3 ก.พ. 2021 เวลา 14:50 • สุขภาพ
🎈ทารกแรกเกิด อายุ 26 วัน ติดเชื้อไวรัสโควิด 19 !🎈
ทารกเพศหญิงอายุเพียง 26 วัน เกิดจากแม่ชาวเมียนมาซึ่งป่วยเป็นโควิด 19
1
ทารกรายนี้เป็นหนึ่งในผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนารายใหม่จำนวน 836 รายที่พบในประเทศในวันที่ 2 กพ 2564
ถือว่าเป็นผู้ติดเชื้อที่มีอายุน้อยกว่า 1 เดือนคนแรก และอายุน้อยที่สุดในไทยนับตั้งแต่มีรายงานการติดเชื้อในประเทศไทย
1
แม่ใส่หน้ากากอนามัย เวลาอุ้มทารกแรกเกิด
ข้อมูลการติดเชื้อของเด็กทารกนับตั้งแต่พบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในประเทศไทยเมื่อต้นปี 2563 มีดังนี้
4 เม.ย. 2563 พบผู้ป่วยอายุ 1 เดือน ที่จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่เคยยืนยันว่าอายุน้อยที่สุดของไทย
22 ธ.ค. 2563 พบผู้ป่วยทารกหญิง อายุ 7 เดือนใน อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี
2 ม.ค. 2564 พบทารกวัย 3 เดือนในกรุงเทพฯ
13 ม.ค. 64 พบทารกวัย 9 เดือนในกรุงเทพฯ
1
🌟ทารกแรกเกิดรับเชื้อไวรัสโควิดมาทางไหน?🌟
สมมุติฐานการผ่านของเชื้อจากแม่ตั้งครรภ์สู่ลูก อาจเป็นได้3 ทาง
1.ส่งผ่านทางรกและสายสะดือตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดา
2.ผ่านทางการสัมผัสสารคัดหลั่งจากแม่ ในระหว่างการคลอด
3.ติดโดยทางเดินหายใจ เมื่ออยู่ใกล้ชิดหลังคลอด เช่นมีการกอด หอมแก้ม ไอจามรด
1
🌟พบทารกแรกเกิดติดเชื้อมากน้อยเพียงไร และมีอาการอะไรบ้าง?🌟
1
เราไปดูรายงานการวิจัยกันค่ะ ว่าที่ประเทศที่มีการติดเชื้อไวรัสโควิดกันมากๆ จะพบทารกแรกเกิดติดเชื้อมากน้อยแค่ไหน
ไปดูที่ประเทศอังกฤษก่อนค่ะ
🎈งานวิจัยโดยImperial College London และ Nuffield Department of Population Health ที่มหาวิทยาลัยOxford เป็นการศึกษาแรกที่วิเคราะห์ การรติดเชื้อ COVID-19 ในทารกแรกเกิดทั่วทั้งเกาะอังกฤษ
3
ตีพิมพ์ใน The Lancet Child and Adolescent Health ติดตามทารกที่อายุน้อยกว่า 29 วัน ทั้งหมดที่ติดเชื้อCOVID-19 ที่รับการรักษาในโรงพยาบาลของประเทศอังกฤษ ในช่วงเวลาที่มีการติดเชื้อระลอกแรก ตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคมจนถึงสิ้นสุดเดือนเมษายน 2019
1
🎈พบว่ามีทารก 66รายเป็นโรค COVID-19 เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล คิดเป็น
1/1785 หรือ 0.06 % ของจำนวนทารกแรกเกิด
46% ของทารกเป็นทารกผิวดำ ชาวเอเซีย หรือเป็นชนกลุ่มน้อย
24% เป็นทารกที่คลอดก่อนกำหนด คือก่อนอายุครรภ์ 37สัปดาห์
มีทารกเพียง 17 จาก 66 รายที่สงสัยว่า ติดเชื้อจากแม่ในช่วง 7 วันแรกเกิด (ใน17 รายนี้ พบว่า 7 รายถูกแยกจากแม่ทันทีหลังคลอด)
2
จะเห็นว่า ถึงแม้จะแยกลูกจากแม่ทันที ลูกก็ยังติดเชื้อโควิด 19 ได้ ดังนั้นองค์การระหว่างประเทศ และประเทศอังกฤษเองก็ แนะนำว่า
1
“🔺ให้แม่และลูกได้อยู่ด้วยกันถึงแม้ แม่จะเป็น หรือสงสัยว่าจะเป็น COVID-19”🔺
1
ภาพจาก https://www.medpagetoday.com/obgyn/generalobgyn/89067
ทารก 6 ราย ติดเชื้อCOVID -19 ภายในโรงพยาบาล
ทารก 17 รายที่ติดจากแม่ 2รายมีแนวโน้มว่าจะติดมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์
อาการของทารกที่ติดเชื้อ COVID-19 คือ ไข้สูง กินนมได้น้อยลง อาเจียน น้ำมูกไหล ไอ และอ่อนเพลีย
1
ไม่มีทารกเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด 19 (ทารก 1 รายเสียชีวิตจากสาเหตุอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับโควิด 19)
1
ทารกเกือบ 90% มีการฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์. หายจากโรค และกลับบ้านได้
ทารกแรกเกิดจะมีโอกาสเข้ารักษาใน ICU มากกว่าเด็กโต (36%ในทารกแรกเกิด เทียบกับ 13%ในเด็กโต)
🔺การติดเชื้อที่รุนแรงยังคงพบได้น้อยมากๆในทารกแรกเกิด🔺
2
รายงานนี้เสนอว่า มีเพียงส่วนน้อยของทารกที่ติดเชื้อCOVID-19 จากแม่ ดังนั้น ถ้าแม่ตรวจพบว่ามีผลบวกต่อ COVID-19 ก็ไม่ต้องแยกลูกจากแม่ตอนแรกคลอด (ทารก 7 รายที่แยกจากแม่ตั้งแต่เกิดก็ยังติดเชื้อได้)
ภาพจาก https://abc7.com/health/madera-covid-19
🎈สรุปว่า
1
🎈1.การติดเชื้อ COVID-19 ที่รุนแรงในทารกแรกเกิด พบได้น้อยมาก
🎈2.ทารกส่วนใหญ่มีอาการน้อย และหายอย่างสมบูรณ์
🎈3.การศึกษานี้สนับสนุน ข้อเสนอแนะขององค์การอนามัยโลกที่ให้แม่ลูกได้อยู่ด้วยกัน ถึงแม้แม่จะเป็น หรือสงสัยว่าเป็น COVID-19
🎈4.การศึกษานี้ทำในช่วงต้นๆของการระบาดที่อาจจะมีมาตรการควบคุมการติดเชื้อที่ยังไม่รัดกุม จึงพบทารก 6ราย ติดเชื้อจากโรงพยาบาล ใน 6 เดือนที่ผ่านมาการควบคุมการติดเชื้อดีขึ้น น่าจะพบการติดเขื้อจากโรงพยาบาลน้อยลง
1
งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุจาก NIHR Policy Research Programme through the Policy Research Unit in Maternal and Neonatal Health and Care, National Perinatal Epidemiology Unit, University of Oxford.
🌟มีการส่งผ่านไวรัสผ่านจากแม่สู่ลูกในท้องหรือไม่?🌟
1
นี่คืออีกคำถามคาใจของแม่ตั้งครรภ์ว่า ในช่วงที่ลูกอยู่ในท้อง แล้วแม่เกิดไปติดเชื้อโควิด เชื้อจะผ่านทางรกสู่ลูกได้ไหม?
ภาพจาก https://www.littlerockfamily.com
ไปดูงานวิจัยจากอเมริกากันค่ะ
6
🔺หญิงตั้งครรภ์อาจไม่ส่งไวรัสให้ลูก🔺
การศึกษาในหญิงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 จำนวน127 คน ที่โรงพยาบาล 3 แห่งในBoston ระหว่าง 2เมษ ถึง13 มิ.ย.2020 พบว่า 64 คน ตรวจพบ SARS-CoV-2 (ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคโควิด 19 ) เป็นผลบวก
คณะผู้ศึกษา ตรวจไม่พบไวรัสในเลือดแม่ และเลือดจากสายสะดือ (ถึงแม้จะพบไวรัสในทางเดินหายใจของแม่)
ไม่มีอาการแสดงว่ามีไวรัสในรก และไม่มีหลักฐานว่ามีการส่งผ่านไวรัสมายังทารกแรกเกิด
นักวิจัยสงสัยว่าคงมีการขวางกั้นการส่งไวรัสให้ทารกในครรภ์ จากการที่ไม่พบไวรัสในเลือดแม่ และ ที่รกไม่มีตัวรับการเกาะของไวรัส และไม่มีเอนไซม์ที่ช่วยให้ไวรัสเข้าเซลล์ได้
หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นผลบวกต่อไวรัสนี้ส่วนใหญ่ มีการตอบสนองโดยผลิตแอนตี้บอดี้ต่อโปรตีนของเชื้อ SARS-CoV-2 แต่การส่งผ่านของแอนติบอดี้สู่ทารกในครรภ์ทางรกนั้น พบว่า ผ่านได้น้อยกว่าแอนตี้บอดี้ต่อไวรัสไข้หวัดใหญ่
คณะผู้วิจัยเสนอว่า หญิงตั้งครรภ์ถ้าติดเชื้อโควิด จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงได้. จึงควรพิจารณาให้วัคซีนในหญิงตั้งครรภ์ด้วย แต่ต้องพิจารณาว่าจะเหมาะสมที่จะให้เมื่อไร เพื่อให้ได้ภูมิคุ้มกันที่ดีมีค่าที่สุดสำหรับทั้งแม่ตั้งครรภ์และทารกแรกเกิด
หัวหน้าคณะวิจัย คือAndrea Edlow ผู้เขี่ยวชาญด้านวิทยาการมารดาทารก ที่MGH และผู้ช่วยศาสตราจารย์ทางสูตินรีเวชที่ Harvard Medical School ยังกล่าวว่า
1
“ภูมิต้านทานส่งผ่านทางรกสู่ทารกในครรภ์ได้สูงสุดในไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ แต่ก็ผิดคาดที่แอนตี้บอดี้ของ SARS-CoV 2ส่งผ่านได้น้อยกว่า แอนตี้บอดี้ของไวรัสไข้หวัดใหญ่อย่างมีนัยสำคัญ คงต้องมีการวิจัยต่อไปเพื่อเข้าใจเหตุผลว่าทำไม และเพื่อดูว่า ภูมิต้านทานที่เกิดจากการฉีดวัคซีนจะมีคุณสมบัติต่างๆเหมือนหรือต่างจากการติดเชื้อตามธรรมชาติหรือไม่”
2
ภาพจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/920808
🌺ทารกแรกเกิดที่คลอดจากแม่ที่ติดเชื้อไวรัสโควิด หรือสงสัยว่าติดเชื้อ ให้แม่อยู่กับลูกได้
หากให้ดูดนมจากเต้า ให้แม่ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา และหมั่นล้างมือ
ถ้าแม่ไม่ได้อยู่กับลูก ให้บีบน้ำนมแม่ไปให้ลูกได้🌺
อ่านเรื่อง เชื้อโควิดในน้ำนมแม่ ที่ลิ้งค์นี้ค่ะhttps://www.blockdit.com/posts/5ff878a3a6ee950e8edf48cd
ถอดความและเขียนบทความโดย
พญ ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล กุมารแพทย์
อ้างอิง
3. Chris Gale, Maria A Quigley, Anna Placzek, Marian Knight, Shamez Ladhani, Elizabeth S Draper, Don Sharkey, Cora Doherty, Helen Mactier, Jennifer J Kurinczuk. Characteristics and outcomes of neonatal SARS-CoV-2 infection in the UK: a prospective national cohort study using active surveillance. The Lancet Child & Adolescent Health, 2020; DOI: 10.1016/S2352-4642(20)30342-4

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา