9 ก.พ. 2021 เวลา 02:00 • ธุรกิจ
ผู้นำกับผู้ตามใครควรอดทนมากกว่ากัน?
ถ้าตั้งคำถามกับผู้นำองค์กรว่า
ระหว่างผู้นำกับลูกน้องใครควรมีความอดทนมากกว่ากัน
1
ถ้าผู้นำคนนั้นตอบว่าลูกน้อง ก็ต้องถามต่อว่า
แล้วเราจะหาคนทำงานรุ่นใหม่ที่มีความอดทนสูง
แบบที่เราต้องการนั้นง่ายหรือยาก
1
แล้วถ้าอยากให้ลูกน้องทุกคนมีความอดทน เราต้องเสียเวลามากน้อยขนาดไหนในการพัฒนาทุกคนให้มีความอดทน
แต่ถ้าเราเปลี่ยนมุมมองใหม่
เช่น
เราควรจะมาเพิ่มความอดทน
ต่อความไม่อดทนของคนทำงานรุ่นใหม่ จะแก้ปัญหาได้ง่ายและยั่งยืนกว่าไหม
.
1
อยากชวนผู้นำย้อนกลับมาทำความเข้าใจกับความหมายของคำว่า อดทน และคำว่า แรงบันดาลใจ
ว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไง เราจะได้เข้าใจว่า
ทำไมเด็กรุ่นใหม่เลือกใช้คำว่าแรงบันดาลใจมากกว่าคำว่าอดทน
.
คำว่าอดทนเด็กรุ่นใหม่จะหมายถึงคือการทนทำในสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบ แต่ในเชิงบวกเขาจะใช้คำว่าแรงบันดาลใจ หมายถึงสิ่งที่ทำให้เขาอยากทำสิ่งที่ชอบ สิ่งที่รักได้นานโดยไม่รู้จักเบื่อ
และไม่ย่อท้อต่อปัญหาที่เกิดขึ้น
จึงอยากจะแนะนำคนที่เป็นผู้นำลองปรับเปลี่ยน mindset ในการบริหารคนทำงานรุ่นใหม่ ดังนี้
.
ข้อที่1 : หลีกเลี่ยงการใช้คำว่าอดทนกับคนรุ่นใหม่
เพราะในหัวของเขาคำว่าอดทนคือทำสิ่งที่ไม่ชอบ แต่ให้ใช้คำว่าแรงบันดาลใจแทน
.
ข้อที่2 ผู้นำควรจะกลับมาทบทวนตัวเอง
ว่าเราอดทนกับคนรุ่นใหม่เพื่อให้ตัวเองบริหารคนง่ายขึ้น หรืออยากให้ลูกน้องเราได้ดี ที่เราไปบอกว่าเขาต้องอดทนที่จริงเราต้องการอะไรต้องการ ต้องการให้เราทำงานสบาย ถ้าลูกน้องอดทน หรือว่าเราต้องการให้เขาอดทนเพื่อให้เขาได้ดี เราควรเพิ่มความอดทนของเราที่มีต่อเด็กรุ่นใหม่ให้มากขึ้นโดยการใส่ความรักความเข้าใจ
.
ข้อที่3 ลองหาแรงบันดาลใจของเด็กรุ่นใหม่ให้เจอ
ถ้าเรื่องนั้นเกี่ยวข้องกับงานก็ง่ายเลย เช่น เขาอยากไปทำงานกับบริษัทข้ามชาติแต่ตอนนี้บริษัทเราเป็นบริษัท local ก็เชื่อมโยงให้เขาเห็นว่าถ้าเขาอยากจะไปทำงานบริษัทข้ามชาติอยู่ที่นี่เขาควรพัฒนาเรื่องอะไรบ้าง แต่ถ้าแรงบันดาลใจเขาไม่เกี่ยวกับงานให้เอาแรงบันดาลใจนั้นมาใช้ในการทำงาน หาโอกาสนับสนุนให้เขาได้แสดงออกถึงสิ่งที่เขาถนัด
ข้อที่4 ผู้นำควรจะบริหารความสมดุลระหว่างความอดทนกับแรงบันดาลใจของเด็กรุ่นใหม่
ควรรู้ว่าในแต่ละช่วงเวลาลูกน้องแต่ละคนใครมีความอดทนอยู่ในระยะอดทน ระยะทนทำ หรือระยะใกล้หมดความอดทน แล้วระหว่างความอดทนกับแรงบันดาลใจตอนนี้ลูกน้องแต่ละคนมีอะไรมากกว่ากัน เพราะเมื่อไหร่ที่ความอดทนมีเยอะแต่ไม่มีแรงบันดาลใจโอกาสที่ลาออกก็มีมาก แต่มีแรงบันดาลใจมากกว่าความอดทนแสดงว่าความอดทนก็ไม่ค่อยมีผลเท่าไหร่
.
ดังนั้นผู้นำยุคใหม่ควรจะปรับเปลี่ยน mindset ของตัวเอง
อย่าเสียเวลาไปกล่าวหาว่าเด็กรุ่นใหม่ไม่อดทนแต่ควรกลับมาพัฒนาความอดทนแแรงบันดาลใจของตัวเอง
ที่อยากจะให้คนทำงานรุ่นใหม่ประสบความสำเร็จตามแบบฉบับของเขา
ดีกว่ามานั่งตำหนินินทาลูกน้อง
ว่าไม่มีความอดทน เราควรจะปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย
ผู้นำที่สุดยอดไม่ใช่ผู้นำที่เก่งตลอดกาลแต่เป็นผู้นำที่เก่งตามสถานการณ์ สามารถปรับตัวได้
ยุคนี้เป็นยุคของเด็กรุ่นใหม่
ดังนั้นถ้าลูกน้องเราเป็นคนรุ่นใหม่
แล้วเราฝ่าฝืนกระแส จะให้เด็กรุ่นใหม่ย้อนกลับไปมีความอดทนเหมือนคนรุ่นเก่าคงไม่ได้
.
✍ณรงค์วิทย์ แสนทอง
.
#NSValues
#BeyondBusinessConsulting
"เราคือทีมที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญด้านการบริหารผลงานและระบบ HR เชิงกลยุทธ์"
.
#ปรึกษาเพื่อธุรกิจคุณ
mobile: 086-983-4943
โฆษณา