด์วิดท์ - ถ้าจำนวนผู้ใช้งานขยายตัวมากขึ้นถึงหนึ่งล้านหรือหนึ่งพันล้านคนแล้ว เราจะต้องใช้แบนด์วิดท์มากถึง 100 mb - 1 tb ต่อวินาทีในการประมวลผลผ่าน internet
ซึ่งมันไม่สามารถเป็นไปได้เลยที่จะเข้าถึงโครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์อันเดียวกัน โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (network topology) หมายถึง Node ทุกตัวในเครือข่ายจำเป็นที่จะต้องรับส่งข้อความทุกข้อความ
2
อย่างไรก็ตาม เมื่อจำนวนธุรกรรมเพิ่มขึ้น Node ทุกตัวอาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องมีทรัพยากรเพื่อที่จะรับส่งข้อมูลในเครือข่าย
การแก้ปัญหาของ Cardano:
1
RINA (Recursive Inter-Nerwork Architecture) คือเครือข่ายชนิดใหม่ที่สร้างขึ้นโดย นาย John Day โดยมีจุดประสงค์คือสร้างเครือข่ายที่แตกต่างกัน
โดยอ้างอิงจากหลักการที่ว่าระบบเครือข่ายเป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างโปรเซส (Inter Process Communication, IPC) โดยทาง Cardano เองหวังว่ามันจะช่วยให้ โปรโทคอล TCP/IP ทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น
1
และทำให้เกิดทางเลือกใหม่ในการประมวลผลข้อมูลในเครือข่าย
3. การสเกลลิ่งข้อมูล - บล็อกเชนจะบันทึกข้อมูลทุกข้อมูล ไม่ว่าข้อมูลเหล่านั้นจะเกี่ยวข้องและจำเป็นหรือไม่ก็ตาม บล็อกเชนทำงานได้โดย node ซึ่งแต่ละตัวจะเก็บสำเนาของบล็อกเชนไว้ในระบบ
เมื่อระบบมีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น การบันทึกข้อมูลจะใช้พื้นที่มากขึ้นซึ่งตรงนี้เองที่อาจจะก่อให้เกิดปัญหา เพราะ node ทุกตัวไม่สามารถรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นได้
การแก้ปัญหาของ Cardano:
Cardano มีหลักการในการแก้ปัญหาที่ง่ายมาก โดยกล่าวไว้ว่า “ไม่ใช่ทุกคนที่จะต้องการข้อมูลทุกอย่าง” Cardano เองได้พิจารณาถึง การตัดข้อมูล (Pruning), การสมัครรับข้อมูล (Subscription) และการบีบอัดข้อมูล (Compression) ซึ่งถ้าเรารวมสามสิ่งนี้เข้าด้วยกัน
1
มันก็จะทำให้ปริมาณข้อมูลที่ผู้ใช้งานแต่ละคนต้องบันทึกลงในระบบน้อยลงได้ อีกวิธีที่หนึ่งก็คือแบ่งข้อมูลเป็นส่วนๆ (Partitioning) หมายความว่าผู้ใช้งานสามารถบันทึกข้อมูลแค่บางส่วนของบล็อกเชนได้แทนที่จะเก็บข้อมูลทั้งหมดในบล็อกเชนไว้
Proof-of-Work vs. Proof-of-Stake
ขั้นตอนของ proof-of-work มีดังนี้:
1. ในการที่จะเพิ่มบล็อกลงในบล็อกเชน นักขุดจำเป็นที่จะต้องแก้ปริศนาคริปโตกราฟฟิค (Cryptographic puzzle) หรือโจทย์คณิตศาสตร์
เพื่อที่จะสร้างหรือขุดบล็อก
2. ในการแก้ปริศนาคริปโตกราฟฟิค (Cryptographic puzzle) ใช้การคำนวณผ่านระบบคอมพิวเตอร์จำนวนมากดังนั้นจึงใช้พลังงานค่อนข้างเยอะ
3. เมื่อนักขุดแก้โจทย์หรือสร้างบล็อกได้ พวกเขาจะส่งบล็อกเข้าไปในเครือข่ายแล้วแต่ละบล็อกก็จะได้รับการยืนยัน
4. เมื่อบล็อกได้รับการยืนยันแล้ว มันจะถูกเพิ่มเข้าไปในบล็อกเชน แล้วนักขุดก็จะได้รับบล็อกเป็นการตอบแทน
ขั้นตอนของ proof-of-stake มีดังนี้:
1
1. Proof-of-stake ประกอบไปด้วย ผู้ตรวจสอบ (Validator) ที่ทำหน้าที่ หลอม(forge) หรือ สร้าง(mint) บล็อก
1
ซึ่งจะแตกต่างจาก proof-of-work ที่จะเรียกว่าขุด (mine) ขั้นตอนก็คือ คอมพิวเตอร์โนดจะสุ่มผู้ตรวจสอบขึ้นมา ซึ่งจริงๆแล้วก็ไม่ใช่การสุ่มซะทีเดียวเพราะว่าผู้ตรวจสอบต้องทำการฝากเหรียญบางส่วนไว้ในเครือข่ายที่เรียกว่าสเตค (Stake)
ซึ่งขนาดของสเตคนี่เองที่เป็นตัวกำหนดโอกาสที่ผู้ตรวจสอบจะ หลอม(forge) บล็อกต่อๆไปได้
1
2. เมื่อถูกเลือกแล้ว ผู้ตรวจสอบจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบธุรกรรมทั้งหมดที่อยู่ในบล็อก การตรวจสอบก็คือ การวางใส่เหรียญลงบนบล็อกที่คิดว่าพบว่ามีโอกาสสูงที่มันจะถูกเพิ่มเข้าไปในบล็อกเชน
3. ถ้าผู้ตรวจสอบเพิ่มบล็อกที่ถูกปลอมแปลงขึ้นมา เขาจะเสียเหรียญที่ฝากเอาไว้ในระบบ แต่ถ้าบล็อกนั้นถูกต้อง ผู้ตรวจสอบก็จะได้รางวัลตามสัดส่วนที่ได้วางเพื่อเป็นหลักประกันเอาไว้ ตราบใดก็ตามที่สเตคของผู้ตรวจสอบเยอะกว่ารางวัลที่จะได้รับ เราสามารถเชื่อถือได้ว่าผู้ตรวจสอบจะทำหน้าที่ได้ตามที่ตกลงไว้
ข้อโต้แย้งที่ว่า proof-of-stake นั้นดีกว่า proof-of-work
1. สำหรับ proof-of-work นั้น ทุกคนสามารถขุดได้และในการขุดนั้นใช้พลังงานมหาศาล แต่ proof-of-stake ใช้ผู้ตรวจสอบน้อยรายกว่าเพื่อที่จะยืนยันแต่ละบล็อก
2. Proof-of-stake มีความสามารถในการกระจายอำนาจที่มากกว่า ใน proof-of-work มีสิ่งที่เรียกว่า ไมน์นิ่งพูล (mining pool) ซึ่งก็คือการรวมกลุ่มคนเข้าด้วยกันเพื่อเพิ่มโอกาสในการขุดบล็อกใหม่เพื่อที่จะได้บล็อกเป็นการตอบแทน
2
วิธีนี้ถือว่าอันตรายเพราะถ้าไมน์นิ่งพูลใหญ่ๆรวมตัวกันแล้ว พวกเขาจะสามารถยืนยันการทำธุรกรรมที่ถูกปลอมแปลงได้เพราะว่าบล็อกเชนส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มๆเดียว
3. การติดตั้งโนดสำหรับ proof-of-stake มีราคาถูกกว่า เพราะว่าไม่จำเป็นที่จะต้องใช้อุปกรณ์ที่มูลค่าสูงเพื่อที่จะยืนยันแต่ละบล็อก
อันนี้จึงถือเป็นการกระตุ้นให้ผู้คนเข้ามาเป็นโนดมากขึ้น ทำให้ระบบปลอดภัยและกระจายอำนาจได้ดีขึ้น
จุดอ่อนของ Proof-of-stake
1. ควรจะระมัดระวังในการเลือกผู้ตรวจสอบ (Validator) ไม่ควรที่จะสุ่มทั้งหมด ควรคำนึงถึงจำนวนสเตคกับบล็อกที่จะได้รับเป็นการตอบแทนด้วย
1
2. Proof-of-stake เป็นประโยชน์กับคนรวยมากกว่า เพราะว่ายิ่งสเตคเยอะ โอกาสที่จะถูกเลือกเป็นผู้ตรวจสอบก็ยิ่งเยอะขึ้นซึ่งหมายถึงรางวัลตอบแทนก็จะเยอะขึ้นไปด้วยส่งผลให้โอกาสในการถูกเลือกครั้งต่อไปยิ่งมากขึ้นไปอีก
3. ผู้ตรวจสอบที่ได้รับเลือกสามารถเลือกได้ว่าจะทำหน้าที่หรือไม่ทำหน้าที่นั้นก็ได้
มีข้อระบุมากมายที่กล่าวถึงจุดอ่อนของ proof-of-stake แต่ก็ยังต้องมีการค้นคว้าอีกมากเพื่อที่จะเข้าใจถึงความเสี่ยงทุกอย่างของ proof-of-work และวิธีการแก้ไข
1
โอโรโบรอส (Ouroboros) คืออะไรแล้วทำงานยังไง?
โปรโตคอลโอโรโบรอส คือ ระบบคอนเซนซัสของ Cardano และเป็นโปรโตคอลบล็อกเชนอันแรกที่ทำงานในระบบ proof-of-stake ที่มีความปลอดภัยสูง Cardano ใช้ระบบ proof-of-stake แทนที่จะใช้พลังงานไฟฟ้าจำนวนมหาศาลเพื่อแก้ปริศนาคริปโตกราฟฟิค (cryptographic puzzle) โดยนักขุดทุกคนในเครือข่าย node แต่ละตัวจะถูกสุ่มเลือกเพื่อที่จะ หลอม (forge) หรือ สร้าง (mint) บล็อกใหม่ด้วยโอกาสที่จะถูกเลือกแปรผันตามจำนวนเหรียญที่ฝากไว้กับระบบ ทั้งนี้หมายความว่าด้วยจำนวนผู้ตรวจสอบ (Validator) ที่มากขึ้นสามารถเพิ่มจำนวนการทำธุรกรรมในเครือข่ายต่อหนึ่งวินาทีได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ต้องใช้พลังงานปริมาณมากเท่า proof-of-work
ขั้นตอนการทำงาน:
1. ผู้ครอบครองสเตค (Stakeholder) ทำหน้าที่เป็น node และเป็นผู้เดียวที่สามารถเข้าร่วมในโปรโตคอลของ Cardano
2. ผู้ครอบครองสเตคจะต้องถูกแต่งตั้งเป็นสล็อตลีดเดอร์ (Slot leader) เพื่อที่จะสร้างบล็อกใหม่ในบล็อกเชน
3. สล็อตลีดเดอร์สามารถเลือกที่จะพิจารณาการทำธุรกรรมที่ประกาศโดย node อื่นๆในระบบ แล้วจึงสามารถสร้างบล็อกใหม่จากธุรกรรมได้ หลังจากนั้นก็ยืนยันบล็อกด้วยกุญแจรหัส (Secret Key) แล้วส่งบล็อกเข้าไปในเครือข่ายได้ สล็อตลีดเดอร์จึงทำหน้าคล้ายๆนักขุดใน Bitcoin
1
อีพอส (Epoch) และ สล็อต (Slot)
โอโรโบรอส แบ่งเวลาเป็นอีพอส และอีพอสแต่ละอันสามารถแบ่งได้อีกเป็นสล็อต สล็อตก็คือช่วงเวลาสั้นๆประมาณ20วินาที
Credit: Cardano papers ( https://cardanodocs.com/cardano/proof-of-stake/ )
ในหนึ่งสล็อตจะมีสล็อตลีดเดอร์ (Slot Leader) แค่หนึ่งอัน :
สล็อตลีดเดอร์มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในการสร้างบล็อคแค่เพียงบล็อคเดียวเท่านั้นในหนึ่งสล็อต :
จำนวนของสล็อตลีดเดอร์จะเท่ากับจำนวนสล็อตในอีพอส และถ้าสล็อตลีดเดอร์พลาดสล็อตไปก็จะเสียสิทธ์ที่จะสร้างบล็อกใหม่ ในการที่จะสร้างบล็อคใหม่ก็จะต้องได้รับเลือกอีกครั้งนึง
เป้าหมายด้านความยั่งยืนของ Cardano (Cardano’s Sustainability Goal)
เรื่องนี้เป็นการตอบคำถามที่ว่า Cardano มีการวางแผนอย่างไรบ้างสำหรับค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบ เรื่องนี้เอง Cardano เชื่อว่า ICO และเงินสนับสนุนต่างๆตั้งแต่เริ่มโปรเจคจนจบไม่สามารถอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน
ด้วยเงินสนับสนุนนี้เอง ถ้ามีบริษัทใหญ่ๆให้เงินสนับสนุนจำนวนมากโดยไม่มีข้อผูกมัดใดๆก็อาจจะทำให้บริษัทเปลี่ยนเป้าหมายไปจากเดิมก็ได้
Cardano ตั้งใจที่จะแก้ปัญหาข้างต้นด้วยการสร้าง Tresaury ของตัวเองขึ้นมา ซึ่ง Treasury
จะได้รับส่วนแบ่งเป็นเปอร์เซ็นต์จากการทำธุรกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นในเครือข่าย โดยวอลเล็ทอันนี้จะพิเศษตรงที่มันไม่ถูกควบคุมโดยใครก็ตาม
ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับสมาร์ท คอนแทรคท์ (Smart Contract) ตรงที่มันจะส่งเงินทุนจำนวนหนึ่งคืนให้ผู้พัฒนาเพื่อใช้ในการพัฒนาเครือข่ายต่อไป
ฮัสเกล (Haskell) คืออะไร?
ภาษาโค้ดของ Cardano ถูกพัฒนาขึึ้นผ่านฮัสเกล (Haskell) ซึ่งเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่มีความคงทนต่อความเสียหายได้อย่างดีเยี่ยม
ในอนาคตนั้นมันไม่สามารถเป็นไปได้เลยที่เราจะรู้หรือเข้าใจถึงความซับซ้อนของระบบบล็อกเชน ดังนั้นแล้วมันจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้ภาษาที่มีส่วนต่างของความปลอดภัย (Margin of error)
จำนวนหนึ่ง ด้วยเหตุนี้เองความเข้ากันได้ของภาษา (Compatibility) จึงไม่เป็นปัญหาเลยถึงแม้ว่าจะมีการใช้ระบบใหม่ในอนาคตก็ตาม
References
1
โฆษณา