6 ก.พ. 2021 เวลา 04:00 • ประวัติศาสตร์
เหลียวหม่องมองไทย..🙄
ทำไมเราเรียกคนพม่าว่า"หม่อง"❓
แล้ว"ยาหม่อง"เกี่ยวอะไรกับพม่า❓
..
..
..
3
พลันที่นายพลมิน อ่อง หล่ายผู้นำกองทัพเมียนมา ประกาศยึดอำนาจทำรัฐประหารรัฐบาลพลเรือนภายใต้การนำของนางอ่อง ซาน ซูจีหัวหน้าพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยหรือ NLD ตั้งแต่เช้าตรู่วันจันทร์ที่ผ่านมา
มีคำถามมากมายผุดขึ้นในหัวผม
ทำไมต้องรัฐประหาร?
รัฐประหารแล้วพม่าจะไปยังไงต่อ?
จะมีกระทบอะไรกับประเทศไทยบ้าง?
1
ยังมีคำถามอีกนับสิบ ที่ผมต้องการคำตอบจากเหตุการณ์ที่เกิดในประเทศเพื่อนบ้านครั้งนี้ ...
และในขณะที่ผมพยายามหาคำตอบอยู่ ดันมี 2 คำถามที่ผมสงสัยมานานแทรกตัว แซงทุกคำถามเสนอหน้าขึ้นมาเสียก่อน..
🤔☝️..ทำไมคนไทยเรียกคนพม่าว่า"หม่อง"❓
🤔✌️..แล้ว"ยาหม่อง"เกี่ยวอะไรกับพม่า❓
ผมจำเป็นต้องรู้คำตอบสองข้อนี้ให้ได้ก่อน
เรื่องเมียนมาปฏิวัติ.......เอาไว้ทีหลัง
555😂😂😂
..
วันนี้แหละ เราจะได้รู้พร้อม ๆ กันครับ..
เริ่มจาก คำถามแรก☝️
ทำไมคนไทยเรียกคนพม่าว่า"หม่อง"❓
..
หากเราจะเอ่ยคำพูดอะไรสักคำ
ที่บ่งบอกถึงความเป็นคนพม่า
หรือคนเมียนมา คำว่าหม่อง มักจะลอยขึ้นมาเป็นคำแรก ๆ
ปกติคำว่าหม่องนอกจากคนไทยจะใช้เป็นคำแทนสัญลักษณ์ความเป็นเมืองพม่าแล้ว เรายังนิยมใช้เรียกคนพม่าที่เป็นผู้ชายอีกด้วย
..
1
ตกลงแล้วคำว่าหม่องที่เราใช้กัน มันถูกต้องหรือเปล่า หม่อง แปลว่าอะไรกันแน่?
..
คำว่าหม่องนั้น แท้จริงแล้ว มีสองนัยยะนัยยะแรกก็หมายถึงชื่อจริง ๆ ของคน ๆ นั้น เช่น หม่อง เอ หม่อง ธู คล้าย ๆ คนไทยที่ชื่อสมชาย สมปอง
1
กับนัยยะที่สองจะหมายถึง คำนำหน้าหรือสรรพนามนำหน้าชื่อ เช่นหม่องตันตัน ก็หมายถึง เด็กชายตัน ตัน
1
และนัยยะที่สองนี่เองที่เราคนไทยนำมาเรียกแทนความเป็นคนพม่า แต่เราไม่ทราบรายละเอียดในเชิงลึก
เพราะการใช้คำว่าหม่องนั้น ที่ถูกต้องจะใช้เป็นคำนำหน้าเด็กผู้ชายที่อายุไม่เกิน 15 ปี คล้าย ๆ กับที่คนอีสานเรียก เด็กผู้ชายว่าบักหำน้อยหรือคนใต้เรียกว่าไข่นุ้ยนั่นแหละครับ
2
ส่วนผู้ชายที่อายุมากกว่า 15 ขึ้นไปจนถึงประมาณ 30 ปี จะใช้คำว่า โก เป็นคำนำหน้าชื่อ เช่นโก เมียว วิน ก็คือนายเมียววิน
ถ้าหากว่าคนที่มีอายุมากกว่านั้น หรือคนที่เราให้ความเคารพประหนึ่งพี่ชาย จะใช้คำว่า อู เป็นคำนำหน้าชื่อ เช่น อูธ่อง ก็คือพี่ธ่อง อาธ่อง หรือลุงธ่องก็ได้
..
คำว่า หม่อง โก หรืออู เป็นคำนำหน้าชื่อที่ใช้เรียกสำหรับผู้ชายเท่านั้น
ส่วนผู้หญิงจะไม่ใช่หม่อง แต่จะเรียกอีกแบบหนึ่ง
1
หากผู้หญิงมีอายุน้อยกว่าหรือเด็กกว่าจะใช้คำนำหน้าชื่อว่าว่า"มะ"
ส่วนผู้หญิงที่อายุมากกว่า หรือคนที่เราให้ความเคารพ เราจะเรียกว่า"อามะ"
ซึ่งคำว่าอามะนั้นจะเรียกอามะเฉย ๆ โดยไม่ต่อด้วยชื่อก็ได้
3
สำหรับผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว มีหน้าที่การงานที่ดีจะต้องใช้คำนำหน้าว่า "ด่อ" หรือผู้ที่มีอายุมากหน่อย มีตำแหน่ง หน้าที่การงานสำคัญ มีคนนับหน้าถือตามากมาย จะต้องใช้คำว่า.."อาด่อ" เช่นอาด่อออง ซาน ซูจี เป็นต้น
..
1
คราวนี้ ถ้าเป็นผู้อาวุโสรุ่นคุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย จะใช้อีกแบบหนึ่งเลย
คือเราจะต้องใช้คำว่า อาโพ้ หรือโพ้โพ้แทนการเรียกคุณปู่หรือคุณตาและใช้คำว่าอาพั้วหรือพั้ว พั้ว สำหรับเรียกคุณย่าหรือคุณยาย
มารยาทสำคัญอย่างหนึ่งที่คนไทยเราควรทราบคือ ..
คนพม่าหรือเมียนมาจะไม่เรียกชื่อกันเฉย ๆ จะต้องใช้คำนำหน้าขึ้นต้นก่อนเสมอ
อันนี้ถือเป็นการให้เกียรติกันอย่างหนึ่งที่คนไทยควรรู้และใช้ให้ถูกต้อง เมื่อต้องการเรียกชื่อเพื่อนชาวพม่า
1
จบไปแล้วนะครับ
วิชาภาษาพม่าวันละคำสองคำ...😁
รู้ไว้ ได้ประโยชน์ เราเพื่อนบ้านกัน จะเรียกจะขานจะได้ไม่เสียมารยาทใช่ไหมครับ?
..
มาต่อกันที่ คำถามที่สอง✌️😌
ตกลงแล้ว ยาหม่อง มาจากไหน เกี่ยวอะไรกับพม่าหรือเปล่า❓
..
1
ตำนานกำเนิดยาหม่องมีหลายตำนานแต่ที่พอมีหลักฐานและมีน้ำหนักมากที่สุดก็คือ กำเนิดมาจากต้นตระกูลเจ้าของยาหม่องตราเสือหรือTiger balm
เพราะการใช้คำว่า"ยาหม่อง"เกิดขึ้นครั้งแรกโดยบริษัท Haw Par Brothers International Limited
ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายยาหม่องตราเสือ นั่นเอง
ตามประวัติการกำเนิดยาหม่อง เริ่มมาจากหมอสมุนไพรชาวจีนแคะที่ชื่อว่า
โอ่ว ชู่กิง(Aw Chu Kin) ได้เดินทางมาตั้งรกรากที่กรุงย่างกุ้งราวปี ค.ศ.1807
โดยทำอาชีพเปิดร้านขายยาสมุนไพรชื่อ ร้านยง อัน ท้ง
1
ต่อมานายโอ่ว ชู่กิงมีบุตรชายสามคน
แต่เสียชีวิตไปหนึ่งคน เหลือบุตรชายเพียงสองคนคือโอ่วบุ้นโฮ้ว (แปลว่าเสือลายพาดกลอน) และ โอ่วบุ้นป่า (แปลว่าเสือดาว)
ว่ากันว่า"สูตรยาหม่อง"เกิดจากการผสมผสานองค์ความรู้เกี่ยวกับยาฝรั่งของนายโอ้วบุ่นป่าที่เรียนโรงเรียนของชาวอังกฤษในพม่า กับองค์ความรู้ด้านสมุนไพรจีนตำหรับราชสำนักที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบิดา
4
จึงเกิดเป็นยาน้ำมันนวดเนื้อขี้ผึ้ง สรรพคุณร้อยแปด แก้ปวด เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำ ดำเขียว แมลงสัตว์กัดต่อย บรรเทาอาการหน้ามืดวิงเวียนศรีษะ เมารถ เมาเรือ ยามต้องขึ้นเหนือ ล่องใต้ ได้ชะงัดนักแล
ด้วยสรรพคุณอันหลากหลาย ทำให้ยาขนานนี้ขายดิบ ขายดีเป็นที่รู้จักไปทั่วเมืองพม่า
ภายหลังเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง ทั้งคู่จึงย้ายกิจการไปที่ประเทศสิงค์โปร์ เพื่อผลิตและส่งไปขายทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย
1
เมื่อน้ำมันนวดขี้ผึ้งตราเสือถูกนำมาจำหน่ายในประเทศไทย เพื่อให้เป็นที่ทราบว่าเป็นยาสูตรดังจากพม่า จึงถูกตั้งชื่อว่า"ยาหม่องตราเสือ"
..
ส่วนข้อสันนิษฐานถึงคำเรียกยาชนิดนี้ว่า ยาหม่อง นั้นความจริงมีอยู่หลายข้อ
บ้างก็ว่า เริ่มดังมาจากพม่า ก็เลยตั้งชื่อว่า ยาหม่อง ตามคำเรียกขานคนพม่า
บ้างก็ว่า เพราะตอนมาขายใหม่ ๆ คนไม่ค่อยรู้จัก ต้องใช้วิธีออกไปแสดงมายากลโชว์ แล้วใช้วิธีตีฆ้องส่งเสียงเรียกเพื่อให้คนมาซื้อยา
เสียงตีฆ้องมันจะดัง"หม่อง ๆ" คนก็เลยเรียกยาชนิดนี้ว่า"ยาหม่อง"
และข้อสันนิษฐานสุดท้าย ก็คือ
ที่เรียกว่ายาหม่อง เพราะในยาหม่องมีส่วนผสมที่เรียกว่าหม่องตะหยก ซึ่งมีคุณสมบัติทาแล้วทำให้ร้อนผสมอยู่
2
..
ไม่ว่าคำว่า"หม่อง"หรือ"ยาหม่อง"จะมาจากไหน อย่างไร แต่สองคำนี้ก็เป็นสิ่งที่คนไทยเราคุ้นเคยกันดี
สุดท้ายนี้ ขอส่งกำลังใจให้เพื่อนบ้านของเราอยู่ดี มีสุข แก้ปัญหาทุกอย่างผ่านไปได้ด้วยความเรียบร้อยเหมือนเอายาหม่องมาทา...ด้วยเถิด เพี้ยง🙏
2
..
ติดตามอ่านบทความได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา